Flash Update


เศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่ง GDP Q4/66 ขยายตัว 3.4%

29/03/2567


สรุปสถานการณ์
เศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่ง GDP ไตรมาส 4 ขยายตัว 3.4%
ได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนภาคธุรกิจ
  • สหรัฐฯ revised ตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2023 ขยายตัว 3.4% สูงกว่าครั้งก่อนที่ 3.2%   ได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนจากภาคธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้น
  • การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็น 2 ใน 3 ของ GDP เพิ่มขึ้น 3.3% และสูงกว่าครั้งก่อนที่ 3% จากการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพและบริการทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น
  • ตัวเลขการลงทุนที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการปรับเพิ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้าง ทรัพย์สินทางปัญญา และอุปกรณ์ ขณะที่กำไรของบริษัทก็เพิ่มขึ้น 4.1% มากที่สุดนับตั้งแต่กลางปี ​​2022
  • Earning Report ก็สะท้อนว่าบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น จากต้นทุนการผลิตที่ลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ดัชนี S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมา 5 เดือนติดต่อกัน
  • เมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดปรับตัวอยู่ในกรอบแคบๆ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 4.21% ทั้งนี้ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อ PCE ที่ Fed ให้ความสำคัญ ซึ่งจะประกาศช่วงค่ำวันนี้
  • แม้ว่าตัวเลข GDP และตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ รวมถึงตลาดแรงงานจะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง และคณะกรรมการ Fed บางท่านให้ความเห็นว่าควรจะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไป แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็จะเกิดขึ้นในปีนี้  ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อการลงทุนในตราสารหนี้ หุ้นกลุ่ม Infrastructure และ Global Property ที่จะได้รับประโยชน์เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง บลจ.กรุงศรี แนะนำ
    • สำหรับตราสารหนี้ แนะนำให้ลงทุนในกองทุน KF-CSINCOM / KF-SINCOME / KFSINCRMF  ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงค่าเงิน หรือ ช่วงที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า แนะนำกองทุน KFSINCFX-A / KFSINCFX-R ที่ไม่มีค่า Hedging Cost จึงเหมาะสำหรับช่วงที่ค่าเงินผันผวนในกรอบแคบ หรือค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า
    • สำหรับกลุ่ม Infrastructure แนะนำกองทุน KFINFRA  / KFINFRASSFKFINFRARMF 
    • สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนใน Global Property แนะนำกองทุน KFGPROP-A / KFGPROP-D
ที่มา: Bloomberg | อัปเดต ณ 29 มี.ค. 2567

นโยบายการลงทุนและคำเตือน
  • KF-CSINCOM/ KF-SINCOME / KFSINCFX/ KFSINCRMF ลงทุนผ่านกองทุนหลัก PIMCO GIS Income Fund (Class I-ACC) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV | ระดับความเสี่ยง 5 – เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง
  • KFINFRA และ KFINFRASSF/RMF ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Credit Suisse (Lux) Infrastructure Equity Fund, Class IB USD โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี > 80% ของ NAV | ระดับความเสี่ยง 6 – เสี่ยงสูง
  • KFGPROP ลงทุนผ่านกองทุนหลัก Janus Henderson - Global Real Estate Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี > 80% ของ NAV | ระดับความเสี่ยง 7 – เสี่ยงสูง
  • KF-CSINCOM/ KF-SINCOME/ KFINFRA/ KFINFRASSF/ KFINFRARMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
  • KFSINCFX และ KFGPROP* ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ (*โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ/กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก)
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • SSF เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม และ RMF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการลงทุนระยะยาวเพื่อเกษียณอายุ
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทำงภาษีในคู่มือ การลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

อัปเดต: ตลาดปรับลงหลังความเห็น Fed เรื่องดอกเบี้ย

อัปเดต: กิจกรรมการผลิตของสหรัฐฯ เติบโต

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอดูหนังสือชี้ชวน โปรดติดต่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรีจำกัด โทร 0 2657 5757 หรืออีเมล krungsriasset.clientservice@krungsri.com
เอกสารประกอบเปิดด้วยโปรแกรม Acrobat Reader หากท่านไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกเพื่อ ดาวน์โหลด โปรแกรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ย้อนกลับ

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน