ปั้นพอร์ตการลงทุนให้เติบโตรับสภาพอากาศเปลี่ยนกับ KFCLIMA-A

9 มีนาคม 2564

บลจ.กรุงศรี เปิดธีมการลงทุนใหม่ให้พอร์ตเติบโตรับกระแสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้รับแรงผลักดันของภาครัฐในการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้อย่างจริงจังมากขึ้น และการขานรับของภาคธุรกิจ ทำให้เกิดการลงทุนอย่างมหาศาลและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา หนุนให้การลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นธีมการลงทุนในทศวรรษใหม่ที่ต้องมีไว้ในพอร์ต โดยเฉพาะในตอนนี้ที่เพิ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการเติบโต พร้อมเปิดตัวกองทุนเปิดกรุงศรี ESG Climate Tech - สะสมมูลค่า (KFCLIMA-A) ที่มี DWS Invest ESG Climate Tech กองทุนระดับโลกที่เชี่ยวชาญธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม และโดดเด่นด้วยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นกองทุนหลัก


ที่งานสัมมนาออนไลน์เมื่อเร็วๆนี้ คุณ Tim Bachmann ผู้จัดการกองทุน DWS Invest ESG Climate Tech Fund พร้อมด้วยคุณเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก บลจ.กรุงศรี ได้มาร่วมกันให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำลังเป็นกระแสการลงทุนในโลกยุคใหม่ พร้อมชี้ปัจจัยที่จะผลักดันให้เกิดการเติบโต โอกาส และความน่าสนใจในการลงทุน ตลอดจนกลยุทธ์การคัดเลือกหุ้น พอร์ตการลงทุน และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 

คุณเกียรติศักดิ์กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมาอย่างยาวนาน แต่ที่ผ่านมาเป็นเพียงเรื่องของการรณรงค์และขอความร่วมมือ จนเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาเริ่มส่งผลกระทบในรูปแบบของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจากจำนวนเฉลี่ย 1,500 ครั้งเป็น 2,500 ครั้งต่อปี และทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง ไฟป่า อุทกภัย แผ่นดินไหว คลื่นความร้อน ทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศเริ่มตระหนักและหันมาใส่ใจแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง 
ที่มา: Munich RE (ปี 2562); Swiss RE (ปี 2560); NOAA/NCEI (ปี 2561)

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา รัฐบาลในหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้มีการออกนโยบาย และกฎหมายที่จะใช้เป็นข้อบังคับเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การมี “European Green Deal” ของประเทศในยุโรปที่ตั้งเป้าหมายในการที่จะลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 การกลับเข้าสู่ข้อตกลง Paris Agreement ของประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐเพื่อสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างซาอุดิอาระเบียก็ยังมีแผนการสร้างโรงงาน Green Hydrogen ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือบางประเทศมีการนำเรื่องของ Climate War มาเป็นประเด็นกีดกันทางการค้า เพื่อเป็นการบังคับให้ประเทศคู่ค้าหรือบริษัทผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ต้องดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ด้านการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่าทุกประเทศต่างกำลังปรับตัว และเพิ่มการลงทุนเพื่อพัฒนาและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่

คุณ Tim กล่าวว่า จากการออกกฎเกณฑ์และข้อบังคับเชิงนโยบายของทางภาครัฐที่พร้อมทุ่มงบประมาณการลงทุนด้านต่างๆ จึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจมากสำหรับการลงทุน เนื่องจากจะมีเม็ดเงินงบประมาณไหลเข้าไปในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น มีการคาดการณ์ว่างบประมาณที่จะจัดสรรสำหรับการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพลังงานสะอาดจะเพิ่มขึ้นจาก 9 แสนล้านเหรียญในปี 2019  เป็นกว่า 3 ล้านล้านเหรียญในระหว่างปี 2030 - 2040 ส่วนในภูมิภาคยุโรปก็มีการจัดสรรงบประมาณสูงถึง 1 ล้านล้านยูโรเพื่อผลักดันการดำเนินนโยบายพัฒนาสิ่งแวดล้อม 

ส่วนบริษัทในภาคธุรกิจอื่นๆก็ต้องหันมาใส่ใจในการปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยจะเห็นว่ามีภาคเอกชนอย่างน้อย 500 บริษัทซึ่งมีเม็ดเงินรวมกันไม่น้อยกว่า 11 ล้านล้านเหรียญ ที่แสดงความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง นอกจากนี้ เป้าหมายหลักด้านการลงทุนของสถาบันต่างๆ ซึ่งมีประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 17 ล้านล้านเหรียญด้วยเช่นกัน เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดการเติบโตและเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น 
 
ที่มา: International Energy Agency (ปี 2563), Bloomberg Finance L.P., DWS Investment GmbH ณ พ.ย. 2563 | 1 - การลงทุนในพลังงานสะอาด หมายถึง เงินลงทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานทดแทน การลงทุนในโครงข่ายไฟฟ้าและการจัดเก็บพลังงาน การโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่างๆสำหรับทั้งผู้ใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาด | ตัวเลขคาดการณ์ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต​

ในช่วง 2-3 ปีทีผ่านมา ความมุ่งมั่นในการลดภาวะโลกร้อนได้ส่งผลดีต่อกลุ่มธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมาแล้วอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริษัทที่มีเทคโนโลยีในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ล้วนมีอัตราการเติบโตระดับตัวเลขสองหลัก* เช่น ธุรกิจการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลมมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 27% ภาคธุรกิจการขนส่ง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ยานพาหนะแบบไฮบริด เติบโตเฉลี่ย 22% ภาคการเกษตร ปศุสัตว์ เติบโตเฉลี่ย 16% และที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์เช่นวัสดุฉนวน ระบบทำความร้อน ระบบระบายอากาศก็มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 11% (*ที่มา: International Energy Agency (ปี 2563), Bloomberg Finance L.P., DWS Investment GmbH ณ พ.ย. 63 | ตัวเลขประมาณการของนักวิเคราะห์และคาดการณ์ต่างๆไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต | ข้อมูลคาดการณ์อ้างอิงจากสมมติฐาน ประมาณการ ความคิดเห็น และแบบจำลอง ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง)  

