กองทุน RMF กองทุนไหนดี [พร้อมเคล็ดลับการเลือกซื้อ]



หากพูดถึงเรื่องการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ เชื่อว่าตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่หลายคนพูดถึงคือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกกันว่า กองทุน RMF ซึ่งนอกจากจะเป็นเครื่องมือการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วยังมาพร้อมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีควบคู่ไปกับโอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนอีกด้วย
 

โดยบทความนี้จะให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ RMF  ที่อาจถูกมองข้ามไป

  • ทำความรู้จักกองทุน RMF เบื้องต้น
  • เงื่อนไขการลงทุนและผลกระทบกรณีผิดเงื่อนไข
  • เคล็ดลับการเลือกซื้อกองทุน RMF
  • ความแตกต่างหลากหลายของกองทุน RMF 
 
กองทุน RMF มีดีมากกว่าที่เห็น แม้หลายคนจะยังไม่สนใจ เพราะคิดว่าต้องลงทุนนาน กว่าจะขายคืนได้ก็ต้องรอจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แถมต้องถือครองอย่างน้อย 5 ปี แต่อย่าลืมว่าการออมเพื่อการเกษียณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ‘เพราะเวลาไม่เคยคอยใคร’ ในระหว่างที่คุณกำลังให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นๆ ในชีวิต เพียงไม่นานก็จะพบว่าชีวิตหลังเกษียณกำลังจะมาถึงอย่างไม่ทันตั้งตัว ที่สำคัญคือคุณภาพชีวิตหลังเกษียณจะเป็นอย่างไรอยู่ที่การเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้นั่นเอง
 

ทำความรู้จักกองทุน RMF เบื้องต้น

การวางแผนเพื่อให้มีเงินออมเพียงพอสำหรับใช้จ่ายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณถือเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะหากหวังพึ่งสวัสดิการของภาครัฐก็คงจะไม่เพียงพอ กองทุน RMF จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมเงินเพื่อการเกษียณ ควบคู่ไปกับการได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี RMF สามารถไถ่ถอนได้ในช่วงใกล้เกษียณ จึงเหมาะสำหรับการออมเพื่ออนาคต เพราะเป็นการลงทุนแบบสะสมในระยะยาวนั่นเอง 

กองทุน RMF ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แผนการลงทุนสำหรับการเกษียณมีความต่อเนื่อง และเพิ่มทางเลือกที่เปิดกว้างมากขึ้น เนื่องจาก RMF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย สามารถเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองสามารถรับได้  
รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดสรรเงินได้ด้วยตนเอง เพราะสามารถสับเปลี่ยนระหว่างกองทุน RMF ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด เช่น การโยกจาก RMF ที่ลงทุนในหุ้นไปยัง RMF ที่ลงทุนตราสารหนี้เพื่อเป้าหมายในการรักษาเงินต้น หรือการโยกจาก RMF ตราสารหนี้ไปยัง RMF หุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว 

เงื่อนไขการลงทุนและผลกระทบกรณีทำผิดเงื่อนไข 

เงื่อนไขการลงทุน
1. ผู้ลงทุนต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้พึงประเมิน หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท (อ้างอิงจำนวนที่ต่ำกว่า) และห้ามเกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น และเมื่อรวมกับเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และประกันชีวิตแบบบำนาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3. ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี  (ปีใดไม่มีการลงทุนจะไม่มีการนับอายุการลงทุน)
 
หากทำผิดเงื่อนไขการลงทุน
กรณีลงทุนน้อยกว่า 5 ปี
  • ต้องคืนภาษีทั้งหมดที่ได้รับการยกเว้นมา
  • Capital Gain หรือกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
กรณีลงทุนมากกว่า 5 ปี
  • ต้องคืนภาษีที่ได้รับยกเว้นย้อนหลัง 5 ปีปฏิทิน
กรณีจ่ายคืนภาษีล่าช้า
  • ต้องมีการจ่ายคืนเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถัดจากปีที่ทำผิดเงื่อนไขการลงทุนนั้นๆ 


เคล็ดลับการเลือกซื้อกองทุน RMF

1. ศึกษารายละเอียดของกองทุน โดยพิจารณาลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายเหมาะสมกับตนเองภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
2. ลงทุนตามสิทธิที่ได้รับ ไม่ลงทุนเกินสิทธิ
3. กระจายการลงทุนใน RMF ที่มีนโยบายการลงทุนต่างกัน หรือลงทุนหลากหลายสินทรัพย์ ทั้งสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น 
4. ปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนไป เช่น วัย การรับความเสี่ยง รายรับ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
5. วางแผนการลงทุนแบบ DCA หรือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน โดยกำหนดการลงทุนเป็นงวดๆ งวดละเท่าๆ กันตามที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เช่น ลงทุนเดือนละครั้งต่อเนื่องไปทุกเดือน การลงทุนแบบ DCA ช่วยลดความเสี่ยงจากการตัดสินใจผิดพลาดในการลงทุนด้วยการจับจังหวะตลาด 
 

เลือก RMF กองทุนไหนดี ท่ามกลางความหลากหลาย

RMF ไม่ได้มีแค่กองทุนเดียว ทำให้เกิดคำถามสำหรับหลายคนว่า ควรเลือกซื้อ RMF กองทุนไหนดี โดยจะขอยกตัวอย่างกองทุน RMF บางส่วนว่ามีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

กองทุน RMF ของกรุงศรี 

  • กองทุน KFAFIXRMF (ความเสี่ยงระดับ 4 : เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ)
กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้น้อยหรือใกล้เกษียณ   ที่ไม่ต้องการลงทุนในหุ้นที่มีเสี่ยงสูง เน้นความมั่นคงมากกว่าโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูง
  • 3 ดี RMF (ความเสี่ยงระดับ 5 : เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง)
3 ดี RMF เป็นกลุ่มกองทุน RMF ผสมแบบยืดหยุ่น ผู้ลงทุนไม่ต้องเสี่ยงสูงกับสินทรัพย์เดียว ไม่ต้องจัดพอร์ตเงินลงทุนเอง ไม่ต้องปรับพอร์ตเมื่อเวลาผ่านไป และ...ไม่ต้องใช้เงินเยอะ
ด้วยนโยบายการลงทุนทั้งในตราสารหนี้ หุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REITs และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ผ่านการคัดสรรของผู้จัดการกองทุน กองทุนในกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเภทสินทรัพย์ที่แตกต่างกันไป  เพื่อให้เหมาะกับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้แตกต่างกัน และมีความโดดเด่นในเรื่องการปรับสัดส่วนการลงทุนอย่างยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ประกอบไปด้วย 3 กองทุน 
1. กองทุน KFHAPPYRMF 
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่อยากเสี่ยงสูงเน้นความมั่นคงมากกว่าผลตอบแทน กองทุนจะเน้นสัดส่วนของตราสารหนี้มากที่สุดคือ 75-100% 
คลิกดูรายละเอียดกองทุน
 
2. กองทุน KFGOODRMF 
เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนสูงขึ้น โดยกองทุนจะมีสัดส่วนของหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REITs และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานได้สูงสุด 50%
คลิกดูรายละเอียดกองทุน
 
3. กองทุน KFSUPERRMF 
เหมาะสำหรับผู้ที่อยากให้เงินลงทุนเติบโตได้เร็วขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เพราะกองทุนสามารถลงทุนในหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ REITs และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานได้สูงสุดถึง 75% เลย 
คลิกดูรายละเอียดกองทุน

กองทุนเปิดกรุงศรี SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพ มีสไตล์การลงทุนแบบ Passive มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่มีความมั่นคงสูง กองทุน KFS100RMF เหมาะกับผู้ที่ต้องการโอกาสรับ ผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับ
ผลตอบแทนดัชนี SET100 
กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนในบริษัทเจ้าของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและมีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลก   เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค เทคโนโลยี ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ  
จะเห็นได้ว่าแม้จะขึ้นชื่อว่า RMF ทว่าแต่ละกองทุนจะมีการลงทุนที่หลากหลาย ระดับความเสี่ยงต่างกัน มีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้เลือก หากคุณสนใจข้อมูลกองทุน RMF อื่นๆ เพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ กองทุน RMF ของ บลจ.กรุงศรี ครบทุกสินทรัพย์ลงทุน 
 

ตัวอย่างการจัดพอร์ตลงทุน RMF

 
เนื่องจาก RMF เป็นการลงทุนระยะยาว เมื่อเวลาผ่านไปผู้ลงทุนควรประเมินผล และพิจารณาปรับพอร์ตการลงทุนของตนเองด้วย เช่น ปีละครั้ง แต่ถ้าอยากลงทุนยาวๆ แบบสบายใจ ไม่ต้องยุ่งยากหรือกังวลว่าจะจัดพอร์ตแบบไหนดี แล้วต้องปรับพอร์ตอย่างไร เมื่อไหร่ควรลงทุนในหุ้นเพิ่ม หรือเมื่อไหร่ควรเพิ่มตราสารหนี้กับหุ้นต่างประเทศ การลงทุนใน RMF ที่เป็นกองทุนผสมแบบยืดหยุ่นที่มีผู้จัดการกองทุนคอยคัดเลือกสินทรัพย์ วิเคราะห์สถานการณ์และปรับพอร์ตให้ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี
ส่วนคำถามว่าจะลงทุนตอนไหนดี  ถ้าดูจากสถิติที่ผ่านมาพบว่ากว่า 94% ของผลตอบแทนในการลงทุนมาจากการจัดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม ในขณะที่การจับจังหวะการลงทุนส่งผลต่อผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเพียงแค่ 2% เท่านั้น ดังนั้น การคอยตามข่าวเศรษฐกิจหาจังหวะหุ้นลง น้ำมันขึ้น ค่าเงินบาทแข็ง หรือดอกเบี้ยลด ก็อาจจะไม่มีผลทำให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้นสักเท่าไหร่ เผลอๆ อาจจับจังหวะผิดก็เป็นได้ ทยอยลงทุนสะสมไปเรื่อยๆ น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ไม่ต้องใช้เงินก้อนแล้วยังได้เฉลี่ยต้นทุนในการซื้อกองทุนด้วย
 
คำเตือน : 
  • ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงื่อไขการลงทุนใน RMF
  • RMF ลงทุนไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. และเบี้ยประกันแบบบำนาญแล้วไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
  • ลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ห้ามหยุดลงทุนติดต่อกันเกิน 1 ปี โดยต้องถือหน่วยลงทุนจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนในกองทุน RMF ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับมาในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีปฎิทิน (นับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฎิบัติผิดเงื่อนไข)  และต้องนำเงินผลประโยชน์                  (Capital Gain) ที่ได้จากการขายคืนไปรวมกับเงินได้ เพื่อชำระภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร 
  • KFAFIXRMF  ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน  ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
  • KFGBRANRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
 
สอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติม ขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่
บลจ.กรุงศรี โทร. 02-657-5757
หรือ  ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขาทั่วประเทศ 
 
RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ | ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน
 

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว