วิธีการเปิดบัญชีและทำรายการ

วิธีการเปิดบัญชี
หากท่านได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ และตัดสินใจที่จะลงทุนแล้ว ท่านสามารถเปิดบัญชีกองทุนและชำระเงินลงทุนกับเราได้โดยตรง หรือ ที่ตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืน ที่ท่านสะดวกที่สุด โดยการกรอกรายละเอียดลงใน คำขอเปิดบัญชีกองทุน, บัตรตัวอย่างลายมือชื่อ และ แบบฟอร์มประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Profile) พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้

สำหรับบุคคลธรรมดา

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชี

สำหรับนิติบุคคล

  • สำเนาหนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันออกหนังสือรับรอง
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • ใบสำคัญการแสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทางของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 25% ขึ้นไป และกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (ควรเป็นกรรมการผู้จัดการ 1 ท่าน)
  • บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (ถ้ามี)
  • รายงานการประชุมคณะกรรมการอนุมัติให้บริษัทเปิดบัญชีกองทุนกับ บลจ.กรุงศรี
  • ตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และเงื่อนไขการลงนาม
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคลหน้าแรกที่มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชี
เอกสารสำเนาทั้งหมด จะต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยกรรมการผู้มีอำนาจในการลงนาม

ข้อแนะนำสำหรับผู้ลงทุน

  • ชื่อบัญชีกองทุนควรเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อบัญชีเงินฝาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ธนาคารปฏิเสธที่จะรับเงินปันผล และ/หรือ ค่าขายคืนหน่วยลงทุนเข้าในบัญชีเงินฝากนั้น
  • การเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีกองทุน จะทำได้ต่อเมื่อท่านเปลี่ยนชื่อ-สกุลตามกฎหมายเท่านั้น
  • สำหรับบัญชีบุคคลธรรมดา
  1. ท่านควรแจ้งใหบริษัทฯทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินปันผลนั้น สำหรับท่านที่ไม่ประสงค์จะหักภาษีจากเงินปันผล ณ ที่จ่าย ท่านมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินปันผลนั้นรวมเป็นรายได้ของท่านเพื่อใช้คำนวณฐานภาษีเงินได้ประจำปีต่อไป
  2. เพื่อความสะดวกในการทำรายการและตรวจสอบข้อมูลบัญชีกองทุนตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เว้นวันหยุด ท่านสามารถใช้บริการ @ccess Mobile Application และ @ccess Online Service ได้ ศึกษาข้อมูลและขั้นตอนง่ายๆ ในการสมัครใช้บริการ @ccess Mobile คลิกที่นี่  หรือ @ccess Online คลิกที่นี่
 


ดู @ccess Mobile App เพิ่มเติม คลิก

ดู @ccess Online เพิ่มเติม คลิก

การทำรายการ
ท่านสามารถทำรายการซื้อ ขายคืน สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนได้ 3 ช่องทางคือ

การซื้อหน่วยลงทุน  

  • การซื้อหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนมีจำนวนเงินขั้นต่ำต่างกัน ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถดูรายละเอียดจำนวนขั้นต่ำได้จากหนังสือชี้ชวน ฯ
  • หากท่านชำระเงินด้วยเช็ค กรุณาสั่งจ่ายโดยขีดคร่อมเฉพาะสั่งจ่าย “บัญชีจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเปิด .......” หรือ “บัญชีจองซื้อหน่วยลงทุน บลจ.กรุงศรี” และนำฝากภายในเวลาปิดรับเช็ค Clearing ของแต่ละธนาคาร
  • หากท่านต้องการชำระเงินด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ ที่หมายเลข 02-657-5757 เพื่อติดต่อขอรับหมายเลขบัญชีสำหรับธนาคารที่ท่านต้องการ
  • ท่านจะได้รับหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุน และรายงานการถือหน่วยลงทุนรายเดือน (หรือรายไตรมาสสำหรับท่านที่ลงทุนเฉพาะกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว) เป็นหลักฐานสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมของเรา
  • ท่านสามารถเลือกออก Passbook แทนการรับหนังสือรับรองสิทธิและรายงานการถือหน่วยลงทุนรายเดือน

การขายคืนหน่วยลงทุน  

  • การขายคืนหน่วยลงทุนแต่ละกองทุนมีจำนวนเงินขั้นต่ำต่างกัน ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถดูรายละเอียดจำนวนขั้นต่ำได้จากหนังสือชี้ชวน ฯ
  • หากท่านทำรายการขายคืนหน่วยลงทุนแล้ว จำนวนยอดหน่วยลงทุนในบัญชีกองทุนคงเหลือของท่านต่ำกว่าที่บริษัทฯกำหนด บริษัทฯจะทำการสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่เหลือในกองทุนนั้นทั้งหมด โดยบริษัทได้กำหนดหน่วยลงทุนคงเหลือขั้นต่ำของแต่ละกองทุนแตกต่างกัน ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลได้จากหนังสือชี้ชวนฯ
  • กองทุนแต่ละประเภทมีกำหนดที่จะชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนในระยะเวลาที่ต่างกัน กรุณาศึกษาข้อกำหนดของแต่ละกองทุนเพื่อรับทราบวันที่ท่านจะได้รับเงินค่าขายคืนอีกครั้ง

การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน  

  • การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน คือ การขายคืนหน่วยลงทุนจากกองทุนหนึ่งเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของอีกกองทุนหนึ่ง โดยท่านไม่จำเป็นต้องรอรับค่าขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนแรก เพื่อนำไปชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนอีกกองทุนหนึ่ง  
  • การทำรายการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนมีจำนวนขั้นต่ำต่างกัน ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถดูรายละเอียดข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนของกองทุนนั้นๆ เพื่อทราบจำนวนขั้นต่ำก่อนการสับเปลี่ยนแต่ละครั้ง
  • หากท่านทำรายการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนแล้วทำให้ยอดหน่วยลงทุนที่เหลือในบัญชีกองทุนของท่านต่ำกว่าที่บริษัทฯกำหนด บริษัทฯจะทำการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนที่เหลือทั้งหมดจากกองทุนต้นทางไปยังกองทุนปลายทาง โดยบริษัทได้กำหนดหน่วยลงทุนคงเหลือขั้นต่ำของแต่ละกองทุนแตกต่างกัน ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดจำนวนขั้นต่ำได้จากหนังสือชี้ชวนฯ
การสมัครเพื่อใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์
1. สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา 
สามารถขอใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ (@ccess  Online) เพื่อทำรายการซื้อ ขาย หรือ สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนได้ ด้วยการสมัครผ่าน   www.krungsriassetonline.com    โดยศึกษาขั้นตอนการสมัครได้ที่นี่  คลิกเพื่อดูรายละเอียด 
ส่วนการหักบัญชีเงินฝากธนาคาร/บัตรเครดิตเพื่อชำระค่าซื้อกองทุน สามารถกรอกข้อมูลลงใน หนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากธนาคาร/บัตรเครดิต และส่งเอกสารกลับมายังบริษัท เราจะดำเนินการให้ท่านภายใน 2 สัปดาห์
 
รายชื่อธนาคาร/บัตรเครดิต ที่สามารถทำการหักบัญชีอัตโนมัติได้
หมายเหตุ:  หากท่านเปิดบัญชีกองทุนผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะสมัครใช้บริการได้เฉพาะการหักบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงศรีอยุธยาและบัตรเครดิตในเครือธนาคารกรุงศรี เท่านั้น
1. บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
2. บมจ. ธนาคารกรุงเทพ
3. บมจ. ธนาคารกสิกรไทย
4. บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์
5. บมจ. ธนาคารทหารไทย
6. บมจ. ธนาคารกรุงไทย
7. บมจ. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
8. บมจ.  ธนาคารยูโอบี
9. บมจ. ธนาคารเกียรตินาคิน
บัตรเครดิตของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่ออกโดยบริษัทดังนี้
  • บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด เช่น บัตรเครดิตกรุงศรีจีอี บัตรเครดิตโฮมโปร
  • บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด เช่น บัตรเครดิตเซ็นทรัล บัตรเครดิตโรบินสัน
  • บริษัท เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด เช่น บัตรเครดิตเทสโก้
  • บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด เช่น บัตรกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์
2. สำหรับลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลและบัญชีร่วม
ยังต้องกรอกข้อมูลลงใน ใบสมัครเพื่อขอใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ และส่งเอกสารกลับมายังบริษัท  
การสมัครใช้บริการหักบัญชีเงินฝาก ผ่านตู้เอทีเอ็ม และ อินเตอร์เน็ต
นอกเหนือจากการกรอกแบบฟอร์มหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากและส่งเอกสารกลับมาที่เรา พร้อมใบสมัครเพื่อใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับท่านที่ใช้บัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารกรุงเทพ ท่านสามารถขอใช้บริการหักบัญชีเงินฝากผ่านตู้เอทีเอ็ม และระบบอินเตอร์เน็ต ตามรายละเอียดขั้นตอนการสมัค รดังนี้
ธนาคาร ATM Online  Banking @ccess Online/ Mobile
กรุงศรีอยุธยา คลิกที่นี่ คลิกที่นี่ คลิกที่นี่
กรุงไทย คลิกที่นี่ - -
ไทยพาณิชย์ คลิกที่นี่ - -
กสิกรไทย คลิกที่นี่ คลิกที่นี่ คลิกที่นี่
ทหารไทยธนชาต คลิกที่นี่ - -
กรุงเทพ คลิกที่นี่  คลิกที่นี่  -
หมายเหตุ:   หากท่านเปิดบัญชีกองทุนผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะสมัครใช้บริการได้เฉพาะการหักบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงศรีอยุธยาและบัตรเครดิตในเครือธนาคารกรุงศรี เท่านั้น (ทุกช่องทาง)

ทางเรา จะสามารถดำเนินการให้กับท่านได้ทันทีที่ได้รับเอกสารใบสมัครเพื่อขอใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมใบบันทึกรายการขอใช้บริการผ่านระบบ DDR จากท่าน ซึ่งการทำการขอใช้บริการหักบัญชีผ่านระบบ DDR นี้ จะช่วยทำให้ท่านสามารถทำรายการได้ภายใน 3 วันทำการเท่านั้น (จากเดิม 2 สัปดาห์ หากท่านยื่นคำขอฯ โดยวิธียื่นเอกสารมาที่บริษัทฯ)
ในกรณีที่ท่านใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ อยู่แล้ว ทางเราจะเพิ่มบัญชีเงินฝากให้ท่านโดยอัตโนมัติ
ขั้นตอนการโอนย้ายกองทุน RMF/LTF จากบลจ.อื่น มายัง บลจ.กรุงศรี
ขั้นตอนที่1
กรณีลูกค้าใหม่: ติดต่อบลจ.กรุงศรีหรือตัวแทนสนับสนุนการขายเพื่อทำการเปิดบัญชีกองทุนก่อน
กรณีลูกค้าปัจจุบัน: เริ่มดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 2
กรอกแบบฟอร์ม "คำสั่งซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ/กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (กรณีเปลี่ยนบลจ.)"
ของบลจ.กรุงศรี
ขั้นตอนที่ 3
ติดต่อทำธุกรรมกับบลจ.ที่ต้องการจะโอนกองทุนออก (บลจ.ต้นทาง) โดยมีเอกสารประกอบดังต่อไปนี้
1) สำเนาแบบฟอร์ม "คำสั่งซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ/กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (กรณีเปลี่ยนบลจ.)"
(ตามขั้นตอนที่ 2 เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงสำหรับบลจ.ต้นทาง)
2) แบบฟอร์ม "คำสั่งโอนย้าย (สับเปลี่ยนออก) RMF/LTF" ของบลจ.ต้นทาง
ขั้นตอนที่ 4
แฟกซ์เอกสารทั้งหมด (เอกสารของบลจ.กรุงศรี และ บลจ.ต้นทาง) มาที่ฝ่ายการตลาด บลจ.กรุงศรี ที่เบอร์แฟกซ์ 02-657-5775-7 พร้อมโทรยืนยันการส่งเอกสารกับเจ้าหน้าที่ โทร 02-657-5757 กด 2
สำหรับแบบฟอร์มของบลจ.กรุงศรีในขั้นตอนที่ 2 กรุณาส่งเอกสารทางไปรษณีย์มาที่
บลจ.กรุงศรี ชั้น 1 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวง ลุมพินี เขต ปทุมวัน กทม. 10330
ขั้นตอนที่ 5
ลูกค้าได้ีัรับการจัดสรรหน่วยลงทุน ภายใน 5 วันทำการ หลังจากรายการธุรกรรมของ บลจ.ต้นทาง เสร็จสมบูรณ์