สำหรับกองทุนหลัก DWS Invest ESG Climate Tech ที่บลจ.กรุงศรี คัดเลือกมาเป็นกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม โดยพอร์ตของกองทุนมีการกระจายลงทุนอยู่ใน 50 - 80 บริษัท ทั้งขนาดใหญ่ กลางและเล็ก ที่คัดเลือกมาแล้วจากทั่วโลก และกลั่นกรองให้เหลือบริษัทที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม โดยบริษัทที่คัดเลือกมาต้องสอดรับกับ 2 แนวทางการลงทุนของกองทุน ได้แก่ บริษัทที่นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตอบโจทย์เรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด รถยนต์ไฟฟ้า อาคารประหยัดพลังงาน กลุ่มนี้จะมีสัดส่วนการลงทุนอยู่ 70%  และอีก 30% เป็นการลงทุนในธุรกิจที่ปรับตัวเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศ เช่น นวัตกรรมการจัดการน้ำ การเกษตรอัจฉริยะ สารอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ทุกบริษัทต้องเข้าหลักเกณฑ์ด้าน ESG มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีโอกาสเป็นผู้ชนะในอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ นอกจากนี้ กองทุนยังคำนึงถึงเรื่องการสร้างความเติบโตของพอร์ตควบคู่ไปกับการกระจายความเสี่ยง โดยมีการลงทุนทั้งในหุ้นที่เป็นกลุ่มที่เติบโตตามวัฏจักรของเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม IT และวัสดุก่อสร้าง เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด และหุ้นกลุ่มที่ไม่เคลื่อนไหวตามวัฎจักรเศรษฐกิจ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสุขภาพและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อลดความเสี่ยงในภาวะที่ตลาดปรับตัวลดลง โดยปกติกองทุนจะกระจายการลงทุนแต่ละบริษัทไม่เกิน 4% ทั้งนี้ การลงทุนส่วนใหญ่ยังคงเน้นในประเทศที่มีเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป
 


ที่มา: DWS Investment GmbH ณ 29 ม.ค. 2564

นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในเดือนเมษายน 2562 เป็นต้นมา กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นแม้ไม่มีดัชนีชี้วัดที่เปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน แต่หากเทียบกับดัชนี MSCI World ก็ถือว่าเหนือกว่าดัชนีค่อนข้างมาก และในช่วงที่ผ่านมาที่ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับฐานและเปลี่ยนกลุ่มการลงทุน กองทุนก็ยังคงสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นรองจากกลุ่มพลังงานและกลุ่มการเงิน ถือเป็นกองทุนระดับแถวหน้าของอุตสาหกรรม
 

านของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน​ที่มา: Bloomberg ณ 21 ก.พ. 64 | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินง
 
คุณเกียรติศักดิ์กล่าวว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ยังเป็นเทรนด์ใหม่ที่เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นได้เพียง 1 - 2 ปี ถือว่ายังอยู่ในระยะแรกของการเติบโตและมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปได้อีกมากนับจากนี้ไปจนถึงในระยะกลางถึงและระยะยาว โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญคือนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ ต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) ที่ลดลงไปมาก แรงกดดันจากสังคมและนักลงทุนที่ทำให้ธุรกิจต้องมีการลงทุนเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ช่วงนี้จึงเป็นโอกาสและเวลาที่เหมาะสมในการเข้าลงทุนเนื่องจากราคายังถือว่าไม่แพงนัก มี P/E อยู่ที่ระดับ 25 เท่า จึงถือเป็นธีมการลงทุนที่ควรมีไว้ในพอร์ตประมาณ 10 - 20% เพื่อเติบโตไปกับกระแสของการลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่จะเป็นเทรนด์ต่อไปในทศวรรษหน้า
 
สำหรับกองทุน KFCLIMA-A จะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยง FX เฉลี่ย ≥ 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ เสนอขายครั้งแรกระหว่าง 8 – 16 มีนาคมนี้ เงินลงทุนขั้นต่ำครั้งแรกเริ่มต้นที่ 500 บาทเท่านั้น ผู้สนใจ สามารถซื้อกองทุนได้ที่สาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือตัวแทนสนับสนุนการขาย  และ บลจ. กรุงศรี ทุกช่องทาง (@ccess Online  และ @ccess Mobile) ในทุกวันทำการ
 
คำเตือน
  • เอกสารนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • KFCLIMA-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ DWS Invest ESG Climate Tech, Class USD TFC (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี   >80% ของ NAV กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนและ/หรือหลักทรัพย์อื่นๆ ของบริษัททั่วโลกที่มีธรุกิจหลักเกี่ยวกับการควบคุมหรือลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือผลกระทบที่เกี่ยวข้องซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ช่วยในการลดมลพิษโดยการสร้างพลังงานสะอาด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงบริษัทที่มีธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ น้ำ เกษตรกรรม การป้องกันภัยพิบัติ และเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการดำเนินกิจการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักการ ESG ซึ่งได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Corporate Governance)
  • KFCLIMA-A มีระดับความเสี่ยง 6: เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ข้อมูลกองทุน KFCLIMA-A คลิกที่นี่

เอกสารประกอบเปิดด้วยโปรแกรม Acrobat Reader หากท่านไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกเพื่อ ดาวน์โหลด โปรแกรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ย้อนกลับ

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน