Login@ccess
LoginEm@ccess
TH
เกี่ยวกับบลจ.กรุงศรี
ข่าว/ประกาศกองทุน
สรุปภาวะตลาด
วางแผนการลงทุน
ติดต่อเรา
การทำรายการซื้อ-ขาย
เมนูหลัก
ค้นหา
Home
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
กองทุนรวม
หน้าหลักกองทุนรวม
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารตลาดเงิน
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
กองทุนผสม
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
กองทุนกรุงศรี 2TM
กองทุนอสังหาริมทรัพย์
กองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Employee’s choice
ตารางวันคำนวณจำนวนหน่วย
แบบประเมินความเสี่ยง
ติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จุดเด่นของ บลจ.กรุงศรี
มูลค่าหน่วยลงทุน
ผลการดำเนินงานกองทุนรวม
Krungsri @ccess Mobile App
ลงทุนกองทุนกรุงศรี
สะดวกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ราคาหน่วยลงทุนย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
ค้นหา
หน้าหลัก
>
วางแผนการลงทุน
>
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
>
บลจ.กรุงศรี ชี้แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ปี 2562
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
บลจ.กรุงศรี ชี้แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ปี 2562
ตลาดตราสารหนี้ในปี 2561 ที่กำลังจะผ่านไปมีความผันผวนสูง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) เพิ่มสูงขึ้นในปีนี้เนื่องจากเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มฟื้นกลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย อีกทั้ง ธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยกังวลเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย โดยเฉพาะหลังจากที่มีกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเงินหนึ่งท่านลงคะแนนให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่การประชุมในเดือนมีนาคม ด้วยเหตุผลความกังวลเสถียรภาพในตลาดการเงิน และ จากนั้นมีกรรมการที่เห็นควรขึ้นดอกเบี้ยทยอยเพิ่มมาเป็นสามท่านในเดือนพฤศจิกายน จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ผลตอบแทนของการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวได้รับผลกระทบ
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในตราสารหนี้ในปีหน้ามีปัจจัยสำคัญทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ควรติดตาม โดยในภาคต่างประเทศจะมาจากนโยบายการเงินแบบตึงตัวของกลุ่มประเทศขนาดใหญ่และปัญหาสงครามการค้าที่อาจจะยืดเยื้อ จนส่งผลต่อการลงทุนในตลาดกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ทั้งนี้ ด้านนโยบายการเงิน คาดว่าสหรัฐจะยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งในเดือนธันวาคมปีนี้และขึ้นต่อในปี 2562 เนื่องจากเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี อีกทั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการเปลี่ยนกรรมการที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนบางส่วนโดยกรรมการกลุ่มใหม่เป็นผู้ที่สนับสนุนการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ทางด้านกลุ่มสหภาพยุโรปก็คาดว่า จะเริ่มหยุดการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณลงภายในปีหน้า ดังนั้น นโยบายการเงินของกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ยังมีทิศทางที่ตึงตัวขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนโยบายการเงินแบบตึงตัวแล้วเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะเริ่มเห็นผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนชัดเจนขึ้น โดยแม้ว่าประเทศสหรัฐตกลงเลื่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าจากจีนออกไป 90 วันเพื่อเจรจาข้อตกลงการค้า แต่หากไม่สามารถยุติข้อพิพาทได้ คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะชะลอตัวลง ส่งผลให้มีปัญหาเงินทุนไหลออกได้
ด้านปัจจัยในประเทศที่สำคัญคือภาวะเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินของไทย โดยข้อมูลเศรษฐกิจที่ประกาศในช่วงหลังเริ่มแสดงภาพการชะลอตัวลง โดยมีการส่งออกและท่องเที่ยวเป็นตัวฉุด ในขณะที่ตัวเลขการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังเติบโตได้ดี ทำให้หน่วยงานภาครัฐเริ่มปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ในปีนี้และปีหน้าลงเล็กน้อยแต่ยังมีความมั่นใจในการเติบโตของไทย ส่วนนโยบายการเงินก็มีการส่งสัญญานชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่าการใช้ดอกเบี้ยที่ระดับต่ำมากเริ่มหมดความจำเป็นเนื่องจากเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีสามารถรองรับการขึ้นดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อกลับมาเคลื่อนไหวสอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อ ดังนั้นการคงดอกเบี้ยที่ต่ำเกินไปเป็นเวลานานทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของระบบการเงิน และการใช้มาตรการเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) เพียงอย่างเดียวไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทางคณะกรรมการนโยบายการเงินจึงกำลังพิจารณาถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
เมื่อพิจารณาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศดังกล่าว คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยน่าจะเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในอนาคตอันใกล้เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้สูงกว่าศักยภาพ อย่างไรก็ดี วัฎจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้น่าจะปรับแบบช้าๆ และไม่สามารถปรับขึ้นได้มาก เพราะเศรษฐกิจยังเปราะบางและมีความเสี่ยงจากภาคต่างประเทศที่มีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนเริ่มลดต่ำกว่ากรอบเป้าหมายตามราคาน้ำมันดิบ ทำให้คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยมีโอกาสขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ไม่เกินสองครั้งภายในปีหน้า โดยอาจปรับขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ และรอประเมินผลกระทบก่อนจะหาจังหวะปรับขึ้นอีกหนึ่งครั้งภายหลังเพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy space) และรักษาช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐไม่ให้ห่างกันเกินไป อย่างไรก็ดีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายน่าจะส่งผลกระทบกับตลาดตราสารหนี้ไม่รุนแรง เนื่องจากตลาดได้ปรับตัวรองรับการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วระดับหนึ่ง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นน่าจะปรับตัวขึ้นมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ดังนั้นการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ในปีหน้าน่าจะสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงหรือดีกว่าปีนี้ นักลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนระยะยาวไม่ควรวิตกกังวลเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากเกินไป เพราะการลงทุนในตราสารหนี้ช่วงนี้ถือเป็นระดับที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ส่วนนักลงทุนที่ยังรอจังหวะอาจทยอยเริ่มลงทุนได้ภายหลังเห็นความชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในการประชุมเดือนธันวาคมนี้
ย้อนกลับ
วางแผนการลงทุน
เริ่มต้นการลงทุน
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
วางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี
แบบทดสอบระดับความเสี่ยง
คำนวณเงินลงทุนใน SSF
คำนวณเงินลงทุนใน RMF
@ccess Mobile Application
ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
เลือกกองทุนที่คุณสนใจ
-
คุกกี้
เว็บไซต์ของบริษัทมีการจัดเก็บข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงนำเสนอเนื้อหา และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ การกดปุ่ม
“ตกลงทั้งหมด”
จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์เต็มรูปแบบในการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภทได้ตามที่คุณต้องการโดยกดปุ่ม
“ตั้งค่าคุกกี้”
โดยคุณสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศการใช้งานคุกกี้
ของบริษัท
×
คุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยบริษัทหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง