ตามติดเศรษฐกิจโลก พลิกหาโอกาสเด่นแห่งปีกับ บลจ.กรุงศรี


 

สรุปมุมมองถึงแนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจโลก ปัจจัยความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ และตราสารหนี้ จากทีมผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี)  ได้แก่ คุณจาตุรันต์ สอนไว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ คุณฑลิต โชคทิพย์พัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนตราสารทุน และคุณพรทิพา หนึ่งน้ำใจ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนตราสารหนี้ 

  • ในปี 2565 นี้ ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้านที่สามารถส่งผลกระทบการภาวะการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทุกประเภท ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนอาจจะไม่สูงเทียบเท่ากับปีที่ที่ผ่านมา แต่ยังพอมีโอกาสในการลงทุนในสินทรัพย์บางประเภท ทั้งนี้ การลงทุนในตลาดหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศยังให้ผลตอบแทนที่ดีได้ แม้จะมีความผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวและสามารถคาดหวังผลตอบแทนได้ 7 - 10% ถึงสิ้นปี สำหรับกองทุนหุ้นต่างประเทศควรเน้นกลุ่มหุ้น Defensive ที่ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน แต่สามารถใช้เป็นที่พักเงินได้ในระยะกลางถึงยาว

ตลาดหุ้นโลก
โดย คุณจาตุรันต์ สอนไว

  • ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนทั่วโลกในปีนี้ เกิดจากหลายสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่
    • การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการเงินของสหรัฐหลังจากที่วิกฤติโควิด- 19 เริ่มคลี่คลายลง และเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเติบโตอย่างร้อนแรง ทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นถึงระดับ 8.5% ธนาคารกลางสหรัฐจึงมีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมทั้งยังมีมาตรการ Quantitative Tightening (QT) หรือนโยบายการเงินแบบตึงตัว เพื่อลดสภาพคล่องในระบบและควบคุมภาวะเงินเฟ้อทำให้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะหุ้นเติบโต หุ้นเทคโนโลยี รวมทั้งตราสารหนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังส่งผลให้เกิดภาวะ Inverted Yield Curve ที่อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสูงกว่าแบบระยะยาว ซึ่งมีโอกาสจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 12 - 18 เดือนข้างหน้า ประเด็นความกังวลดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นเกิดการปรับฐานอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา
    • การที่ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศมีการปรับลดประมาณการการเติบโตของ GDP ลงเหลือ 3.6% ทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวทั่วโลก
    • วิกฤตการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีโอกาสจะยืดเยื้อยาวนาน จะส่งผลให้เกิดวิกฤติราคาน้ำมันตามมา
คาดว่าปัจจัยความไม่แน่นอนดังกล่าวจะอยู่จนถึงปลายปี 2565 หรือต้นปี 2566 เหล่านี้ล้วนทำให้ภาวะการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทุกประเภทมีความผันผวนมากขึ้นตามไปด้วย
  • อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสสำหรับการลงทุนจากการที่ตลาดรับรู้ประเด็นดังกล่าวไปมากแล้วและการขายทำกำไรในช่วงที่ผ่านมาทำให้มีเงินสดหมุนเวียนรอการลงทุนอยู่ในระบบ เป็นปัจจัยทำให้ตลาดหุ้นอาจกลับมาฟื้นตัวได้ในระยะสั้น นักลงทุนที่ยังสนใจตลาดหุ้นต่างประเทศ ควรมองหาการลงทุนในสินทรัพย์แบบ Defensive หรือที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยธีมที่น่าสนใจคือหุ้นกลุ่ม Healthcare หุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก รวมทั้งหุ้นจีน ที่มีโอกาสฟื้นจากการผ่อนคลายนโยบายในภาคอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มเทคโนโลยี นอกจากนี้ภาครัฐยังให้คำมั่นว่าจะเพิ่มการสนับสนุนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากนี้ ไป

ตลาดหุ้นไทย
โดย คุณฑลิต โชคทิพย์พัฒนา

  • แม้จะได้รับผลกระทบจากการปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว แต่ตลาดหุ้นไทยยังมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวภายในประเทศ โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง ถึงปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึงกว่าหนึ่งแสนล้านบาท ซึ่งเป็นกลับเข้ามาใหม่ หลังจากที่เทขายหุ้นไทยออกไปอย่างต่อเนื่องตลอดห้าปีที่ผ่านมา
  • สาเหตุหลักที่ตลาดหุ้นไทยกลับมามีความน่าสนใจ เนื่องจาก ในปี 2565 รัฐบาลเริ่มมีนโยบายเปิดประเทศหลังจากที่มีการฉีดวัคซีนมากกว่า 70% แล้ว ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มขยายตัวทั้ง QoQ และ YoY ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ มีโอกาสที่เงินลงทุนจากต่างชาติจะไหลเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น บลจ.กรุงศรียังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อดัชนี SET Index ว่ายังมี Upside ที่น่าสนใจ โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยสิ้นปีนี้มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,782 จุด หรือให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 7 - 10% บนระดับ PE ที่ 18 เท่า
 ที่มา: KGI ณ 11 เม.ย. 2565

ตลาดตราสารหนี้
โดย คุณพรทิพา หนึ่งน้ำใจ

  • อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยแม้จะยังไม่ได้ปรับขึ้นในปีนี้เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มที่ไม่ได้ฟื้นตัวดีมากนัก ทำให้เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะคงอยู่ที่ 0.5% ตลอดทั้งปี แต่ตลาดตราสารหนี้ไทยโดยภาพรวมจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการที่ Fed เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาวะตลาดโดยรวมของตราสารหนี้ทั่วโลกยังคงเผชิญแรงเทขาย และเริ่มชี้นำว่ามีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคตอันใกล้ การลงทุนในตราสารหนี้จึงมีความผันผวนได้มากเช่นกัน แต่ก็สามารถใช้เป็นแหล่งพักเงินในระยะเวลาถือครองขั้นต่ำที่เหมาะสมกับนโยบายการลงทุน
 

กองทุนแนะนำ

กองทุนหุ้นไทย

  • KFTSTAR-D ซึ่งจะมีการลงทุนในหลักทรัพย์ประมาณ 40 หลักทรัพย์ และ KFDYNAMIC ที่มีการคัดสรรหลักทรัพย์ที่จะลงทุนประมาณ 25 หลักทรัพย์ โดยทั้งสองกองทุนไม่มีข้อจำกัดในการลงทุน สามารถลงทุนได้ทั้งในหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลาง หุ้นเติบโต และหุ้นปันผล ขึ้นอยู่กับโอกาสในการลงทุน KFDYNAMIC จะมีความผันผวนของผลตอบแทนมากกว่า KFTSTAR-D เนื่องจากเลือกลงทุนในหลักทรัพย์จำนวนน้อยตัวกว่า

กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ

แม้ยังไม่มีปัจจัยบวกในระยะยาว ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันท่วงทีกับภาวะตลาดเพื่อให้สามารถฟื้นตัวในระยะสั้นได้ ทั้งนี้ สภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ทั่วโลกในขณะนี้คือ ภาวะธนาคารกลางสหรัฐกำลังลดสภาพคล่องออกจากระบบอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 2 ปัจจัยนี้จะส่งผลลบต่อสินทรัพย์เสี่ยง แต่หากพิจารณาจากเหตุการณ์ในปี 2018 ที่มีลักษณะคล้ายกันกับภาวะปัจจุบันจะพบว่าหุ้นกลุ่ม Defensive เช่น Healthcare , Utilities และ Infrastructure สามารถสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ  
  • แนะนำกองทุน KFHHCARE กองทุนหลักได้รับ Morningstar 5 ดาว* บริหารโดย JP Morgan ลงทุนในกลุ่ม Healthcare ของสหรัฐอยู่ 80% โดยลงในประเภทยา (Pharmaceutical) MedTech และ Biotech ในช่วง Inverted Yield Curve กองทุนที่เกี่ยวข้องกับ Healthcare สามารถทำกำไรได้มากกว่า S&P500 (ที่มา: JPMorgan Funds - Global Healthcare Fund ณ 28 ก.พ. 2565 โดยการจัดอันดับจาก Morningstar  ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของ AIMC แต่อย่างใด)
  • ขณะที่กองทุนจีนอย่าง KFACHINA-A ซึ่งกองทุนหลักบริหารโดย UBS ก็สามารถฟื้นตัวได้จากการผ่อนคลายของรัฐบาลจีน และเนื่องจากมีการลงทุนใน Healthcare และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก จึงมีความน่าสนใจ
  • KFINFRA เป็นกองที่ลงทุนในธีม Climate Change เป็นหลัก ซึ่งรวมถึงพลังงานทางเลือกต่างๆ ซึ่งการลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดนั้น มีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมามากขึ้นถึงสามเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยปีที่แล้วมีเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 750 พันล้านบาท (ที่มา: Credit Suisse) ปีนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกมาก

กองทุนตราสารหนี้

  • บลจ.กรุงศรีให้เน้นหนักที่กองทุน KFSMART ซึ่งถึงแม้จะมีความผันผวนบ้าง แต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะถัดไป เนื่องจากได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเหมาะกับการลงทุนในระยะไม่น้อยกว่าสามเดือน ส่วนกองทุน KFAFIX เป็นกองตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว เหมาะกับผู้ที่มีเงินเย็นสามารถลงทุนระยะยาวอย่างน้อยหนึ่งปีขึ้นไป ไม่เหมาะจะเพิ่มการลงทุนในช่วงนี้ แต่สามารถถือต่อไปได้ ส่วน KFSPLUS เป็นกองทุนที่มีความผันผวนน้อย สามารถมีไว้เพื่อรักษาเงินต้นและรักษาสภาพคล่อง แต่จะไม่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ผันผวนขาขึ้นในช่วงระยะสั้นนี้

กองทุน บลจ.กรุงศรี คลิก: กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ | กองทุนหุ้นไทย | กองทุนตราสารหนี้  

พบทุกคำตอบเรื่องเงินที่ Krungsri The Coach คลิกที่นี่ 







สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี  โทร. 02-657-5757
หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • KFSPLUS เน้นลงทุนในประเทศในตราสารหนี้ภาครัฐ สถาบันการเงิน บริษัทเอกชนหรือเงินฝากธนาคาร รวมทั้งในตราสารหนี้ต่างประเทศบางส่วน | ระดับความเสี่ยง 4 – เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
  • KFSMART และ KFAFIX-A เน้นลงทุนในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ในตราสารหนี้ และ/หรือ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากและอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ | ระดับความเสี่ยง 4 – เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน     
  • KFHHCARE-A และ KFHHCARE-D ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ JPMorgan Funds - Global Healthcare Fund, Class C (acc) – USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV | ระดับความเสี่ยง 7 – เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
  • KFACHINA-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ UBS (Lux) Investment SICAV - China A Opportunity (USD) (Class P - acc) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV | ระดับความเสี่ยง 6 – เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ≥ 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • KFINFRA-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Credit Suisse (Lux) Infrastructure Equity Fund, Class IB USD (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV | ระดับความเสี่ยง 6 – เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว