โปรโมชัน/กองทุนแนะนำ


KFPCD-UI สู่โอกาสที่เหนือกว่า ของ Private Credit 
เสนอขายครั้งแรก 2 - 9 กรกฎาคม 2567

KFPCD-UI สู่โอกาสที่เหนือกว่า ของ Private Credit 
เปิดทางเลือกเพื่อผลตอบแทนที่ไม่ได้จำกัดอยู่ในตราสารหนี้รูปแบบเดิม 


สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UHNW) การลงทุนในตราสารหนี้รูปแบบเดิมอาจไม่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนที่ดีพอ ดังนั้น Private Credit ซึ่งเป็นสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้นอกตลาด ที่เป็นแหล่งเงินทุนให้กู้แก่บริษัทเอกชน และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มากกว่า อีกทั้งยังช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุนโดยรวมได้ดีกว่า จึงเป็นคำตอบ

KFPCD-UI ลงทุนในกองทุน BlackRock Private Credit Fund
  • กองทุนหลักมีประวัติการสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นในระยะยาว บนความผันผวนที่ต่ำกว่า จากฝีมือบริหารโดย BlackRock ผู้นำที่มีประสบการณ์ในตลาด Private Credit ยาวนานกว่า 23 ปี 
  • กองทุนมีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าตราสารหนี้ในตลาดจดทะเบียน และสร้างกระแสเงินสดรับที่สม่ำเสมอให้กับผู้ลงทุน
  •  เน้นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน และมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้คืนในลำดับต้น รวมถึงมีข้อกำหนดด้านการเงินที่ต้องดำรงอย่างเข้มงวด
  •  เน้นธุรกรรมที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างจำกัดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย

KFPCD-UI เสนอขายครั้งแรก 2 – 9 กรกฎาคม 2567
เริ่มต้นลงทุนครั้งแรกขั้นต่ำ 100,000 บาท และลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไปเพียง 500 บาท 

ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน | กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น

ทำไมตอนนี้ Private Credit  ยิ่งน่าสนใจ?
1. โอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป
Private Credit เป็นแหล่งเงินทุนให้กู้แก่บริษัทเอกชน โดยผู้ให้กู้คือนักลงทุนที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ผู้ให้กู้จะได้รับดอกเบี้ยซึ่งมักจะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารทั่วไป และมีการเรียกหลักประกันรวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสี่ยงได้

2. กระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนได้ดี โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ Public Market (ตลาดหุ้นและตราสารหนี้ทั่วไป) มีความผันผวนสูง
Private Credit มีโอกาสสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอจากดอกเบี้ยที่ได้รับ และมีความสัมพันธ์กับตลาดการลงทุนโดยรวมทั้งหุ้นและตราสารหนี้ต่ำ ผลตอบแทนจึงไม่ได้มีแนวโน้มที่จะผันผวนไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นหรือตราสารหนี้ ช่วยสร้างสมดุลให้กับพอร์ตการลงทุนมากขึ้น

3. กลยุทธ์ที่โดดเด่นคือ Direct lending หรือ การปล่อยกู้ทางตรง 
Direct Lending มักเป็นการปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดกลาง-เล็ก (มูลค่ากิจการประมาณ 100 - 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยมีสินทรัพย์ค้ำประกัน ใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว และมักจะมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อยู่ในกลุ่มลำดับต้นๆ เช่น ลำดับที่ 1 หรือ 2 รวมทั้ง มีข้อกำหนดด้านการเงินที่ต้องดำรง ข้อดีที่สำคัญคือ
  • โอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด Public credit เนื่องจากมีส่วนชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
  • อำนาจในการต่อรองและความยืดหยุ่น ช่วยสร้างเกราะปกป้องให้กับผู้ลงทุนได้ดีกว่า
  • โอกาสในการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตโดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง
  • ประวัติการสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นในระยะยาว บนความผันผวนที่ต่ำกว่า

ที่มา: Morningstar, Cliffwater Direct Lending Index, St. Louis Fed, Blackrock ณ 30 ก.ย. 66 | ผลการดำเนินงานที่แสดงเพื่อใช้ประกอบการอธิบายเท่านั้น และไม่ได้สะท้อนถึงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง | ช่วงเวลาที่ถูกเลือกในภาพซ้ายมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลการดำเนินงานหลังจากความผันผวนในช่วง Covid | 1 - Bank Loans อ้างอิงจาก the S&P/LSTA Leveraged Loan Total Return Index | 2 - High Yield อ้างอิงจาก the Bloomberg US Corporate High Yield Total Return Index | 3 - Direct Lending อ้างอิงจาก the Cliffwater Direct Lending Index | วันจัดตั้งของดัชนี Cliffwater Direct Lending Index คือ 30 ก.ย. 47

ทำไมต้องกองทุน KFPCD-UI?
1. มั่นใจได้ในคุณภาพของกองทุนหลักที่บริหารโดย BlackRock
  • หนึ่งในผู้เล่นชั้นนำในตลาด Private Credit มีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 23+ ปี เงินลงทุนมากกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญ จำนวนดีลกว่า 1,012 รายการ
  • กลยุทธ์ Direct Lending ของ Blackrock มีประวัติการสร้างผลตอบแทนที่แข็งแกร่ง
  • BlackRock มีทีมงานและเครือข่ายที่เข้มแข็งในการเข้าถึงและค้นหาดีลที่มีศักยภาพสูง และถือเป็นพันธมิตรที่ได้รับความนิยมมากในด้านแหล่งเงินทุนเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจ
ที่มา: Blackrock ณ 31 ธ.ค. 66 | จำนวนรายการที่ลงทุนและเงินลงทุน เป็นข้อมูลตั้งแต่ 21 มิ.ย. 43 – 31 ธ.ค. 66 โดยเป็นธุรกรรมทั้งหมดในหลายกองทุนและบัญชี ซึ่งบริหารโดย Tennenbaum Capital Partners, LLC (TCP) (ถูกเข้าซื้อโดย BlackRock ในปี 61) และทีมผู้จัดการกองทุนในกลุ่ม BlackRock’s U.S. Private Capital group.

2. จุดเด่นของกองทุน BlackRock Private Credit Fund
หมายเหตุ: 1 - ข้อมูล yield to maturity อ้างอิงจากการลงทุนของทีม BlackRock Capital Investment Advisors (“BCIA”) ในกองทุน BDEBT ณ 31 ธ.ค. 66 | 2 – แหล่งข้อมูล BlackRock ณ 31 มี.ค. 67 ทั้งนี้การลงทุนในตราสารไม่ด้อยสิทธิมักจะมีการค้ำประกันโดยสินทรัพย์ที่มีตัวตน, สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน และมูลค่ากิจการ ซึ่งประกอบด้วยสิทธิการเรียกร้องชำระหนี้ลำดับที่ 1 และ 2 ในกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระ | 3 - การลงทุนในตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จะทำให้อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย โดยตัวเลขสัดส่วนการลงทุนอ้างอิงจาก BlackRock ณ 31 มี.ค. 67 | ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลปัจจุบันของกองทุน ซึ่งไม่ได้เป็นการรับประกันถึงพอร์ตการลงทุนในอนาคต

3. ผลการดำเนินงานของกองทุนอ้างอิง 
กองทุน KFPCD-UI จะลงทุนในกองทุน BlackRock Private Credit Fund (กองทุนอ้างอิง) ผ่านกองทุน BlackRock Private Credit Fund iCapital Offshore Access Fund, L.P. (กองทุนหลัก)
ที่มา: BlackRock ณ 31 มี.ค. 67 | ข้อมูลที่แสดงเป็นผลตอบแทนสุทธิ ซึ่งคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหน่วยลงทุนต่อหน่วยในช่วงเวลาที่ระบุ บวกด้วยเงินปันผลต่อหุ้น หารด้วยราคาหน่วยลงทุนสุทธิต่อหุ้นในช่วงต้นงวด | ผลตอบแทนที่แสดงอ้างอิงจากงบการเงินยังไม่ได้ผ่านการรับรองโดยผู้สอบบัญชี โดยเป็นผลตอบแทนสุทธิจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนอ้างอิง ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการทั่วไป, ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำรายการ, ค่าธรรมเนียมการจัดการ, ค่าธรรมเนียมตามผลการดำเนินงาน และค่าธรรมเนียมเฉพาะของแต่ละชนิดหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงผลกระทบจากการไถ่ถอนหน่วยลงทุนที่มีการลงทุนน้อยกว่า 1 ปี | วันจัดตั้งกองทุน คือ 1 มิ.ย. 65 | ผลตอบแทนในช่วงเวลาที่น้อยกว่า 1 ปี เป็นผลตอบแทนตามช่วงเวลา | กองทุน KFPCD-UI จะลงทุนในกองทุน BlackRock Private Credit Fund (กองทุนอ้างอิง) ผ่านกองทุน BlackRock Private Credit Fund iCapital Offshore Access Fund, L.P. (กองทุนหลัก) | แม้ว่าผลตอบแทนของกองทุนหลักเกือบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนอ้างอิง แต่ผลตอบแทนของกองทุนหลักจะไม่เท่ากันกับผลตอบแทนของกองทุนอ้างอิง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการลงทุนของกองทุนหลัก (รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ) จะส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนหลักต่ำกว่ากองทุนอ้างอิง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการที่อาจทำให้เกิดความเบี่ยงเบนระหว่างผลตอบแทนของกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนอ้างอิง ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน

พอร์ตการลงทุนของ BlackRock Private Credit Fund (กองทุนอ้างอิง)
  • เน้นการลงทุนในบริษัทกลุ่ม Core Middle Market ซึ่งเป็นบริษัทขนาดกลาง ที่มีความน่าสนใจหลายด้าน คือ ผู้ปล่อยกู้มีอำนาจต่อรองที่ดีกว่า ทำให้สามารถกำหนดเงื่อนไขต่างๆเพื่อปกป้องผู้ลงทุนได้ดีกว่า ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเพื่อชดเชยความเสี่ยง (Spread Premium) ที่สูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่ และประวัติผลตอบแทนที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับความเสี่ยง ขณะที่สัดส่วนการก่อหนี้ต่ำกว่าบริษัทขนาดใหญ่
 ที่มา: BlackRock ณ 31 มี.ค. 67 | ข้อมูลแสดงในสกุลเงินเหรียญสหรัฐ
 
  • กระจายการลงทุนในหลากหลายบริษัทและอุตสาหกรรม โดยเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมที่ (1) ไม่ใช่วัฏจักร (Non-cyclical) คือบริษัทที่มีแนวโน้มจะดำเนินธุรกิจได้ดีโดยได้รับผลกระทบในระดับต่ำจากการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรเศรษฐกิจ (2) มีรายได้สม่ำเสมอ (Recurring Earnings) โดยเน้นการลงทุนในดีลที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน  และมีสิทธิในการเรียกร้องเป็นลำดับแรก
ที่มา: BlackRock ณ 31 มี.ค. 67 
1 Floating rate - การลงทุนในตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว จะทำให้อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย                               
2 Senior secured - การลงทุนในตราสารไม่ด้อยสิทธิมักจะมีการค้ำประกันโดยสินทรัพย์ที่มีตัวตน, สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน และมูลค่ากิจการ ซึ่งประกอบด้วยสิทธิการเรียกร้องชำระหนี้ลำดับที่ 1 และ 2 ในกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระ
3 Distribution rate - คำนวณจากอัตราการจ่ายเงินปันผลล่าสุดต่อหุ้นเฉลี่ยต่อปี หารด้วยมูลค่าสินทรัพย์รวม โดยไม่ได้เป็นการการันตีถึงผลการดำเนินงานในอนาคต และอาจมีแหล่งเงินทุนจากแหล่งอื่นนอกเหนือไปจากกระแสเงินสดรับจากการลงทุน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนจนถึงวันที่ปัจจุบัน เงินปันผลทั้งหมดของกองทุนมาจากกระแสเงินสดรับจากการลงทุน
4 Total assets -    มูลค่าสินทรัพย์จากราคายุติธรรมตามมาตรฐานของ GAAP โดยอ้างอิงจากแนวทางการประเมินมูลค่าที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
ข้อมูลหลักทรัพย์ 10 อันดับแรกอ้างอิงจากหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ายุติธรรมสูงสุดในกองทุน BDEBT | ข้อมูลที่แสดงข้างต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการอธิบายเท่านั้น โดยไม่ได้หมายความถึงคำแนะนำในการลงทุนและไม่ได้เป็นการรับประกันว่าการลงทุนจะสามารถสร้างผลกำไรได้ | ข้อมูลที่แสดงไม่ได้เป็นตัวแทนถึงหลักทรัพย์หรือธุรกรรมทั้งหมดของกองทุน

ที่มา: BlackRock ณ 31 มี.ค. 67

ข้อมูลกองทุน KFPCD-UI


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนกองทุนได้ที่
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 กด 02

ปฎิทินการทำรายการลงทุนรอบปี 2567
 

บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงกำหนดการดังกล่าวในภายหลัง โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ เช่น ในกรณีที่กองทุนหลักมีการเปลี่ยนแปลงวันและ/หรือเวลาทำการซื้อขายหน่วยลงทุน เป็นต้น โดยบริษัทจัดการจะแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้าไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ

ใครคือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (UHNW)?
 
  1. ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth: UHNW) คือ ผู้ลงทุนที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ด้านการลงทุนและมีฐานะการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการลงทุนที่สูงและผันผวนได้มากขึ้น โดยสามารถลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงมากได้ อาทิ กองทุน UI (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่มีเรตติ้ง เป็นต้น
     
    เกณฑ์ฐานะทางการเงิน 
    (ผ่านเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง)
    เกณฑ์ความรู้หรือประสบการณ์ *
    (มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง)
    บุคคลธรรมดา
    • รายได้ > 6 ล้านบาทต่อปี
    • เงินลงทุน*ไม่รวมเงินฝาก > 15 ล้านบาท หรือ เงินลงทุนรวมเงินฝาก > 30 ล้านบาท 
    • สินทรัพย์สุทธิ** > 60 ล้านบาท
    นิติบุคคล 
    • ส่วนของผู้ถือหุ้น > 150 ล้านบาทต่อปี
    • เงินลงทุน*ไม่รวมเงินฝาก > 30 ล้านบาท หรือ เงินลงทุนรวมเงินฝาก > 60 ล้านบาท 
    *เงินลงทุนหมายถึงเงินลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
    **ไม่นับรวมมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยประจำของบุคคลนั้น
    • มีประสบการณ์การลงทุนย้อนหลังในสินทรัพย์เสี่ยงเป็นประจำและต่อเนื่อง
    • มีประสบการณ์ทำงานด้านการบริหารการเงินและการลงทุน 
    • มีความรู้ความเข้าใจในหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเพียงพอ
    • เป็นผู้แนะนำการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
    • ได้รับวุฒิบัตรหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ดังนี้ CFA, CISA, CAIA หรือ CFP
    * หลักเกณฑ์ความรู้หรือประสบการณ์จะเป็นไปตามดุลพินิจของผู้ให้บริการแต่ละราย

    ที่มาข้อมูล:
    https://www.smarttoinvest.com/Pages/Investment%20Knowledge/infog_investors_definition.aspx

คำเตือนสำคัญของกองทุน
 
  1. กองทุนเปิดกรุงศรี Private Credit-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (กองทุน KFPCD-UI) เน้นลงทุนในกองทุนหลักชื่อ BlackRock Private Credit Fund iCapital Offshore Access Fund, L.P. (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายลงทุนใน BlackRock Private Credit Fund (Institutional Shares) (กองทุนอ้างอิง) บริหารโดย BlackRock Capital Investment Advisors, LLC (Investment Advisor) และ BlackRock Advisors, LLC (Sub-Advisor) มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ปรับค่าด้วยความเสี่ยง (Risk-Adjusted Returns) ในระดับสูง โดยประมาณร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุนจะลงทุนโดยการปล่อยกู้โดยตรงให้กับผู้กู้ (Originated Loans) การปล่อยกู้ร่วมกับผู้ให้กู้รายอื่นตั้งแต่สองรายขึ้นไป (Syndicated Loans) รวมถึงลงทุนในเงินกู้ไม่ด้อยสิทธิทั้งที่มีหรือไม่มีหลักประกัน (Senior Secured or Unsecured Loans) เงินกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Loans) เงินกู้กึ่งทุน (Mezzanine Loans) หรือเงินกู้ในรูปแบบอื่นใดในบริษัทขนาดกลางในประเทศสหรัฐฯ ที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยเน้นการปล่อยกู้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เพื่อความยืดหยุ่นในแต่ละสภาวะตลาดและอาจลงทุนในตราสารทุนและหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน ซึ่งรวมถึงหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ หลักทรัพย์ที่แปรสภาพเป็นหุ้นสามัญ และใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น นโยบายการลงทุนดังกล่าวนี้ มีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป อีกทั้งมีสภาพคล่องต่ำ ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินต้นหรือไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง กองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีความเข้าใจในหลักทรัพย์ประเภทนี้เป็นอย่างดี และสามารถรับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น
  2. กองทุนหลักจัดตั้งในรูปแบบหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดที่ได้รับยกเว้น (Exempted Limited Partnership) ของหมู่เกาะเคย์แมน และถูกจัดเป็นกองทุนประเภทกองทุนส่วนบุคคล ภายใต้เกณฑ์กองทุนส่วนบุคคลของหมู่เกาะเคย์แมน ซึ่งไม่มีการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย กองทุนนี้จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนรายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้สูงมากเท่านั้น
  3. กองทุนอ้างอิงมีสถานะเป็นกองทรัสต์ (Delaware Statutory Trust) อยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐ Delaware ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับการกำกับดูแลโดยมีลักษณะเป็น Business Development Company (“BDC”) ภายใต้กฎหมาย Investment Company Act of 1940 เหมาะกับนักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในการลงทุนสูงเท่านั้น
  4. กองทุนหลักจัดตั้งเมื่อ 2 สิงหาคม 2565 กองทุนอ้างอิงจัดตั้งเมื่อ 23 ธันวาคม 2564 ทั้งสองกองทุนมีประวัติการดำเนินงานไม่นานนัก จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานในอดีตเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างจำกัด
  5. แม้ว่าผลตอบแทนของกองทุนหลักเกือบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนอ้างอิง แต่ผลตอบแทนของกองทุนหลักจะไม่เท่ากันกับผลตอบแทนของกองทุนอ้างอิง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการลงทุนของกองทุนหลัก (รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ) จะส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุนหลักต่ำกว่ากองทุนอ้างอิง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการที่อาจทำให้เกิดความเบี่ยงเบนระหว่างผลตอบแทนของกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง
  6. บุคลากรของกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิงอาจไม่ได้ใช้เวลาทั้งหมดในการบริหารจัดการกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง โดยอาจถูกจัดสรรเวลาบางส่วนไปบริหารจัดการในธุรกิจส่วนอื่นตามที่ได้รับมอบหมายที่อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง ซึ่งส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในด้านเวลาในการบริหารจัดการ การให้บริการต่างๆ ของกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิงที่มีต่อผู้ลงทุนในกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง
  7. หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (General Partner) ผู้จัดการการลงทุน ที่ปรึกษาการลงทุนและบริษัทในเครือ อาจมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ผู้จัดการการลงทุน ที่ปรึกษาการลงทุน Commodity pool operator หรือหน้าที่ความรับผิดชอบอื่นใดให้แก่ลูกค้ารายอื่น กองทุนอื่น ที่อาจมีนโยบายการลงทุนที่เหมือนหรือแตกต่างจากกองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิง รวมถึงกองทุนอื่นที่บริหารหรือได้รับคำปรึกษาจากหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ (General Partner) ผู้จัดการการลงทุน ที่ปรึกษาการลงทุนและบริษัทในเครือ อาจลงทุนในกองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิงหรือกองทุนอื่นใดที่บริหารหรือให้คำปรึกษาโดยผู้ให้คำปรึกษาของกองทุนอ้างอิง โดยนโยบายหรือเงื่อนไขการลงทุนของกองทุนดังกล่าวอาจเหมือนหรือแตกต่างกับกองทุนหลัก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในการลงทุนของกองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิงจากกองทุนอื่นหรือลูกค้ารายอื่นของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ผู้จัดการการลงทุน ที่ปรึกษาการลงทุนและบริษัทในเครือ
  8. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากกองทุนอ้างอิงและผู้จัดการกองทุนอ้างอิง
    • BlackRock ที่ปรึกษาการลงทุนของกองทุนอ้างอิง และบริษัทต่างๆในเครือ (เรียกรวมกันว่า BlackRock Entities) เป็นผู้ให้บริการบริหารการลงทุน บริหารความเสี่ยง และให้คำแนะนำการลงทุนให้แก่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันทั่วโลก จึงมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลากหลายประเภททรัพย์สิน แม้ว่ากิจกรรมต่างๆนี้ภายใต้ BlackRock Entities จะก่อให้เกิดโอกาสการลงทุนและบริการที่ดีให้แก่ลูกค้า แต่ก็อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้าและกองทุนอ้างอิงหรือกองทุนหลักได้เช่นกัน
    • BlackRock Entities บริหารจัดการลูกค้าหลากหลายประเภททั่วโลก ซึ่งพอร์ตการลงทุนของลูกค้าเหล่านี้อาจมีนโยบายการลงทุนที่เหมือนหรือแตกต่างจากกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง การจัดสรรการลงทุนให้ลูกค้าแต่ละรายอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อโอกาสในการลงทุนมีจำกัด
    • การคำนวณมูลค่ายุติธรรมของกองทุนหลักมาจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรายเดือนของกองทุนอ้างอิงเป็นหลัก ซึ่งหลักทรัพย์ที่กองทุนอ้างอิงลงทุนจะถูกประเมินมูลค่าโดยที่ปรึกษาการลงทุนของกองทุนอ้างอิง การกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้วยการประเมินราคาที่สูงเกินจริง เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการรับค่าธรรมเนียมการจัดการและส่วนแบ่งผลกำไร (Performance-based compensation) ที่สูงขึ้น
    • เพื่อให้การจัดสรรการลงทุนและการจัดสรรค่าใช้จ่ายเป็นไปอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมในแต่ละพอร์ตการลงทุนของลูกค้าแต่ละราย BlackRock ได้จัดทำนโยบายการจัดสรร (Allocation Policy) ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการลงทุน
  9. กองทุนหลักและกองทุนอ้างอิงมีสภาพคล่องจำกัด เนื่องจากเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้หลักทรัพย์เหล่านั้นมีสภาพคล่องต่ำกว่าหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงกองทุนอ้างอิงไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และไม่มีแผนงานที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใดๆด้วย นอกจากนั้น หน่วยลงทุนของกองทุนหลักไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้อย่างอิสระ ต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดก่อน  ดังนั้น กองทุนหลักและกองทุนอ้างอิงจึงเหมาะกับนักลงทุนระยะยาว ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินจากการลงทุนนี้อย่างเร่งด่วนเท่านั้น
  10. กองทุนอ้างอิงอาจทำการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุน โดยมีเป้าหมายการทำธุรกรรม (Target Leverage) ประมาณร้อยละ 100-125 ของอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (debt-to-equity ratio) ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมาย Investment Company Act of 1940 สามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้สูงสุดที่อัตราร้อยละ 200 ของหนี้สินต่อทุน การขยายฐานเงินลงทุน (Leverage) ด้วยการกู้ยืมเงินดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กองทุนอ้างอิงด้วยเช่นกัน ซึ่งการขยายฐานเงินลงทุนอาจส่งผลให้เกิดการขยายผลขาดทุนให้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
  11. กองทุนอ้างอิงมีการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับน่าลงทุน หรือไม่มีการจัดอันดับ ซึ่งหากดำเนินการให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ก็จะอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับน่าลงทุน ซึ่งนอกจากจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงแล้ว ยังมีสภาพคล่องต่ำและมีความยากลำบากในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของตราสารด้วย
  12. กองทุนอ้างอิงอาจมีการลงทุนในตราสารที่มีสินเชื่อเป็นหลักประกัน (Collateralized Loan Obligations: CLOs) ซึ่งมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้สูง จึงมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้หรือหลักทรัพย์อื่นๆ
  13. แม้ว่ากองทุนอ้างอิงจะเน้นให้สินเขื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในมูลค่าที่สูงกว่า แต่กองทุนอ้างอิงก็ยังมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ นอกจากนั้น ในบางกรณีกองทุนอ้างอิงอาจมีการลงทุนในเงินกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Loans) ซึ่งจะส่งผลให้กองทุนอ้างอิงมีความเสี่ยงสูงยิ่งขึ้น
  14. กองทุนอ้างอิงลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วยกองทุนอ้างอิงมีการลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือแม้ว่าบางหลักทรัพย์จะมีการซื้อขายในตลาดรอง (Private secondary market places) แต่ก็ไม่สามารถนำราคาจากตลาดรองมาใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมได้ทันทีหากไม่มีการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นเกิดขึ้นในตลาดรอง วิธีการประเมินมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์เหล่านี้ แม้จะมีนโยบายการประเมินมูลค่ายุติธรรมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เกิดความสม่ำเสมอ และมีการว่าจ้างผู้ประเมินราคาอิสระจากภายนอกมาใช้ประกอบการพิจารณา แต่ผู้ประเมินและตัดสินใจขั้นสุดท้ายคือที่ปรึกษากองทุนอ้างอิง ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการทรัสตี การประเมินมูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ที่ปรึกษากองทุนอ้างอิงไม่อาจรับประกันได้ว่าข้อมูลที่ใช้ในการประเมินนั้นครบถ้วน ถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งอาจทำให้ราคาหลักทรัพย์ที่ประเมินสูงหรือต่ำเกินกว่าที่ควรจะเป็น
  15. กองทุนอ้างอิงมีการเรียกเก็บส่วนแบ่งผลกำไร (Performance-based compensation) นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management fee) ให้แก่ที่ปรึกษาการลงทุนของกองทุนอ้างอิง ส่วนแบ่งผลกำไรดังกล่าวอาจส่งผลให้ที่ปรึกษาการลงทุนของกองทุนอ้างอิงเลือกลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยงกว่าปกติโดยคาดหวังส่วนแบ่งผลกำไรที่มากขึ้น นอกจากนั้น ส่วนแบ่งผลกำไรนี้คำนวณรวมกำไรที่กองทุนอ้างอิงรับรู้แล้ว (Realized gain) และกำไรที่กองทุนอ้างอิงยังไม่รับรู้ (Unrealized gain) ในขณะนั้น ผู้ลงทุนที่ไถ่ถอนหน่วยลงทุนอาจไถ่ถอนหน่วยลงทุนในราคาที่มีการคำนวณส่วนแบ่งผลกำไรสูงเกินจริงอันเป็นผลมาจากกำไรที่ยังไม่รับรู้ในขณะนั้นสูงกว่าการรับรู้จริงในภายหลัง ซึ่งกองทุนอ้างอิงและกองทุนหลักจะไม่ชดเชยส่วนต่างใดๆให้แก่ผู้ลงทุนที่ได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนไปแล้ว
  16. กองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิงอาจไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนในไตรมาสใดก็ตามที่กองทุนอ้างอิงมีทรัพย์สินสภาพคล่องรวมกับวงเงินกู้ยืมที่ยังไม่ถูกเรียกใช้ (available and undrawn leverage) ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของทรัพย์สินสุทธิในไตรมาสก่อนหน้าของกองทุนอ้างอิง นอกจากนั้น กองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิงอาจมีการจำกัดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในแต่ละไตรมาสไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือจำนวนหน่วยลงทุนคงเหลือในไตรมาสก่อนหน้า หรืออาจจำกัดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนด้วยเหตุผลอื่นใดตามดุลพินิจของกองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิง โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สิทธิในการขายคืนหน่วยลงทุนจึงอาจถูกจำกัดอย่างมีนัยสำคัญ และไม่มีการรับประกันว่ากองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิงจะสามารถดำเนินการตามคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้
  17. แม้ว่ากองทุนหลักเป็นผู้ลงทุนในกองทุนอ้างอิง แต่ผู้ลงทุนในกองทุนหลักไม่ใช่ผู้ลงทุนในกองทุนอ้างอิง จึงไม่สามารถใช้สิทธิบังคับหรือเรียกร้องใดๆต่อกองทุนอ้างอิงได้ ผู้ลงทุนในกองทุนหลักสามารถใช้สิทธิได้ตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา Partnership และ Memorandum ของกองทุนหลักเท่านั้น
  18. กองทุน KFPCD-UI มีสภาพคล่องจำกัด เนื่องจากเป็นกองทุนที่ไม่เปิดให้ซื้อขายได้ทุกวันแบบกองทุนเปิดทั่วไป โดยกองทุนจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไตรมาสละครั้ง และอาจรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้เพียงบางส่วนหรือปฏิเสธรายการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดในไตรมาสใดหรือหลายไตรมาสติดต่อกัน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของกองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิง และ/หรือดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน KFPCD-UI ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนการลงทุนว่าสิทธิในการขายคืนหน่วยลงทุนมีข้อจำกัดอย่างมีนัยสำคัญ และไม่มีการรับประกันว่ากองทุนหลักหรือกองทุนอ้างอิงหรือกองทุน KFPCD-UI จะสามารถดำเนินการตามคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้
  19. กองทุน KFPCD-UI มีการเรียกเก็บค่าปรับการขายคืนหรือสับเปลี่ยนออกก่อนระยะเวลาที่กำหนด (Early Redemption/Early Switch-out fee) จากการไถ่ถอนหน่วยลงทุนที่มีระยะเวลาถือครองไม่ครบ 1 ปีนับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุนนั้น โดยพิจารณาแบบเข้าก่อน-ออกก่อน (First-in, First-out : FIFO) ในอัตราร้อยละ 2 ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่รับซื้อคืน โดยกองทุน KFPCD-UI จะชําระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนในอัตราร้อยละ 98 ของมูลค่าที่รับซื้อคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยที่ส่งคำสั่งขายคืนและนำเงินค่าปรับดังกล่าวนี้เก็บเข้ากองทุน KFPCD-UI ซึ่งแนวทางปฏิบัตินี้ถูกกำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิงและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลพินิจโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  20. กองทุน KFPCD-UI เสนอขายเดือนละครั้ง โดยอาจรับคำสั่งซื้อเพียงบางส่วนหรือปฏิเสธรายการซื้อทั้งจำนวน รวมถึงอาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆ ซึ่งเป็นไปข้อกำหนดและตามดุลยพินิจของกองทุนหลักและ/หรือกองทุนอ้างอิง และ/หรือดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน KFPCD-UI ผู้ลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่สามารถลงทุนในกองทุน KFPCD-UI ในจำนวนที่ต้องการหรืออาจไม่สามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่รายการซื้อถูกปฏิเสธทั้งหมดหรือถูกนำไปดำเนินการเพียงบางส่วน บริษัทจัดการจะคืนเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนที่ถูกปฏิเสธหรือที่ผู้ลงทุนชำระเกินไว้ โดยไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยหรือชดเชยใดๆ
  21. ในการส่งคำสั่งซื้อหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้องส่งคำสั่งรายการซื้อหน่วยลงทุน พร้อมทั้งชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันทำรายการในแต่ละรอบโดยให้เป็นไปตามประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกำหนด และผู้ลงทุนจะไม่สามารถยกเลิกการทำรายการดังกล่าวได้ โดยคำสั่งซื้อจะถูกนำมาดำเนินการในวันสุดท้ายของแต่ละเดือน (Trade date) และจะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเมื่อกองทุนได้มีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยของรอบนั้น ซึ่งจะคำนวณและประกาศภายใน 62 วันทำการถัดจากวันทำการสุดท้ายของเดือนหรืออาจเกินกว่านั้นขึ้นอยู่กับกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่ผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อพร้อมชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้าจนถึงก่อนการคำนวณมูลทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย ผู้ลงทุนจะยังไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นจนกว่าจะมีการคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยเสร็จสิ้นแล้ว
  22. กองทุน KFPCD-UI มีข้อกำหนดในการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนล่วงหน้าเป็นเวลานานก่อนถึงวันทำรายการจริง โดยวันทำรายการ (Trade date) สำหรับการขายคืนจะเป็นวันทำการสุดท้ายของสิ้นไตรมาส ส่วนวันทำรายการของการซื้อนั้น จะเป็นวันทำการสุดท้ายของแต่ละเดือน ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามดุลยพินิจของกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง อีกทั้งกองทุน KFPCD-UI มีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นรายเดือน โดยจะคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใน 62 วันถัดจากวันทำการสุดท้ายของเดือน หรืออาจเกินกว่านั้นขึ้นอยู่กับกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง ข้อกำหนดเหล่านี้ถูกกำหนดให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของกองทุนหลัก ซึ่งแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป ผู้ลงทุนควรศึกษาประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่บริษัทจัดการกำหนดโดยละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน
  23. การส่งคำสั่งทำรายการล่วงหน้าเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถทราบถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ณ วันที่ส่งคำสั่งทำรายการได้ ผู้ลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุนต้องรับความเสี่ยงที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอาจผันผวนอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงระหว่างวันที่ยื่นคำสั่งทำรายการและวันที่ดำเนินการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งนั้น
  24. กองทุน KFPCD-UI อาจทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติจะทำให้จำนวนหน่วยลงทุนคงเหลือของผู้ถือหน่วยลงทุนลดลง  โดยปกติกองทุนหลักจะชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนเป็นเงินสด แต่ในบางสถานการณ์ กองทุนหลักอาจชำระค่าขายคืนเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนอ้างอิงหรือหลักทรัพย์อื่นใดให้แก่กองทุน KFPCD-UI แทนเงินสด ซึ่งอาจทำให้กองทุน KFPCD-UI มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการรับหน่วยลงทุนหรือหลักทรัพย์อื่นใดจากกองทุนหลักหรือกองทุนอ้างอิง และยังส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุน KFPCD-UI ไม่ได้รับเงินสดจากค่าขายคืนหน่วยลงทุน
  25. การชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนที่จ่ายให้ในรูปของทรัพย์สินอื่นแทนเงินสดนั้น อาจมีข้อจำกัดในการโอนหรือการขายต่อ โดยเฉพาะหลักทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่องของบริษัทต่าง ๆ ที่กองทุนอ้างอิงลงทุน อาจก่อให้เกิดภาระในการดำเนินงานอย่างมาก นอกจากนี้ การถือครองทรัพย์สินบางประเภทโดยตรงอาจทำให้ผู้ถือต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีหรือกฎหมายภาษีอากรของรัฐที่ทรัพย์สินเหล่านั้นตั้งอยู่
  26. กองทุนหลักอาจร้องขอข้อมูลและเอกสารส่วนบุคคลของผู้ลงทุนในกองทุน KFPCD-UI ในการพิสูจน์ตัวตนเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การป้องกันการฟอกเงินหรือเกณฑ์อื่นใดของกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักมีสิทธิที่จะปฏิเสธการรับคำสั่งซื้อ หรือยกเลิกคำสั่งซื้อที่ได้รับมาแล้วและคืนเงินลงทุนโดยไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินชดเชยใดๆให้แก่ผู้ลงทุนรายใดที่ปฏิเสธการให้ความร่วมมือในการแสดงข้อมูลและเอกสารตามที่กองทุนหลักร้องขอ นอกจากนั้น กองทุนหลักอาจปฏิเสธหรือชะลอการชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน หรือเงินผลประโยชน์จัดสรรให้แก่กองทุน KFPCD-UI หรือผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดในกองทุน KFPCD-UI ที่กองทุนหลักมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าการชำระเงินให้แก่ผู้ลงทุนรายนั้นๆ อาจทำให้กองทุนหลักกระทำผิดต่อกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือเกณฑ์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
  27. กองทุน KFPCD-UI ไม่มีกำหนดอายุโครงการ แต่กองทุน KFPCD-UI อาจเลิกโครงการหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขในโครงการ หากกองทุนหลักบังคับขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมดที่ถือโดยกองทุน KFPCD-UI ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกองทุนหลักและกองทุนอ้างอิง โดยกองทุน KFPCD-UI ในฐานะผู้ลงทุน ไม่สามารถเรียกร้องใดๆได้
  28. กองทุนหลักมีสิทธิและอำนาจเต็มที่ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมข้อกำหนดต่างๆของกองทุนหลัก โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้ลงทุนก่อน เช่นเดียวกับกองทุนอ้างอิง ซึ่งมีสิทธิและอำนาจเต็มที่ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมข้อกำหนดต่างๆของกองทุนอ้างอิง โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากกองทุนหลักก่อน การเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมดังกล่าวไม่ว่าจากกองทุนหลักหรือกองทุนอ้างอิงจึงอาจส่งกระทบต่อกองทุน KFPCD-UI และผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  29. BlackRock Private Credit Fund iCapital Offshore Access Fund, L.P. (กองทุนหลัก) iCapital HF GP, LLC (หุ้นส่วนทั่วไป (General Partner) ของกองทุนหลัก) iCapital Advisors, LLC (ผู้จัดการกองทุนหลัก) เรียกรวมกันว่า "iCapital Parties"  BlackRock Private Credit Fund (กองทุนอ้างอิง), BlackRock Capital Investment Advisors, LLC และ BlackRock Advisors, LLC เรียกรวมกันว่า "Underlying Fund Parties" หรือบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ผู้สนับสนุน ผู้จัดการ หรือตัวแทนของกองทุน KFPCD-UI ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเนื้อหาในเอกสารกองทุน KFPCD-UI ไม่ว่าจะเป็นหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม โครงการและข้อผูกพัน หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ เอกสารประกอบการขาย และเอกสารอื่นใดของกองทุน KFPCD-UI ผู้ลงทุนในกองทุน KFPCD-UI ไม่ถือเป็นผู้ลงทุนในกองทุนหลักหรือกองทุนอ้างอิง จึงไม่มีสิทธิหรือภาระผูกพันโดยตรงในกองทุนหลักหรือกองทุนอ้างอิงหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูล 
  • ผู้ลงทุนควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ขาย หรือศึกษารายละเอียดจากเอกสารประกอบการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน


ข้อมูลกองทุน KFPCD-UI คลิก

ย้อนกลับ

ข่าว/ประกาศกองทุน

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน