Login@ccess
LoginEm@ccess
TH
เกี่ยวกับบลจ.กรุงศรี
ข่าว/ประกาศกองทุน
สรุปภาวะตลาด
วางแผนการลงทุน
ติดต่อเรา
การทำรายการซื้อ-ขาย
เมนูหลัก
ค้นหา
Home
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
กองทุนรวม
หน้าหลักกองทุนรวม
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารตลาดเงิน
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
กองทุนผสม
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
กองทุนกรุงศรี 2TM
กองทุนอสังหาริมทรัพย์
กองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Employee’s choice
ตารางวันคำนวณจำนวนหน่วย
แบบประเมินความเสี่ยง
ติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จุดเด่นของ บลจ.กรุงศรี
มูลค่าหน่วยลงทุน
ผลการดำเนินงานกองทุนรวม
Krungsri @ccess Mobile App
ลงทุนกองทุนกรุงศรี
สะดวกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ราคาหน่วยลงทุนย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
ค้นหา
หน้าหลัก
>
วางแผนการลงทุน
>
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
>
การลงทุนอย่างมีอคติส่งผลกับพอร์ตอย่างไร
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
การลงทุนอย่างมีอคติส่งผลกับพอร์ตอย่างไร
Fund Insight : โดย ศิริพร สินาเจริญ, CFA
กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงศรี จำกัด
หลายครั้งที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยได้มีการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ทำนองว่าลงทุนแล้วติดดอยอยู่นาน เมื่อไรจะมีกำไรจากการลงทุน หรือพอร์ตติดลบควรถือต่อหรือตัดใจขาย คำถามต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงศาสตร์ทางการเงินที่มีชื่อว่า “การเงินเชิงพฤติกรรม” หรือ Bahavioral Finance ที่กล่าวถึงแนวคิดหรือปรัชญาการลงทุนที่มีอคติหรือความเอนเอียงของการตัดสินใจอันเกิดจากอารมณ์ซึ่งมีอยู่หลายประเภท แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะอคติที่พบเจอบ่อยๆ และส่งผลเชิงลบต่อผลตอบแทนของการลงทุนในระยะยาว เช่น
Recency Bias:
อคติประเภทนี้คือ พฤติกรรมการลงทุนที่เกาะกระแสที่กำลังร้อนแรง เช่น คนอื่นบอกว่าช่วงนี้สินทรัพย์ตัวนี้ดีกำลังได้รับความนิยมก็รีบลงทุนตามโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้นอย่างถี่ถ้วน พฤติกรรมประเภทนี้ทำให้ผู้ลงทุนไม่ยอมซื้อหุ้นในเวลาที่ควรซื้อและขายหุ้นในเวลาที่ไม่ควรขาย วิธีการแก้ไขคือ ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลในสินทรัพย์ที่จะลงทุน ใช้วิจารณญานในการรับฟังข่าวสาร และลดการให้ความสำคัญกับการลงทุนตามกระแสที่ตนเองยังไม่มีข้อมูลมากพอ
Overconfidence Bias:
อคติประเภทนี้คือผู้ลงทุนมีความมั่นใจมากเกินไป ก่อให้เกิดความประมาทในการประเมินความเสี่ยงและมีการตั้งความหวังต่ออัตราผลตอบแทนที่สูงเกินไป อาจนำไปสู่การลงทุนแบบ “ทุ่มสุดตัว” เพื่อนำเงินไปลงทุนกับสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไป วิธีแก้อคติประเภทนี้คือ ผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่จะลงทุนอย่างรอบคอบ และประเมินถึงความเป็นไปได้ในอนาคต โดยอาจจะนำข้อมูลเชิงสถิติในอดีตมาร่วมคาดการณ์ด้วย
Blind spot and Hindsight Bias:
คือการคิดเข้าข้างตัวเองเป็นหลัก อาจจะเห็นข้อผิดพลาดของคนอื่นแต่ไม่เห็นข้อผิดพลาดของตนเอง โดยมีความเชื่อว่าแนวทางหรือทฤษฎีการลงทุนของตนเองเป็นวิธีที่ดีแล้ว ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากอคติประเภทนี้คืออาจพลาดโอกาสที่ดีในการลงทุนได้ ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรเรียนรู้จากประสบการณ์และข้อผิดพลาดของผู้อื่นด้วยใจที่เป็นกลาง และหมั่นทบทวนแผนการลงทุนของตนเองเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด
Anchoring Bias:
อคติประเภทนี้ผู้ลงทุนจะมีความเชื่อว่าสิ่งที่กำลังลงทุนอยู่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วและจะดีต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่คำนึงว่าพื้นฐานของสินทรัพย์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ยกตัวอย่าง เช่น ไม่มีใครคิดว่าบริษัท NOKIA ซึ่งเป็นผู้นำแห่งวงการโทรศัพท์มือถือในปีคศ.1990 – 2000 จะกลายมาเป็นบริษัทที่ประสบผลขาดทุนและถูกซื้อกิจการโดยบริษัทอื่น เพียงเพราะบริษัทไม่มีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้ Smart Phone ดังนั้นหากเราเป็นผู้ลงทุนในหุ้น NOKIA และมีพฤติกรรม Anchoring Bias ก็อาจจะทำให้ติดดอยในการลงทุนได้
Home Bias:
คือ อคติอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าสินทรัพย์หรือการลงทุนในประเทศมีความน่าสนใจกว่าการกระจายการลงทุนไปต่างประเทศ อคติประเภทนี้ทำให้ผู้ลงทุนพลาดโอกาสที่ดีในการลงทุน เพราะแต่ละประเทศจะมีวงจรเศรษฐกิจขาขึ้น-ขาลงที่ไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าในขณะที่ประเทศไทยกำลังประสบกับสภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจประเทศอื่นจะชะลอตัวด้วยเสมอไป และในบางครั้งตลาดหลักทรัพย์ไทยอาจจะไม่มีอุตสาหกรรมบางประเภทที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นให้เลือกลงทุน เช่น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หรือหุ้นกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว จากการดำเนินธุรกิจที่มีอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก
ดังนั้น หากจัดการกับอคติในการลงทุนในรูปแบบของพฤติกรรมต่างๆ ได้ จะช่วยให้พอร์ตการลงทุนมีประสิทธิภาพ และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับผู้ลงทุน
ย้อนกลับ
วางแผนการลงทุน
เริ่มต้นการลงทุน
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
วางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี
แบบทดสอบระดับความเสี่ยง
คำนวณเงินลงทุนใน SSF
คำนวณเงินลงทุนใน RMF
@ccess Mobile Application
ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
เลือกกองทุนที่คุณสนใจ
-
คุกกี้
เว็บไซต์ของบริษัทมีการจัดเก็บข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงนำเสนอเนื้อหา และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ การกดปุ่ม
“ตกลงทั้งหมด”
จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์เต็มรูปแบบในการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภทได้ตามที่คุณต้องการโดยกดปุ่ม
“ตั้งค่าคุกกี้”
โดยคุณสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศการใช้งานคุกกี้
ของบริษัท
×
คุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยบริษัทหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง