กองทุนหุ้นต่างประเทศ หลากหลายทางเลือกเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่กว้างขึ้น
3 ข้อชวนคิดก่อนลงทุนต่างประเทศ
1. ไม่มีตลาดหุ้นใดที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดได้ตลอดเวลา
ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเติบโตและปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเอง การกระจายการลงทุนผ่านกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นที่แตกต่างกัน หลากหลายภูมิภาค จึงเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถช่วยลดความผันผวนให้กับพอร์ตได้
ที่มา: FactSet, MSCI, Standard & Poor’s, J.P. Morgan Asset Management ณ 31 ธ.ค. 65
2. หุ้นรายอุตสาหกรรมต่างก็มีการปรับตัวที่ต่างกันไปตามระดับความสัมพันธ์กับวัฎจักรเศรษฐกิจ
ซึ่งส่งผลต่อระดับราคาและผลตอบแทนที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
กลุ่มธุรกิจเชิงรับจะมีการปรับตัวและสามารถทนทานต่อการปรับตัวลดลงได้ดีกว่า ได้แก่ กลุ่มสาธารณูปโภค สุขภาพ และสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน
ที่มา: FactSet, MSCI, Standard & Poor’s, J.P. Morgan Asset Management ณ 31 ธ.ค. 65
3. วินัยในการลงทุนอย่างต่อเนื่องจะช่วยสร้างการเติบโตที่โดดเด่นในระยะยาว
ตลาดหุ้นมีความผันผวนตลอดเวลา มีทั้งช่วงเวลาที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก และช่วงที่ติดลบ หากใช้การจับจังหวะในการลงทุน ไม่มีอะไรการันตีว่าจะสามารถเข้าลงทุนหรือหรือถอนการลงทุนได้ถูกจังหวะ การลงทุนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องมีโอกาสให้ผลตอบแทนระยะยาวที่ดีกว่า
จากภาพของผลตอบแทนดัชนี S&P 500 จากเงินลงทุน 100,000 USD จะเห็นว่าหากถือการลงทุนต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1980
พลังแห่งการทบต้นจะส่งผลให้เงินลงทุนโดยรวมเติบโตได้มากกว่าการพยายามหาจังหวะการซื้อ/ขาย ซึ่งอาจทำให้พลาดการลงทุนในวันที่ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด แลำทำให้เงินลงทุนเติบโตได้น้อยกว่าในระยะยาว
ที่มา: Standard & Poor’s, FactSet, MSCI, J.P. Morgan Asset Management ณ 31 ธ.ค. 65
ทางเลือกการลงทุนกับ 3 กองทุนหุ้นทั่วโลก จากบลจ.กรุงศรี
กับกองทุน KFGBRAND KFGG และ KFGMIL
กลยุทธ์และจุดเด่นของแต่ละกองทุน
ที่มา: บลจ.กรุงศรี ณ 31 มี.ค. 66 และ Fact Sheet กองทุนหลัก ณ 31 ม.ค. 66
ทำไมต้องกองทุนหุ้นทั่วโลกของกรุงศรี?
1. ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของกองทุนหลัก
กองทุนหลักของทั้งสามกองทุนก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในแต่ละช่วงเวลาและภาวะตลาดที่ต่างกัน
ที่มา: Morningstar ณ 28 ก.พ. 66 | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของ AIMC | ผลตอบแทนแสดงในรูปสกุลเงิน USD โดยเป็นผลตอบแทนสะสมรายวัน | ดัชนีอ้างอิงของกองทุน Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund คือ MSCI World NR USD | ดัชนีอ้างอิงของกองทุน Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund คือ MSCI ACWI NR USD | ดัชนีอ้างอิงของกองทุน Goldman Sachs Global Millennials Equity Portfolio คือ MSCI ACWI Growth NR USD
2. ความโดดเด่นที่แตกต่างของแต่ละกองทุน
กองทุน KFGG
- พอร์ตการลงทุนที่เฟ้นหาแนวคิดการลงทุนที่ดีที่สุด: จากการวิเคราะห์พื้นฐานของหลักทรัพย์รายตัว บนมุมมองการลงทุนระยะยาว เน้นการค้นหาบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตอีกหลายเท่าตัวจากขนาดปัจจุบัน
- โอกาสการลงทุนที่ไร้ข้อจำกัด: ลงทุนในเชิงรุกเพื่อเฟ้นหาหลักทรัพย์และสร้างพอร์ตจากหุ้นศักยภาพทั่วโลก ไม่ยึดติดกับภูมิภาค หรือหลักทรัพย์ที่เป็นตัวแทนของดัชนี
- ผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม: กองทุนหลักมีประวัติการสร้างผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่เหนือกว่าดัชนี แม้ว่าจะมีความผันผวนในระยะสั้น
ที่มา: StatPro, MSCI, Baillie Gifford ณ 31 ธ.ค. 65 | ผลตอบแทนสุทธิหลังค่าธรรมเนียมและผลรวมอาจมีการปัดเศษ | ดัชนีชี้วัด คือ MSCI ACWI Index | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของ AIMC *คำนวณโดยใช้เวลา 10am ของกองทุนหลัก *วันที่จัดตั้งกองทุนคือ 10 ส.ค. 59, † คือมีการขายในช่วงเวลา
ข้อมูลกองทุน คลิก: KFGG-A | KFGG-I
กองทุน KFGBRAND
- พอร์ตการลงทุนที่เน้นลงทุนในแบรนด์คุณภาพสูงทั่วโลก ทนทานต่อวัฏจักรเศรษฐกิจพร้อมศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว และความได้เปรียบทางการแข่งขันซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยอำนาจการต่อรองด้านราคา ความสำเร็จและยากที่จะลอกเลียนแบบ
- ลงทุนใน Morgan Stanley Investment Funds - Global Brands Fund กองทุนหลัก 5 ดาว* ที่มีประวัติการจัดตั้งมายาวนานกว่า 22 ปี: บริหารโดยทีมผู้จัดการกองทุนที่มีวินัยและประสบการณ์การลงทุน พร้อมสร้างผลการดำเนินงานที่โดดเด่น
*ที่มา: Morgan Stanley Investment Management ณ 31 ม.ค. 66 โดยการจัดอันดับดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของ AIMC แต่อย่างใด)
ที่มา: Morgan Stanley Investment Management ณ ธ.ค. 65 | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุน Morgan Stanley Investment Funds - Global Brands Fund คลาส I ซึ่งเป็นคลาสที่จัดตั้งมายาวนานที่สุด โดยจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 43 ในขณะที่กองทุน KFGBRAND จะลงทุนในคลาส Z ซึ่งจัดตั้งขึ้นในวันที่ 10 มิ.ย. 51 | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานหลังหักค่าธรรมเนียมการจัดการ และคิดเป็นรูปสกุลเงิน USD | ผลการดำเนินงานที่แสดงเป็นผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน | ผลตอบที่จะไม่ถูกคำนวณเป็นร้อยละต่อปีกรณีที่ช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี | เงินปันผลและรายได้ทั้งหมดถูกนำกลับเข้ามาลงทุนเพื่อคำนวณผลตอบแทน
ข้อมูลกองทุน คลิก: KFGBRAND-A | KFGBRAND-D | KFGBRAND-I
กองทุน KFGMIL
- คว้าโอกาสการลงทุนจากกลุ่ม Millennials ที่นับเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ทรงพลังมากที่สุดในโลก ซึ่งการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุก่อให้เกิดโอกาสเติบโตในระยะยาวสำหรับนักลงทุน ผ่าน Goldman Sachs Global Millennials Equity Portfolio Fund (กองทุนหลัก)
- กองทุนหลักจะเฟ้นหาบริษัทคุณภาพดี ราคาน่าดึงดูด ในธีมที่มีศักยภาพเติบโตจากกลุ่ม Millennials เช่น Connected World, eCommerce, Experiences เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี ผ่านกระบวนการลงทุนที่เข้มงวด ได้แก่ การค้นหาธีมการลงทุน ระบุบริษัทที่มีคุณภาพ ตรวจสอบปัจจัยพื้นฐาน และสร้างพอร์ตการลงทุน
ที่มา: Goldman Sachs Asset Management ณ ม.ค. 66
ที่มา: Goldman Sachs Asset Management ณ ธ.ค. 65 ● กองทุนหลักมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นรายไตรมาส
ข้อมูลกองทุน คลิก: KFGMIL-A | KFGMIL-I
นโยบายกองทุนและคำเตือน
- เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- KFGBRAND ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Morgan Stanley Investment Funds - Global Brands Fund (Class Z) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
- KFGG ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund, Class B USD Acc (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
- KFGMIL ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Goldman Sachs Global Millennials Equity Portfolio, Class I Shares (Acc.) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
- ทุกกองทุนมีระดับความเสี่ยง 6: เสี่ยงสูง
- KFGG และ KFGMIL ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- KFGBRAND ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
พบทุกคำตอบเรื่องเงินที่ Krungsri The Coach คลิกที่นี่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ.กรุงศรี โทร 0-2657-5757
หรือธนาคารกรุงศรี / ตัวแทนสนับสนุนการขายหน่วยลงทุน
ข้อมูลกองทุน KFGG-A คลิก
ข้อมูลกองทุน KFGBRAND-A คลิก
ข้อมูลกองทุน KFGMIL-A คลิก
ย้อนกลับ