เทคโนโลยีกับโอกาสในการลงทุน


ศิริพร  สินาเจริญ

CFA , กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด

 
ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่านบทความเรื่องหนึ่งพบว่าปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรประมาณ 7,800 ล้านคน โดยประชากรจำนวน 4,380 ล้านคนมีการใช้งานอินเทอร์เน็ต  และมีการใช้โทรศัพท์มือถือประมาณ 5,100 ล้านคน นอกจากนี้ ประชากรทั่วโลกประมาณ 3,250 ล้านคนมีการใช้โซเชียลมีเดียผ่านโทรศัพท์มือถือเนื่องจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้อย่างง่ายดาย  

จากตัวเลขสถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทกับโลกเพิ่มมากขึ้น และกลายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันส่งผลให้พฤติกรรมของทุกคนเปลี่ยนไป ตัวอย่างใกล้ตัวที่เห็นได้ง่ายเช่น ในอดีตการลืมกระเป๋าสตางค์ไว้ที่บ้านจะสร้างความกังวลมากกว่าการลืมมือถือไว้ที่บ้าน แต่ปัจจุบันแม้ว่าจะลืมกระเป๋าสตางค์ไว้ที่บ้านเราก็ยังสามารถใช้ มือถือในการกดเงินจากตู้ ATM หรือสามารถชำระค่าสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ในทางตรงกันข้ามหากเราลืมมือถือไว้ที่บ้านหลายคนอาจเกิดความกังวลหรือมีอาการหงุดหงิด เพราะการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการจะกลายเป็นเรื่องยากไปในทันที 

อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในทุกๆด้าน ระบบอินเตอร์เน็ตและการใช้งานโซเชียลมีเดียช่วยให้การดำเนินชีวิตสะดวกสบายขึ้น ทำให้การเข้าถึงข้อมูลต่างๆเป็นไปอย่างง่ายดายเสมือนย่อโลกทั้งใบให้อยู่ในมือ ส่งผลให้บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งไม่เพียงแต่เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มสูงขึ้นและยังมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นหลายแห่งทั่วโลกอีกด้วย

หากเราย้อนกลับไปดูในยุคปี 2000 จะพบว่าสมัยนั้นหุ้น GE (General Electric) มีมูลค่าทางการตลาดใหญ่ที่สุดโดยมีมูลค่าทางการตลาดประมาณ  4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยหุ้น Microsoft (ไมโครซอฟท์) และหุ้นธนาคารซิติแบงค์ จากนั้นในช่วงปี 2006 – 2011 ซึ่งเป็นยุคที่ราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่อย่างบริษัท Exxon (เอ็กซอนโมบิล บริษัทแม่ของเอสโซ่) มีมูลค่าทางการตลาดที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 4 แสนเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมอย่าง Shell (เชลล์ จาก เนเธอร์แลนด์) และ Total (โททาล จาก ฝรั่งเศส) แต่เมื่อเวลาล่วงเลยไปจนถึงช่วงปี 2016 ราคาน้ำมันกลายเป็นขาลงอีกทั้งกระแสพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น  หุ้นกลุ่มน้ำมันจึงหมดอิทธิฤทธิ์ไปจากตลาด 

จากนั้นได้กลายเป็นยุครุ่งเรืองของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่มีบทบาทและโดดเด่นในตลาดหุ้น นำโดยหุ้นมหาชนอย่าง แอปเปิ้ล อิงค์, กูเกิ้ล (alphabet), ไมโครซอฟท์, แอมะซอน เป็นต้น หุ้นต่างๆเหล่านี้มีมูลค่าทางการตลาดเกิน 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐแทบทั้งสิ้น  และเป็นไปไม่ได้เลยที่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อยจะไม่ซื้อหุ้นกลุ่มนี้ไว้ในพอร์ต เพราะหุ้นต่างๆเหล่านี้ล้วนมีศักยภาพในการเติบโตที่สูงมากสามารถส่งมอบคุณค่าระยะยาวให้กับผู้ถือหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานที่อยู่ในความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ดังเห็นได้จากการที่ทุกคนแทบจะพกมือถือติดตัวตลอดเวลา (Apple, Huawei, Samsung) และยังมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Google, Line เป็นต้น   

เทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสารยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำเราไปสู่ร้านค้าออนไลน์อย่าง Amazon , Alibaba จากนั้นเวลาเราจะทำการจ่ายเงินค่าสินค้าเราจะต้องจ่ายผ่าน VISA, MasterCard, Paypal เป็นต้น หรือแม้กระทั่งเวลาเราจะเดินทางหรือแม้แต่การสั่งอาหารก็มีการใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นอย่าง Grab หรือ Line Man ยามพักผ่อนอยู่กับบ้านก็มักจะไม่พลาดหนังหรือซีรี่ย์เรื่องโปรดจาก NetFlix หรือ AIS playbox  เป็นต้น สิ่งต่างๆที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นถึงการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยี  การดำเนินชีวิตในปัจจุบันมีการพึ่งพาบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายเป็นอย่างมาก  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะเป็นหุ้นที่มีศักยภาพและมีความโดดเด่นในทศวรรษนี้

การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ และเป็นกลุ่มที่สามารถเติบโตได้ดีท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีได้ทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในทุกด้านกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน มีการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายทั่วโลก และมีความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เรายังเห็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นตลอดเวลา  ยิ่งช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มเติบโตได้สูง  หากมองความต้องการทางฝั่งองค์กรธุรกิจจะพบว่าการลงทุนด้าน IT เป็นหนึ่งในต้นทุนที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในหลายองค์กร  ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เทคโนโลยีกลายเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก

การลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของบริษัทขนาดใหญ่และมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ทำให้นักลงทุนทั่วไปมีข้อจำกัดในการเข้าถึงมากกว่านักลงทุนสถาบัน เช่น ราคาของหุ้นไมโครซอฟท์มีราคาซื้อ-ขายในปัจจุบันอยู่ในระดับ 130 เหรียญต่อหุ้น หรือประมาณ 4,160 บาทต่อหุ้น ส่วนหุ้นแอปเปิ้ล อิงค์ ราคา 210 เหรียญต่อหุ้น หรือประมาณ 6,800 บาท กองทุนรวมต่างประเทศที่ลงทุนในหุ้นบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุนทั่วไป เพราะเป็นช่องทางที่ทำให้เข้าถึงการลงทุนในหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่หลากหลายโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเหมือนการลงทุนด้วยตนเอง

ปัจจุบันที่ บลจ.กรุงศรี ได้มีกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก อย่างกองทุนเปิดกรุงศรีเวิล์ดเทคอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์-สะสมมูลค่า (KFHTECH-A)
ลงทุนในกองทุนหลัก BGF World Technology Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV  ความเสี่ยงระดับ 7 : เสี่ยงสูง  โดยกองทุนหลักจะให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีนวัตกรรมที่ดีบนระดับราคาที่น่าสนใจ  และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทใหม่ๆที่มีกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่ลงทุนจะเน้นลงทุนในเทคโนโลยีประเภท Artificial intelligence (AI) , Machine learning และ Big data เป็นต้น    


นักลงทุนสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือ เว็บไซต์ www.krungsriasset.com  หรือ ติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา 

คำเตือน
  • ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน  ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุน KFHTECH-A มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ กองทุน BGF World Technology Fund  โดยกองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่มีธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในหมวดเทคโนโลยี ดังนั้น กองทุนอาจมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ/หรือการเมืองในประเทศซึ่งกองทุนหลักได้ลงทุน
  • กองทุนหลักมีนโยบายการลงทุนเฉพาะเจาะจงในหมวดอุตสาหกรรม จึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม  ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วย
  • กองทุนไทยและ/หรือกองทุนหลักอาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน ทำให้กองทุนไทยและ/หรือกองทุนหลัก อาจมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป 
  • กองทุนไทยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว