นางสุภาพร ลีนะบรรจง กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) เปิดเผยว่า “บริษัทเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรี Finnoventure PE Y2033 - ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFFVPE-UI) สำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษที่ต้องการลงทุนในธุรกิจ Start-up ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนที่มีศักยภาพเติบโตเป็น Unicorn ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันยังมีการลงทุนในระดับต่ำเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสสร้างการเติบโตของเงินลงทุนในตลาดที่เข้าถึงได้จำกัดแต่มีศักยภาพการเติบโตสูงได้ในอนาคต เสนอขายครั้งเดียวระหว่างวันที่ 16 – 22 ธันวาคม นี้ เงินลงทุนขั้นต่ำ 1 ล้านบาท”
“กองทุน KFFVPE-UI ถือเป็นความร่วมมือที่ผสานจุดแข็งของสถาบันการเงินชั้นนำระหว่าง ธ.กรุงศรี บลจ.กรุงศรี และบริษัทกรุงศรี ฟินโนเวต ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การดำเนินการของธนาคารกรุงศรีอยุธยาและ MUFG Financial Group จึงมีฐานการเงินที่แข็งแกร่ง และโดดเด่นด้านการเป็นผู้นำการลงทุนในธุรกิจ Start-up และมีเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ start-up ในหลากหลายอุตสาหกรรม ที่ผ่านมามีการลงทุนและสนับสนุนธุรกิจ Start-up มาแล้วมากกว่า 15 แห่งด้วยเงินลงทุนกว่า 1,500 ล้านบาทตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่เป็นพันธมิตรร่วมงานกับ Start-up มากที่สุดในอาเซียน โดยมีจำนวนกว่า 63 บริษัท และกว่า 106 โครงการ (ที่มา: Krungsri Finnovate ณ พ.ค. 64”
“นอกจากนี้ กองทุน KFFVPE-UI ยังเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ลงทุนใน Private Equity กองทุนแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายบุคคลประเภทรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth Investor: UI) ร่วมลงทุนได้ในธุรกิจ Start-up ของไทยและภูมิภาคเอเชียร่วมกับนักลงทุนสถาบันผ่าน ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I โดยเน้นลงทุนใน 3 ธีมธุรกิจเด่นๆ ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Fintech อีคอมเมิร์ซ และ เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่หรือ Automotive Tech ซึ่งมีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมากตามความต้องการของผู้บริโภคในอาเซียน”
“ฟินโนเวนเจอร์ ไพรเวท อิควิตี้ ทรัสต์ I ตั้งเป้าหมายให้น้ำหนักการลงทุนประมาณ 70% ในประเทศไทยและอีก 30% ในประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ เวียดนาม มีการตั้งเป้าลงทุนในธุรกิจประมาณ 15-25 บริษัท ด้วยจำนวนเงินลงทุนระหว่าง 30-150 ล้านบาทต่อหนึ่งสินทรัพย์ ซึ่งแต่ละบริษัทจะลงทุนครั้งแรกประมาณ 70% และรอบต่อๆ ไปอีก 30% โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่อยู่ในช่วงระยะของการเติบโตตั้งแต่ Series A ขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่ธุรกิจเริ่มเป็นที่รู้จักและเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่มากขึ้น จึงมีความน่าสนใจในการลงทุนและมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ค่อนข้างสูง จากการทำกำไร หรือ Exit ออกจากธุรกิจ Start-up ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับการระดมทุนในรอบถัดไปที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น จาก Series A ไป Series B, การที่ Start-up ถูกซื้อจากบริษัทใหญ่ๆ หรือการออก IPO เข้าสู่ตลาดทุน เป็นต้น”
“นอกเหนือจากการให้สนับสนุนทางด้านการลงทุนแล้ว กรุงศรี ฟินโนเวตยังใช้กลยุทธ์ในการทำ Synergy กับ Start-up ที่กองทุนเข้าร่วมลงทุนด้วย โดยส่งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าไปทำงานร่วมกับ Start-up ที่เข้าไปร่วมลงทุน เป็นที่ปรึกษารวมทั้งจัดหาลูกค้าให้เพื่อทำให้เกิดการเติบโตอย่างแท้จริง ตัวอย่าง Start-up ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในภูมิภาคเอเชียได้แก่ Alibaba, Grab, Traveloka เป็นต้น”
“กองทุน KFFVPE-UI ถือเป็นทางเลือกที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายใหญ่พิเศษได้ร่วมลงทุนไปพร้อมกับนักลงทุนสถาบัน ว่า เนื่องจากปกตินักลงทุนรายย่อยเข้าถึงการลงทุนใน Start-up ได้ยาก หรือมีเป้าหมายเน้นที่กลุ่มนักลงทุนสถาบันเป็นหลัก เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง สำหรับนักลงทุนรายใหญ่พิเศษสามารถลงทุนผ่านกองทุน KFFVPE-UI ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท โดยต้องมีคุณสมบัติการเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และสามารถลงทุนได้ในระยะยาวอย่างน้อย 12 ปีตลอดระยะเวลาของโครงการ ทั้งนี้ การลงทุนใน Start-up มีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในสินทรัพ์ทั่วไปที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่ก็มีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าเช่นกัน” นางสุภาพร กล่าว
สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมพร้อมขอรับหนัสือชี้ชวนได้ที่ บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 เว็บไซต์ www.krungsriasset.com หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนฟินโนมีนา จำกัด
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน
กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น
ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา 12 ปีได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
สำคัญ: นโยบายการลงทุนและคำเตือนกองทุน คลิกที่นี่