การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการ

22 ธันวาคม 2560
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (“บริษัทจัดการ”) ใคร่ขอแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการ  ซึ่งได้รับคำรับรองจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. (“สำนักงานฯ”) แล้ว เพื่อให้สอดคล้องและ/หรือเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยมีรายชื่อกองทุนและสาระสำคัญที่แก้ไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

1. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาว SET50 (KFLTF50)
2. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวแอ็คทีฟ SET50 ปันผล (KFLTFA50-D)
3. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวออลสตาร์ปันผล (KFLTFAST-D)
4. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (KFLTFD70)
5. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล (KFLTFDIV)
6. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวอิควิตี้ (KFLTFEQ)
7. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวอิควิตี้ 70 ปันผล (KFLTFEQ70D)
8. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวไทยสมอล-มิดแคปปันผล (KFLTFTSM-D)
9. กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFCASHRMF)
10. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFDIVRMF)
11. กองทุนเปิดกรุงศรีอิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFEQRMF)
12. กองทุนเปิดกรุงศรียุโรปอิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFEURORMF)
13. กองทุนเปิดกรุงศรีเฟล็กซิเบิ้ล 2 เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFFLEX2RMF)
14. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGBRANRMF)
15. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGOLDRMF)
16. กองทุนเปิดกรุงศรีพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGOVRMF)
17. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลเฮลธ์แคร์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFHCARERMF)
18. กองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFJAPANRMF)
19. กองทุนเปิดกรุงศรีพันธบัตรระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFLTGOVRMF)
20. กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ระยะกลางเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFMTFIRMF)
21. กองทุนเปิดกรุงศรี SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFS100RMF)
22. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลสมาร์ทอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFSINCRMF)
23. กองทุนเปิดกรุงศรีทวีทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFTSRMF)

1. การแก้ไขในหัวข้อ “อัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในประเทศและต่างประเทศ” ให้เป็นไปตามประกาศที่ ทน. 38/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2560 และ/หรือ ทน. 46/2560 เรื่อง การลงทุนของกองทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2560

เดิม แก้ไขเป็น
1.1 อัตราส่วนการลงทุนที่คำนวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit)
กองทุนที่แก้ไข: ทุกกองทุน
กองทุนสามารถลงทุนในหน่วย CIS / หน่วย property* / หน่วย infra** กองทุนใดกองทุนหนึ่ง ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนอื่นนั้น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานฯ โดยกองทุนอื่นนั้นต้องเป็นของกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ที่มีขนาดเล็กและเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง กองทุนสามารถลงทุนในหน่วย CIS / หน่วย property* / หน่วย infra** กองทุนใดกองทุนหนึ่ง ได้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของกองทุนอื่นนั้น ทั้งนี้ บริษัทจัดการสามารถขอผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวกับสำนักงานฯ ได้ หากกองทุนอื่นนั้นเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยมีอายุไม่เกิน 2 ปีที่มีขนาดเล็กและเป็นกองทุนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนในวงกว้าง
* มีระบุเฉพาะกองทุน LTF ทุกกองทุน และกองทุน KFS100RMF, KFEQRMF, KFDIVRMF, KFTSRMF, KFFLEX2RMF
** มีระบุเฉพาะกองทุน KFLTFAST-D, KFLTFTSM-D
 
1.2 การดำเนินการในกรณีทรัพย์สินที่ลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนด โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม (passive breach)
กองทุนที่แก้ไข: ทุกกองทุน
ในกรณีทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนเกิด passive breach ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วันทำการ บริษัทจัดการต้องจัดส่งรายงานให้กับสำนักงานฯ และผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายในวันทำการถัดจากวันครบระยะเวลาดังกล่าว
 
ในกรณีทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนเกิด passive breach ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วันทำการ บริษัทจัดการต้องจัดส่งรายงานให้กับสำนักงานฯ และผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว
1.3 การดำเนินการในกรณีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คำนวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit)
กองทุนที่แก้ไข: กองทุน KFGOLDRMF, KFEURORMF, KFHCARERMF, KFJAPANRMF, KFGBRANDRMF, KFSINCRMF
ในกรณีการลงทุนของกองทุนในส่วนที่เป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศมีอัตราส่วนการลงทุนที่คำนวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว แต่ต่อมาการลงทุนไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนนั้นเป็นเวลา 5 วันทำการติดต่อกัน โดยมิได้เกิดจากการลงทุนเพิ่ม บริษัทจัดการจะดำเนินการดังต่อไปนี้
- จัดส่งรายงานให้กับสำนักงานฯ และผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายในวันทำการถัดจากวันครบระยะเวลาดังกล่าว
- แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามที่กำหนดภายในระยะเวลา 90 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว
- ห้ามมิให้บริษัทจัดการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเพิ่มเติมจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามที่หลักเกณฑ์กำหนด
หากปรากฎว่ากองทุนมีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของกองทุนต่างประเทศไม่เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่คำนวณตามความมีส่วนได้เสียในกิจการที่ลงทุน (concentration limit) เป็นเวลา 5 วันทำการติดต่อกัน บริษัทจัดการจะดำเนินการดังต่อไปนี้
เฉพาะกองทุน KFGOLDRMF, KFEURORMF, KFHCARERMF, KFJAPANRMF
- จัดส่งรายงานให้กับสำนักงานฯ และผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว
- ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อขยายวงเงินสำหรับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนที่ได้จดทะเบียนไว้กับสำนักงานฯ แล้ว จนกว่าเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนด
- ในกรณีที่มีการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนฯ ที่มีผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงกับบริษัทจัดการ และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน บริษัทจัดการจะแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบภายใน 30 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว
เดิม แก้ไขเป็น
  เฉพาะกองทุน KFGBRANDRMF, KFSINCRMF
- จัดส่งรายงานให้กับสำนักงานฯ และผู้ดูแลผลประโยชน์ ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว
- แก้ไขให้เป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนตามที่กำหนดภายในระยะเวลา 180 วันนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว
- เมื่อครบระยะเวลา 180 วันดังกล่าว หากบริษัทจัดการยังไม่สามารถแก้ไขได้ ห้ามบริษัทจัดการลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินที่เกินอัตราส่วนการลงทุนจนกว่าจะเป็นไปตามอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนด

2. การแก้ไขในหัวข้อ “เงื่อนไขและข้อจำกัดในการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามประกาศที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 และที่ ทน. 91/2558 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558
เดิม แก้ไขเป็น
กองทุนที่แก้ไข: KFLTFA50-D, KFLTFEQ70D, KFLTFEQ, KFLTFD70, KFLTFDIV, KFLTF50 และ RMF ทุกกองทุน ยกเว้น KFGBRANRMF, KFSINCRMF, KFEURORMF, KFHCARERMF, KFJAPANRMF
- ไม่ได้ระบุ - - กองทุนไม่อนุญาตให้ผู้ถือหน่วยลงทุน โอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นประกันใด ๆ
- กองทุนมีข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดจะถือได้ต้องไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการจะไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนดังกล่าว

3. การแก้ไขในหัวข้อ “การดำเนินการของบริษัทจัดการ เมื่อเลิกกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศที่ สน. 22/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 มีนาคม 2560
เดิม แก้ไขเป็น
กองทุนที่แก้ไข: ทุกกองทุน
บริษัทจัดการจะดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังต่อไปนี้
(1) ยุติการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันทำการที่ปรากฏเหตุต้องเลิกกองทุน
(2) แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และแจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบด้วย ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่วันทำการที่ปรากฏเหตุฯ
(3) จำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนเปิดดังกล่าวภายใน 5 วันทำการนับตั้งแต่วันทำการที่ปรากฏเหตุฯ เพื่อรวบรวมเงินเท่าที่สามารถกระทำได้เพื่อชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ
(4) ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนตามสัดส่วนจำนวนเงินที่รวบรวมได้ตาม (3) ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 10 วันทำการนับตั้งแต่วันทำการที่ปรากฏเหตุฯ  และเมื่อได้ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนแล้ว ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนเปิดนั้น
บริษัทจัดการจะดำเนินการเพื่อเลิกกองทุนรวมดังต่อไปนี้
1. ยุติการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ต้องเลิกกองทุน
2. แจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน รวมทั้งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ดูแลผลประโยชน์และสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ต้องเลิกกองทุน โดยข้อมูลที่แจ้งดังกล่าวจะมีสาระสำคัญอย่างน้อยดังนี้
(1) บริษัทจัดการจะดำเนินการโอนย้ายการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนไป LTF/RMF อื่นที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการที่มีความเสี่ยงต่ำสุด หรือ *มีนโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียงหรือสอดคล้องกับกองทุน (*เฉพาะ LTF)  โดย ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุน
(2) ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์จะโอนย้ายการลงทุนไปยัง LTF/RMF อื่นอีกทอดหนึ่ง ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถแจ้งต่อบริษัทจัดการเพื่อโอนย้ายการลงทุนไปยัง LTF/RMF อื่นที่ผู้ถือหน่วยลงทุนกำหนด และผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังนี้
1) เป็นการโอนย้ายตามคำสั่งของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรกโดยโอนย้ายไปยังLTF/RMF อื่นที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกัน
2) เป็นการโอนย้ายการลงทุนภายในระยะเวลาที่บริษัทจัดการกำหนด
3. จำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของกองทุนเพื่อรวบรวมเงินและดำเนินการโอนย้ายการลงทุน ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ต้องเลิกกองทุน
ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นการเลิกกองทุนรวม

ทั้งนี้ ให้การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2561 เป็นต้นไป

หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ขอความกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลบัญชีของท่านหรือเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทจัดการ  ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-657-5757 กด 2 หรือทาง E-mail ที่ krungsriasset.clientservice@krungsri.com

จึงประกาศมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน
เอกสารประกอบเปิดด้วยโปรแกรม Acrobat Reader หากท่านไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกเพื่อ ดาวน์โหลด โปรแกรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ย้อนกลับ

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน