เริ่มต้นการลงทุน


ออมเป็น-ออมดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
“ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินออม แต่เราทุกคนออมเงินได้”
“การออมเงิน” เป็นการ “เสียสละ” รายได้บางส่วนที่เราหามานั้นนำมาเก็บสะสม แทนที่ที่เราจะนำไปใช้จ่ายเพื่อความสุขของเราในวันนี้ แต่เราเลือกที่จะนำเงินส่วนดังกล่าวไปใช้ เพื่อความสุขในอนาคตแทน แต่คนส่วนใหญ่มักมีคำถามว่า “จะออมได้ไง...เงินจะใช้ยังไม่พอ” การออมไม่ได้ขึ้นกับฐานะและต้นทุนทางเศรษฐกิจใดๆเลย ไม่ว่าจะมีหรือจนก็สามารถ “ออมได้” แต่เรามักจะทำตัวใหญ่กว่าเงินที่ตัวเราเองมีอยู่เสมอ แค่เราปรับมุมมองของชีวิต ปรับทัศนคติในการออม มีแนวทางในการออม พร้อมกับกำหนดวัตถุประสงค์ในการออมที่ชัดเจน ว่าเราออมทำไม ไปเพื่ออะไรแล้ว เราก็จะมีกำลังใจในการที่จะทำให้บรรลุเป้ามหมายได้ยิ่งขึ้น
ประเด็นสำคัญ คือ “ออมแล้วต้องไม่ทุกข์”...ไม่ใช่ออมจนต้องอด หรือจนตัวเองได้รับความลำบาก หากแต่ต้องออมไปแล้วสร้างความสุขสร้างความพอดีให้ตัวเองทั้ง “ร่างกาย” และ “จิตใจ” ควบคู่กันไป สิ่งที่สำคัญคือ “ลงมือทำด้วยความตั้งใจที่มุ่งมั่น” เพราะเงินออมเป็นเงินที่เราจ่ายให้ตัวเองในอนาคต


อ่านบทความ คลิก

ออมไม่พอ ต้องลงทุน
“ยัยเงินเฟ้อ กับ นายดอกเบี้ย”
เงินเฟ้อ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การเก็บเงินออมเงินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมายต่างๆ ในชีวิต เพราะเงินเฟ้อทำให้มูลค่าเงินที่เราถือลดลง การเก็บเงินออมอย่างเดียวจึงไม่พอ เพราะดอกเบี้ยเงินออมนั้นเอาชนะเงินเฟ้อไม่ได้ การลงทุนจึงเป็นตัวช่วยชั้นดีที่จะช่วยให้คุณทำให้เงินที่ออมอยู่ งอกเงยมากขึ้นกว่าเดิมโดยไม่ได้พึ่งพาการทำงาน หรือหามาเพิ่ม ซึ่งในส่วนของบทความนี้จะแนะแนวให้คุณรู้จักกับการลงทุน และบอกกล่าวถึง “ความเสี่ยง” ที่คุณจะได้เจอในการลงทุน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เข้าใจถึงหลักการลงทุนที่ถูกต้อง เพราะความเสี่ยงที่สุดคือไม่รู้ ดังนั้นเราควรรู้ เรื่องของการลงทุน และ การตั้งเป้าดีจะทำให้ความเสี่ยงลดลง นอกจากนี้กำไรจากการทุนก็จะไม่หดหาย
เสี่ยงที่สุดคือไม่รู้ ดังนั้นเราควรรู้เรื่องของ ...ความเสี่ยง
 จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง นำพามาซึ่งความเสียหายและความสูญเสียมากมาย นั้นก็เป็นเพราะเราไม่ทราบว่ามันจะมีโอกาสเกิดขึ้น และไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าเพื่อรับมือกับวิกฤตนั่นเอง แต่ถ้าเรารู้และเข้าใจว่าวิกฤตนั้นมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นทุกเมื่อแล้วละก็ เราก็สามารถที่จะบริหารจัดการกับมันได้เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หรือแม้แต่หาโอกาสจากวิฤตก็เป็นไปได้เช่นกัน เปรียบได้กับว่า “ชีวิตคนเรา” ... เต็มไปด้วย “ความเสี่ยง” นั่นเอง และในเรื่องของ “ความเสี่ยง” ก็จะมีเรื่องของ “ผลตอบแทน” ควบคู่กันไปด้วยเสมอ
กองทุนรวม...ประตูสู่โลกการลงทุน
ทางเลือกการลงทุนในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายมากกว่าในอดีต และการจะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ นั้น สามารถทำได้ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ การลงทุนโดยตรง และ การลงทุนผ่านตัวกลางทางการเงิน แต่การลงทุนโดยตรงบางครั้งอาจจะไม่สะดวกเนื่องจากว่า นักลงทุนต้องมีเงินลงทุน และประสบการณ์ค่อนข้างสูง การลงทุนผ่านตัวกลางทางการเงิน หรือกองทุนรวม จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
กองทุนรวม...จึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะกับนักลงทุนที่ปรารถนาจะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามนโยบายการลงทุนของกองทุนที่ระบุไว้ และยังเป็นเครื่องมือที่เหมาะกับนักลงทุนที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนที่ชัดเจน มีระยะเวลาการลงทุนระยะกลางถึงยาว และต้องการกระจายการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าจะลงทุนด้วยตัวเอง
บทความส่วนนี้ จะอธิบายถึงความหมายของกองทุนรวมว่า กองทุนคืออะไร ทำไมต้องกองทุน และ ประเภทของกองทุนนั้นสำคัญไฉน เพราะกองทุนรวมนั้นมีทางเลือกการลงทุนที่ค่อนข้างจะหลากหลายในระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เพราะเฉพาะนั้นคุณจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ เพื่อที่คุณจะได้เลือกกองทุนให้เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองได้เป็นอย่างดี
เลือกกองทุนให้ดี ต้องมองผ่านเลนส์
2 ข้อสำคัญในการเลือกกองทุนที่ดี
  1. เลือกจากผลตอบแทน เปรียบเทียบผลตอบแทน กองทุนที่มี Benchmark เดียวกัน
  2. ศึกษาผลตอบแทนย้อนหลัง 3-5 ปี ควรเลือกกองทุนที่มีผลตอบแทนสม่ำเสมอระยะยาว
แน่นอนว่าสิ่งที่นักลงทุนต้องการจากการลงทุนก็คือ “ผลตอบแทน” หรือ “ผลกำไร” จากการลงทุน และนั่นมักจะเป็นสิ่งแรกหรือเป้าหมายแรกที่นักลงทุนส่วนใหญ่นึกถึงและไม่มีใครชอบ “ความเสี่ยง” เป็นไปได้ก็อยากจะลงทุนในอะไรที่ให้ “ผลตอบแทน” ที่สูง และ “ความเสี่ยง” ต่ำ ๆ ซึ่งในโลกของการลงทุนนั้นเป็นไปได้ยาก เหตุผลง่ายนิดเดียวเพราะตามหลักทั่วไปของการลงทุน “ผลตอบแทน” และ “ความเสี่ยง” จะแปรผันไปในทางเดียวกันนั่นเอง
ปัจจุบัน “ผลตอบแทน” ของกองทุนรวมหาดูได้ไม่ยากทั้งใน Fund Fact Sheet หรือหนังสือพิมพ์ธุรกิจ หรือเว็บไซต์ของ บลจ.ต่าง ๆ ที่คุณลงทุนอยู่ หรือเว็บไซต์ของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (www.aimc.or.th) หรือล่าสุดในเว็บไซต์ของมอร์นิ่งสตาร์ (www.morningstarthailand.com) เป็นต้น
บทความส่วนนี้ จะอธิบายถึงวิธีการเลือกกองทุนจากการอ่าน Fund Fact Sheet หรือจากสื่อต่าง ๆ และสอนถึงวิธีการใช้มาตรวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
องค์กรกลางการันตี ดูดีมีมาตรฐาน
ในปัจจุบันธุรกิจกองทุนรวมมีบลจ. ทั้งหมด 22 แห่ง มีกองทุนรวมในระบบกว่า 1,500 กองทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 พ.ย. 57) จะเห็นธุรกิจกองทุนรวมมีกองทุนให้เลือกลงทุนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนักลงทุนแต่ละคนก็คงอยากจะเลือกกองทุนรวมที่ดีให้กับตัวเอง แน่นอนว่า...หนึ่งในการดูกองทุนรวมก็ คือ การดูผลการดำเนินงานของกองทุนโดยเปรียบเทียบกับ “ดัชนีมาตรฐาน” ซึ่งเป็นดัชนีเทียบวัดของกองทุนเอง
ในปัจจุบัน นักลงทุนสามารถดูและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนเหมือนกันได้ในเบื้องต้น ผ่านเว็บไซต์ www.aimc.or.th หรือผ่านทางบจ.ฟิทช์ เรทติ้งส์ บจ.ลิปเปอร์ และ บจ.มอร์นิ่งสตาร์รีเสิร์ช นอกจากนี้ยังมี Morningstar ซึ่งถือเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมชื่อดังของต่างประเทศ มีการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะฟรี ผ่านเว็บไซต์ www.morningstarthailand.com ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับนักลงทุนสามารถหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนโดย ผ่านบุคคลที่ 3 ที่เป็นกลางและเป็นอิสระ ซึ่งในส่วนของบทความนี้จะอธิบายถึงวิธีการจัดอันดับและวิธีการเปรียบเทียบกองทุนของ Morningstar เพื่อให้นักลงทุนได้ทราบถึงข้อมูลและที่มาที่ไปว่าอันดับของแต่ละกองทุนนั้นได้มาได้อย่างไร เพื่อเสริมความมั่นใจในการตัดสินใจลงทุน
จัดอันดับกองทุน ใครรุ่ง ใครตาม
ปัจจุบันนักลงทุนไทยเองยังมีการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่มากนักและส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจกับ “การลงทุนระยะสั้น” แต่นักลงทุนจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ “วิธีการ และแนวคิดการลงทุนของผู้จัดการกองทุน” เสียก่อน เพราะว่าผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จะลงทุนกับสินทรัพย์ต่างๆด้วยมุมมองของการลงทุนแบบระยะกลาง - ยาวมากกว่าระยะสั้น ดังนั้น นักลงทุนควรไปมองหากองทุนรวมที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ตอบโจทย์ในเรื่องของผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในระยะเวลาที่นักลงทุนต้องการ แล้วเลือกลงทุนไปกับกองทุนนั้นไปเลย โดยสามารถใช้ “Star Rating (กองทุนติดดาว)” เป็นเครื่องมือช่วยเหลือในการตัดสินใจ
เลือกกองทุนให้ดีต้องมีดาว
“เบื่อมั้ย?” กับการลงทุนที่ไร้ทิศทางจนทำให้ตัวเองต้องไกลห่างจากเป้าหมายการลงทุนที่ได้วางแผนไว้ในชีวิต ถึงเวลาลงทุนก็ไม่รู้จะเลือกลงทุนในกองทุนไหนดี แล้ว “จะดีกว่ามั้ย?” ถ้าจะปรับจูนมุมมองการลงทุนให้ถูกต้อง พร้อมมี “ตัวช่วย” เป็น “กองทุนติดดาว” เรทติ้งกองทุนที่เข้าใจง่ายจากสถาบันจัดอันดับที่เป็นกลางอย่าง “Morningstar” มาเป็นตัวช่วยในการเลือกกองทุนเพื่อเป็น “แต้มต่อ” ในการลงทุนของตัวคุณเอง ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายที่รายละเอียดของกองทุนติดดาว ที่มาที่ไป และกองทุนติดดาวแบบไหนที่น่าลงทุน
จัดทีมกองติดดาว ระยะยาวไม่ผันผวน
ก่อนที่จะไปสู่เรื่องของการจัดพอร์ตการลงทุน นักลงทุนเองก็ควรที่จะเข้าใจเรื่อง“ผลตอบแทน” ให้ดีเสียก่อน ซึ่ง ผลตอบแทนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท หลักๆ คือ 1) ผลตอบแทนรวม (Total Return) และ 2) ผลตอบแทนจากราคา (Price Return) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายความแตกต่างของผลตอบแทนทั้งสองตัวอย่างละเอียด หลังจากที่นักลงทุนทำความเข้าใจถึง ผลตอบแทน และความเสี่ยงแล้ว ขัดตอนสุดท้ายคือการจัดพอร์ต
หัวใจหลักของการจัดพอร์ต คือ นักลงทุนควรกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงที่ตัวเองสามารถจะรับได้เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่ดีให้กับตัวเอง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะไปเลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งในบทความบทสุดท้ายนี้ จะชี้แนวทางการจัดพอร์ตที่ดี ที่จะช่วยส่งเสริมให้ท่านได้ลงทุนระยะยาวอย่างมั่นคง

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว