ปลดล็อค Private Equity การลงทุนทางเลือกเพื่อศักยภาพการเติบโต


 

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี) ชวนนักลงทุนขยายพอร์ตสู่การลงทุนใน Private Equity สินทรัพย์ทางเลือกใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ลงทุนในธุรกิจทั่วโลกที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แต่มีศักยภาพการเติบโตสูง พร้อมโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวบนความผันผวนที่ต่ำกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น โดยเมื่อเร็วๆนี้ บลจ. กรุงศรี ได้จัดสัมมนาออนไลน์ พร้อมเปิดตัวกองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไพรเวทอิควิตี้ - ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFGPE-UI)* ที่จะลงทุนผ่านกองทุนหลัก Schroder GAIA II Global Private Equity Fund บริหารจัดการโดยบริษัท Schroders Investment Management กองทุนระดับโลกผู้คร่ำหวอดด้านการลงทุนใน Private Equity มากว่า 25 ปี ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละภูมิภาคและผู้จัดการกองทุนที่มีประวัติการลงทุนที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ

*กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนโดยไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น
 
คุณ David Seex ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนจากจาก Schroders Investment Management พูดถึงความน่าสนใจของ Private Equity ว่าแตกต่างจากการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วไป โดย Private Equity เป็นสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วโลกและกระจายอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ในสหรัฐอเมริกามีจำนวนบริษัทกว่า 27 ล้านแห่ง แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ยังมีบริษัทที่อยู่นอกตลาดอยู่อีกมากที่มีศักยภาพสูง ไม่เพียงในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ธุรกิจเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งในยุโรปและเอเชีย และต้องการเงินทุนในการพัฒนาหรือขยายขนาดธุรกิจให้เติบโตขึ้น จึงเป็นโอกาสให้กองทุนสามารถเข้าไปร่วมลงทุน ซึ่งเป้าหมายของกองทุนคือการเฟ้นหากิจการหรือบริษัทที่น่าสนใจเหล่านี้ โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและเล็ก และจะนำมาคัดกรองและหาโอกาสในการเข้าไปร่วมลงทุนผ่านกลยุทธ์การลงทุนต่างๆ เพื่อให้ได้สิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสร้างคุณค่าให้กิจการ วางแผนกำหนดกลยุทธ์ให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
การลงทุนใน Private Equity จะมีความผันผวนน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นเนื่องจากเป็นการลงทุนในระยะยาวอย่างน้อย 3 - 7 ปีหรือมากกว่านั้น และจะเน้นการเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจเพื่อต่อยอดให้กิจการเจริญเติบโต การลงทุนด้วยวิธีนี้ทำให้นักลงทุนไม่ต้องกังวลกับราคาที่ผันผวนเหมือนการลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากกองทุนจะมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้าไปร่วมบริหารกิจการโดยตรง มุ่งเน้นที่การร่วมพัฒนาและสร้างคุณค่าธุรกิจให้เติบโตอย่างมีกลยุทธ์ และเมื่อถึงเป้าหมายที่ต้องการแล้วจะมีการขายกิจการออกไปเพื่อทำกำไรจากการลงทุน
 
ที่มา: Schroders Capital ณ ปี 2565
 
โดยปกติแล้ว การลงทุนใน Private Equity จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญหากมีการเฟ้นหาและคัดเลือกบริษัทที่จะลงทุนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น โดยสถิติที่ผ่านมา การลงทุนใน Private Equity หากเริ่มต้นลงทุนในปี 2000 มาจนถึงปัจจุบันจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 8 เท่า ขณะที่การลงทุนในตลาดทุนเมื่อเทียบกับดัชนี S&P500 มีผลตอบแทนอยู่ที่ 4 เท่า ขณะที่ความผันผวนของการลงทุนใน Private Equity จะต่ำกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น เช่น ในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิดที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นเป็นอย่างมากนั้น แต่การลงทุนใน Private Equity กลับได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย

ที่มา: Preqin -Private Capital Quarterly Index ณ ไตรมาส 2 ปี 2564, Schroders Capital ณ ปี 2565
 
ที่มา: Bloomberg ณ 17 ก.พ. 2565
 
ด้านคุณพรชนก รัตนรุจิกร ผู้ช่วยผู้อำนวยการการลงทุนทางเลือก บลจ.กรุงศรี อธิบายเพิ่มเติมว่า การลงทุนใน Private Equity ของกองทุนนั้นมีอยู่หลายช่องทาง ได้แก่ ตลาดแรก (Primary Fund Investment) เป็นการที่กองทุนเข้าไปลงทุนใน Private equity fundต่างๆ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโครงการ, ตลาดรอง (Secondary Fund Investment) คือเข้าไปลงทุนในกองทุน Private Equity ต่อจากผู้ลงทุนรายอื่นที่ต้องการขายเงินลงทุนก่อนสิ้นสุดอายุโครงการ และแบบ Co-investment เป็นการเข้าร่วมลงทุนกับกอง Private Equity อื่นๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยเฉพาะ และเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนหลักของ KFGPE-UI นั้นจะเป็นการกระจายการลงทุนในหลายรูปแบบที่กล่าวมานี้ แต่จะให้น้ำหนักในการลงทุนแบบ Co-Investment มากที่สุด โดยผสมผสานการลงทุนในตลาดแรกและตลาดรองเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง

สำหรับกลยุทธ์ในการลงทุน กองทุนจะมีกลยุทธ์หลักแตกต่างกันตามภูมิภาค อย่างตลาดอเมริกาและยุโรปนั้นจะเน้นการลงทุนแบบ Buyout เป็นหลัก คือจะเข้าไปลงทุนในที่มีบริษัทขนาดเล็กที่อาจเป็นธุรกิจครอบครัวที่มีมานานและมีสินค้า/บริการเป็นที่ยอมรับดีอยู่แล้ว และกองทุนจะเข้าไปร่วมพัฒนากิจการให้เติบโตโดยใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจ เพิ่มยอดขายหรือขยายตลาดสู่สากล เป็นต้น ส่วนการลงทุนในภูมิภาคเอเชียซึ่งเป็นภูมิภาคที่กำลังเติบโต เช่น จีน อินเดีย จะใช้ผสมการลงทุนแบบ Growth Capital เป็นการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่งและกำลังอยู่ในช่วงเติบโต ต้องการเงินทุนเพื่อขยายกิจการ กองทุนก็จะเข้าไปลงทุนเพื่อขยายโอกาสการเติบโดจากฐานตลาดผู้บริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนทั้งสองรูปแบบนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนจะเลือกลงทุนในบริษัทขนาดกลางและเล็กเป็นหลักเพื่อสร้างความแตกต่างจากการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนและกองทุน Private Equity อื่นๆ
 
ทั้งนี้ กองทุนยังเน้นการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงโดยกระจายการลงทุนไปในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยภาคธุรกิจที่กองทุนให้ความสนใจได้แก่ ธุรกิจด้านสุขภาพ เทคโนโลยี ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค การให้บริการเชิงธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ พอร์ตของกองทุนในปัจจุบัน มีสัดส่วนการลงทุนแบบ Buyout อยู่ที่ประมาณ 73% และแบบ Growth 25% และอีก 2% ลงทุนแบบ Venture ในธุรกิจขนาดเล็กหรือสตาร์ตอัพที่เพิ่งเริ่มต้น ถ้าแบ่งสัดส่วนการลงทุนตามภูมิภาค กว่า 80% อยู่ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่วนที่เหลืออยู่ในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ จะเน้นการลงทุนแบบ Co-Investment ในบริษัทที่มีศักยภาพและกองทุนสามารถร่วมพัฒนาเพิ่มคุณค่าให้ธุรกิจได้ เช่น เข้าไปร่วมลงทุนในบริษัท Pete & Gerry’s ผู้เชี่ยวชาญการผลิตไข่ไก่ออร์แกนิคในสหรัฐอเมริกา และบริษัท ]init[ ของเยอรมันที่ให้บริการด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เป็นต้น
 
ที่มา: Schroders Capital โดยเป็นข้อมูลพอร์ตการลงทุน ณ 31 ธ.ค. 2564 | สัดส่วนการลงทุนคิดเป็นอัตราส่วนเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงตามราคาตลาด | 1 - ข้อมูลที่แสดงประกอบด้วยสัดส่วนการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมในแต่ละสินทรัพย์ | 2 – การลงทุนในหุ้นจดทะเบียนเป็นผลมาจากการเข้า IPO ของบริษัท
 
ทั้งนี้ Schroders Capital ซึ่งเป็นทีมที่ดูแลด้านการลงทุนใน Private Equity ของ Schroders ได้มีการลงทุนในบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว 178 บริษัทและสามารถขายทำกำไรไปแล้ว 47 บริษัท มี Net IRR จากโครงการอยู่ที่ 25% คิดเป็น 1.8 เท่าและรวมที่ขายกิจการออกไปแล้วอยู่ที่ 31% หรือ 3 เท่าของต้นทุนที่ซื้อกิจการมา
ที่มา Schroders Capital ณ ปี 2565 | ข้อมูลจำนวนการลงทุนเป็นข้อมูล ณ ไตรมาส 3 ปี 2564 | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานสุทธิหลังหักค่าธรรมเนียมต่างๆแล้ว โดยเป็นข้อมูล ณ ไตรมาส 2 ปี 2564 ในรูปสกุลเงินยูโร • Realized IRR และ Multiple อ้างอิงจากทั้งกำไรที่รับรู้แล้วทั้งหมด, กำไรที่รับรู้บางส่วน และ การเสนอขาย IPOs ณ 30 ก.ย. 2564 (มูลค่า IPO ประเมินจากมูลค่า ณ วันสุดท้ายของรอบไตรมาส)

คุณพรชนก กล่าวเพิ่มเติมว่า Private Equity กำลังเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่นักลงทุนให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามากที่สุด โดยเฉพาะในเวลานี้ที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างมาก ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า Private Equity สามารถเติบโตได้ถึง 16% ต่อปี หรือเติบโตขึ้นเป็นสองเท่าในปี 2025
ที่มา: Preqin ณ พ.ย. 2563
 
สำหรับกองทุน KFGPE-UI ที่มี Schroder GAIA II Global Private Equity Fund เป็นกองทุนหลักนี้ จะมีความแตกต่างจากกองทุน Private Equity แบบดั้งเดิมทั่วไปอยู่หลายประการ กล่าวคือ จะไม่มีการกำหนดเงินลงทุนตามข้อตกลง (capital commitment) สามารถลงทุนเพิ่มได้เป็นรายเดือนและสามารถขายคืนได้เป็นรายไตรมาส ขณะที่กองทั่วไปส่วนใหญ่จะมีกำหนดระยะเวลาการลงทุนและไม่สามารถขายคืนได้ก่อนกำหนด นอกจากนี้ กองทุนหลักของ KFGPE-UI ยังไม่มีการเรียกเก็บส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุน (Carried interest) เนื่องจากค่าธรรมเนียมต่างๆ จะถูกรวมในราคา NAV แล้ว โดยผู้ลงทุนสามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนได้ด้วยตนเองเมื่อราคา NAV ถึงระดับที่พึงพอใจ จึงเป็นเงื่อนไขการลงทุนที่ยืดหยุ่นมากกว่ากองทุน Private Equity แบบดั้งเดิม เพิ่มความน่าสนใจในการลงทุนมากยิ่งขึ้น
 

ทั้งนี้ บลจ.กรุงศรีมีกำหนดเปิดเสนอขายกองทุน (IPO) KFGPE-UI ระหว่างวันที่ 1 - 14 มีนาคมนี้ โดยการลงทุนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท และหลัง IPO ผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้เป็นรายเดือน และขายคืนหน่วยลงทุนได้เป็นรายไตรมาส โดยให้เป็นไปตามประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่บริษัทจัดการกำหนด และเมื่อลงทุนทุกๆ 100,000 บาทในกองทุน KFGPE-UI ในช่วง IPO  รับเพิ่ม หน่วยลงทุนกองทุน KFCASH-A มูลค่า 100 บาท (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)

ข้อมูลกองทุน/โปรโมชั่น คลิกที่นี่ 
 

นโยบายการลงทุนและคำเตือน (อย่างย่อ)
  • กองทุนจะนำเงินไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Schroder GAIA II Global Private Equity Fund, Class C Accumulation USD (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดยบริษัท Schroder Investment Management (Europe) S.A. โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่า NAV กองทุน
  • กองทุนหลักอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดย Commission de Surveillance du Secteur Financier (CSSF) ภายใต้กฎหมายของประเทศลักเซมเบิร์กซึ่งมีนโยบายลงทุนในความมีส่วนได้เสียจากความเป็นเจ้าของ (Equity Interests) ของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ทั่วโลก ทั้งนี้ กองทุนหลักจะลงทุนใน private equity ที่มีกลยุทธ์การลงทุนในลักษณะของการให้เงินลงทุนแก่บริษัทที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นกิจการ (Venture Capital) การให้เงินลงทุนเพื่อขยายกิจการในบริษัทที่อยู่ในช่วงเติบโต (Growth Capital) และการร่วมทุนในลักษณะการเข้าซื้อกิจการในบริษัทที่มีความมั่นคงแล้ว (Buyout) นอกจากนี้ กองทุนหลักอาจลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ และอาจมีการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุนไม่เกิน 30% ของมูลค่า NAV กองทุน
  •  ระดับความเสี่ยงกองทุน:  8+ เสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญ | ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 80% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
  • กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  •  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ของข้อมูล
  • ผู้ลงทุนควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ขาย หรือศึกษารายละเอียดจากเอกสารประกอบการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน

พบทุกคำตอบเรื่องเงินที่ Krungsri The Coach คลิกที่นี่ 








สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี  โทร. 02-657-5757
หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว