การลงทุนใน SSF | RMF |  LTF | Thai ESG

RMF ต่างมีให้เลือกหลากหลายนโยบาย มีหลักเกณฑ์เลือกลงทุนอย่างไร

ผู้ลงทุนควรจัดสัดส่วนการลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนต่างกันเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยอาจให้น้ำหนักการลงทุนที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้ เช่น หากอายุไม่มากมีเวลาลงทุนนานอาจเลือกกองทุนที่ลงทุนในหุ้นมากกว่า หรืออาจจัดสรรเงินบางส่วนเพื่อลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศ หรือทองคำ หรือกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีการเติบโตสูง ซึ่งกองทุนเหล่านี้อาจมีความผันผวนมากแต่ก็มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง

ในทางกลับกัน หากคุณอายุมากและจำเป็นต้องใช้เงินในระยะเวลาอันใกล้ คุณอาจเลือกลงทุนใน RMF แบบที่ความเสี่ยงน้อย และมีโอกาสให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น กองทุนตราสารหนี้ หรือเลือกกองทุนผสมที่นำเงินลงทุนบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้เพื่อลดความเสี่ยง


ข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์การลงทุนใน RMF และ SSF
  • สำหรับ RMF
  1. ลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ได้แก่ กองทุน SSF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ,กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือ กองทุนการออมแห่งชาติ
  2. ลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ห้ามหยุดลงทุนติดต่อกันเกิน 1 ปี โดยต้องถือหน่วยลงทุนจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • สำหรับ SSF หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund) มี 2 ประเภทดังนี้
  1. SSFX หรือ กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ: ลงทุน 1 เม.ย. – 30 มิ.ย.63 เท่านั้น  
    - ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท  โดยไม่ต้องนับรวมวงเงินกับ SSF ปกติ และเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ*
    - ต้องถือหน่วยลงทุน 10 ปี นับจากวันที่ลงทุน (นับแบบวันชนวัน) 
  2. SSF กองทุนรวมเพื่อการออม 
    - ลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี โดยเมื่อรวมกับเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ* ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
    - ต้องถือหน่วยลงทุน 10 ปี นับจากวันที่ลงทุน   (นับแบบวันชนวัน)
    - ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี
 
*เงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ ได้แก่ SSF, RMF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
สามารถซื้อ RMF เกิน 30% ของรายได้ หรือ 500,000 บาท ได้หรือไม่
กรณีซื้อ RMF เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีผลตอนขายเพราะจะต้องนำกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ซื้อเกินไปนั้นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ของกรมสรรพากร
เกณฑ์การลงทุนใน Thai ESG
เกณฑ์การลงทุนในกองทุน Thai ESG เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี จะครอบคลุมต่างกันไป ขึ้นกับปีที่ลงทุน ดังนี้
 
เงื่อนไข ตามเกณฑ์ใหม่:
มีผลปี 2567 - 2569
ตามเกณฑ์เดิม: มีผลปี 2566
ยอดเงินลงทุน ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี  (ไม่ต้องนับรวมกับ SSF RMF และเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ) ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี  (ไม่ต้องนับรวมกับ SSF RMF และเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ)
การถือครอง
หน่วยลงทุน
5 ปี นับจากวันที่ลงทุน (วันชนวัน) ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี 8 ปี นับจากวันที่ลงทุน (วันชนวัน) ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี

คู่มือการลงทุน Thai ESG คลิกที่นี่
การผิดเงื่อนไขการลงทุนใน RMF / SSF / LTF
  • RMF
กรณีขายคืน RMF ผิดเงื่อนไข โดยมีการลงทุนมาต่อเนื่องมากกว่า 5 ปี ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้มาในช่วงระยะเวลา 5 ปีปฏิทิน (นับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข)
หากลงทุนน้อยกว่า 5 ปี ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับมาทั้งหมด และต้องนำกำไร (Capital Gain) ที่ได้จากขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมกับเงินได้ เพื่อชำระภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
 
  • SSF และ SSFX
กรณีขายคืน SSF ก่อนครบกำหนด ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับของเงินลงทุนที่ขายคืน และนำผลประโยชน์ (Capital Gain) ที่ได้จากการขายคืนไปรวมกับเงินได้เพื่อชำระภาษี ซึ่งการขายคืนจะดำเนินการโดยใช้หลักเกณฑ์ "เข้าก่อนออกก่อน" (FIFO)
 
  • LTF
LTF (สามารถลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 เท่านั้น)
กรณีขายคืนก่อน 7 ปีปฏิทิน ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับของเงินลงทุนที่ขายคืน พร้อมชำระเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และนำผลประโยชน์ (Capital Gain) ที่ได้จากการขายคืนไปรวมกับเงินได้เพื่อชำระภาษี ซึ่งการขายคืนจะดำเนินการโดยใช้หลักเกณฑ์ “เข้าก่อนออกก่อน” (FIFO)

การแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิขอยกเว้นภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
ตั้งแต่ปีภาษี 2565 เป็นต้นไป หากท่านต้องการใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร ท่านสามารถแจ้งความประสงค์เพื่อให้ บลจ.กรุงศรี เปิดเผยข้อมูลต่อกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนดได้
โดยท่านสามารถแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีจากการลงทุนใน SSF/ RMF/ Thai ESG บลจ.กรุงศรี ทางออนไลน์ได้ ผ่านทาง Website และระบบ @ccess Online
หรือ สแกน QR Code
Website
@ccess Online

ทั้งนี้ การไม่แจ้งความประสงค์จะทำให้ท่านไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุน SSF/ RMF ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร

สำหรับคำถามที่พบบ่อยเรื่องการแจ้งความประสงค์ คลิกที่นี่
หรือ สามารถติดต่อ สอบถามที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ  โทร. 02-657-5757
 

FAQ