จะดีแค่ไหนถ้าได้เป็นเจ้าของแบรนด์ดังระดับโลก


ทีน่า สุภัททกิต  เจตทวีกิจ , CFA (@ Made in Tena)


 
  • ในยุคที่ชีวิตติดความสะดวกมากขึ้นจากเทคโนโลยี แต่สิ่งที่ยังต้องมีและเทคโนโลยีก็ทดแทนไม่ได้ คือ สินค้าอุปโภค บริโภค
  • รู้หรือไม่ ยิ่งโลกหมุนเร็วเท่าไหร่ ผลิตภัณฑ์และบริการที่เราใช้อยู่ทุกวันเป็นกิจวัตรประจำวัน ยิ่งถูกโอนย้ายไปอยู่ในบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ไม่กี่บริษัท 
  • Reckitt Benckiser บริษัทเจ้าของสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่กลับมาสร้างการเติบโตในระดับ 2 หลักได้อีกครั้ง 
  • Microsoft จะสามารถปลดปล่อยศักยภาพขององค์กรทั่วโลกในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Digital Transformation ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 
  • จะดีขนาดไหน ถ้านอกเหนือจากการเป็นผู้บริโภคของแบรนด์ชั้นนำเหล่านี้แล้ว เราสามารถกลับฝั่งไปเป็นหนึ่งในเจ้าของผ่านการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทชั้นนำเหล่านี้ได้ด้วย 
 

ทุกคนรู้สึกเหมือนทีน่าไหมคะว่า ชีวิตประจำวันในยุคนี้ สะดวกสบายขึ้นเยอะเลยนะคะ เพราะเราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามายกระดับการใช้ชีวิตของพวกเราในหลายมิติจริงๆ แต่ถึงแม้จะช่วยเราได้เยอะขนาดไหนก็ตาม แต่สิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในชีวิตเราทุกวัน โดยที่เทคโนโลยียังไม่สามารถมาทดแทนได้ทั้งหมด ก็คือ การอุปโภคบริโภคของมนุษย์อย่างเราๆเนี่ยแหละค่ะ   
 

 ถึงแม้จะมี Smart Phone ที่ทันสมัยขนาดไหนก็ตาม แต่เราก็คงยังต้องกิน ต้องอาบน้ำ ต้องดูแลผิวพรรณ ด้วยตัวเราเองอยู่ดี ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในตลาดไหนของโลกใบนี้ สินค้าอุปโภคบริโภคเหล่านี้ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ทุกคนเห็นตรงกับทีน่าไหมคะ?  

ในยุคที่คนเข้าถึงข้อมูลต่างๆบนโลกได้ง่ายขึ้น รู้เยอะขึ้น และต้องการความสะดวก ต้องการของที่มีคุณภาพมากขึ้น แม้แต่สินค้าธรรมดาๆในชีวิตประจำวันเหล่านี้ คนส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้สินค้าที่คุ้นชินและเชื่อมั่นในแบรนด์ 

ลองจินตนาการดูเล่นๆสิคะ ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมาไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนในโลกนี้ และไม่ว่าเราจะอยู่ในช่วงอายุไหน เราก็ต้องตื่นมา อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน  ออกมาทานอาหาร ไปทำงาน เดินทาง ผลิตภัณฑ์รอบๆตัวที่เราต้องใช้ หรือ เคยมีโอกาสใช้ ก็ไม่พ้นแบรนด์จากบริษัทระดับโลกตามภาพด้านล่างนี้ใช่ไหมคะ 
 

อีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจคือ Reckitt Benckiser Group ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติสัญชาติอังกฤษ ปัจจุบันเป็น 1 ใน 40 บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นเจ้าของแบรนด์อย่าง Dove Dettol Strepsils และอื่นๆอีกมากมายที่พวกเรารู้จักกันดี จริงๆแล้ว บริษัทนี้เก่าแก่มากนะคะ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1823 แล้วก็ผ่านการควบรวมกิจการมาหลายครั้ง  

 
ซึ่งการควบรวมที่น่าสนใจที่ผ่านมาของ Reckitt Benckiser คือ ปี 2010 ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท SSL International ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตถุงยางอนามัยยี่ห้อ DUREX แต่ด้วยทิศทางและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หลังจากควบรวมกิจการมา ยอดขายถุงยางอนามัยเริ่มลดลง เพราะโลกเริ่มประสบกับภาวะอัตราการเกิดน้อยลง เลยทำให้ทางการของหลายๆประเทศ สนันสนุนให้ประชากรโลกมีลูกเพิ่มมากขึ้น และคนก็จะให้ความสำคัญกับการดูแลลูกมากยิ่งขึ้นด้วย Reckitt Benckiser เล็งเห็นโอกาสการเติบโตในอุตสาหกรรมนี้ โดยในปี 2017 ได้ตัดสินใจเข้าซื้อ Mead Johnson Nutrition บริษัทผลิตนมผง และอาหารเสริมเด็ก ด้วยมูลค่ากว่า 16,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยตั้งใจนำสินค้าและผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เข้ามาทำตลาดในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ที่เพิ่งจะมีผ่อนปรนนโยบายการคุมจำนวนประชากร อย่างตอนที่ ทีน่าไปใช้ชีวิตอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ก็สังเกตอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะว่า เด็กเล็กๆ เพิ่มขึ้นเยอะมาก และคุณพ่อคุณแม่ชาวจีนก็พร้อมที่จะทุ่มสรรพกำลัง รวมทั้งจับจ่ายในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวกับเด็กมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และผลของการปรับกลยุทธ์เชิงผลิตภัณฑ์และเข้าสู่ตลาดใหม่ ในปี 2017 และ 2018 ยอดขายของ Reckitt Benckiser ก็กลับมาเติบโตในระดับตัวเลข 2 หลักอีกครั้ง โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรายได้จากประเทศจีนที่ค่อยๆเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
 
การเติบโตของรายได้ Reckitt Benckiser แยกตามภูมิภาค

และแน่นอนว่าเทรนด์เรื่องการให้ความสำคัญกับลูกในกลุ่มประเทศเอเชีย โดยเฉพาะจีนนั้น น่าจะยังเพิ่งเริ่มต้น รวมไปทั้งตลาดจีนก็ยังใหญ่มาก การก้าวเข้ามาตลาดจีนหลังจากนี้ถือว่าเป็นการเดินหมากที่น่าจับตาสำหรับการเติบโตในอนาคตของ Reckitt Benckiser ทีเดียว 

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าในช่วงเวลาไหนของชีวิต เราก็หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องจ่ายเงินใช้สินค้าและบริการของบริษัทชั้นนำเหล่านี้ ทั้งโดยที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว เพราะเทรนด์ใหญ่ๆของโลกที่จะเกิดถี่ขึ้นหลังจากนี้ คือ การที่บริษัทเหล่านี้ขยายอาณาจักรตัวเองผ่านการเข้าซื้อกิจการ หรือซื้อแบรนด์ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีความแข็งแกร่งระดับหนึ่งแล้วเข้ามาอยู่ในธุรกิจเพิ่มเติม รวมทั้งขยายช่องทางการจัดจำหน่ายไปในตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเดิม อย่างที่ Reckitt Benckiser และ Unilever ทำตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา จึงไม่ค่อยน่าแปลกใจว่าทำไมเราถึงเห็นบริษัทที่มีความใหญ่มากๆ ในระดับนี้ ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

 

นอกจากการใช้ชีวิตประจำวันที่เราต้องเกี่ยวข้องกับแบรนด์ระดับโลกเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาแล้ว การทำงานของพวกเราทุกคนในยุคนี้ นับวันๆ ก็ยิ่งจะแยกไม่ออกจากการใช้บริการและผลิตภัณฑ์ของบริษัทข้ามชาติที่ก็ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน 

อย่างหนึ่งใน บริษัท Software ที่ต้องบอกว่าคนใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์ของเขาอยู่ในเครื่อง ก็คือ บริษัท Microsoft ที่เป็นทั้งเจ้าของระบบปฏิบัติการ Windows ที่ ณ ปัจจุบัน ครองส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมทุก Version อยู่ประมาณ 87.49% ของตลาดทั่วโลก 


รวมทั้งยังเป็นเจ้าของ Microsoft Office ซึ่งในปัจจุบันครองส่วนแบ่งการตลาดของ Segment Software as a Service(SaaS) อยู่มากกว่า 17% ของตลาดรวมทั่วโลก ณ ไตรมาส 2 ปี 2018 (Figure 6) นอกจากผลิตภัณฑ์หลักๆ 2 ตัวนี้ ที่เป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว Microsoft ยังเป็นเจ้าของ LinkedIn Social Network Platform ที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะสำหรับบรรดานายจ้างและพนักงานที่จะไปโพสต์ประวัติการทำงานของตัวเองไว้ในนั้น เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับโอกาสการทำงานใหม่ๆที่อาจเข้ามา 
 
 
และอีกหนึ่งธุรกิจใหม่มาแรงของ Microsoft คือ กลุ่มธุรกิจคลาวด์ Intelligent Cloud ที่มีชื่อเรียกว่า Azure ซึ่ง ณ วันนี้รายได้จากส่วนนี้ ถือเป็นสัดส่วนเม็ดเงินมากกว่า 21% จากรายได้ทั้งหมดของ Microsoft โดยปัจจุบัน Microsoft Azure มีส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรม Cloud อยู่ที่ 15.5% เป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจาก Amazon Web Service (AWS) ที่มีส่วนแบ่งการตลาดค่อนข้างทิ้งห่างที่ 47.8%

ถือว่าภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี Microsoft ปรับตัวได้ดีมาก โดยดูจากการปรับทัพธุรกิจ ทั้งตัวของ Software ที่ทุกวันนี้จะสามารถเป็นอีกหนึ่ง Cash cow ของบริษัทเพราะเน้นขายเป็นการเช่าใช้โปรแกรมแบบราคาประหยัดแต่ต้องจ่ายทุกปี ซึ่งมองในมุมผู้บริโภค ก็ถือว่ารับได้ เพราะแทนที่จะต้องจ่ายเงินก้อนแพงๆครั้งเดียว หรือ ไปดาวน์โหลดโปรแกรมเถื่อนมาใช้ ก็ยอมจ่ายในราคาเพียงแค่ 3 บาทต่อวัน (ถ้าใช้ตามแพคเกจ Office 365 Home) ก็ถือว่าคุ้มค่ากว่ามาก
 
โดยกลยุทธ์ของ Microsoft ก็พิสูจน์ตัวเองผ่านตัวเลขผลการดำเนินงานล่าสุดที่น่าประทับใจทีเดียว โดยรายได้ของ Microsoft ในช่วงปีงบประมาณการเงิน 2019 (กรกฎาคม-มิถุนายน) อยู่ที่ 125,843 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 3.77 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นรายได้จากผลิตภัณฑ์ 53% และรายได้จากกลุ่มบริการอีก 47%  มีกำไรสุทธิ 8,400 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 252,000 ล้านบาท
 
ถามว่าด้วยขนาดที่ใหญ่มากของ Microsoft ทุกวันนี้ จะทำให้เติบโตต่อได้อีกไหม ผู้บริหารของ Microsoft ก็ตอบด้วยความมั่นใจว่า Microsoft จะสามารถปลดปล่อยศักยภาพขององค์กรทั่วโลกในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Digital Transformation ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยความพร้อมและความครบของ Ecosystem - infrastructure, platform, และ software-as-a-service ในเครือของ Microsoft โดยเฉพาะการขยายไปยังการให้บริการในอุตสาหกรรมที่ยังมีไม่มีผู้เล่นที่ชนะขาดอย่าง อุตสาหกรรมค้าปลีก อุตสาหกรรมการรักษาพยาบาล อุตสาหกรรมการผลิต และ อุตสาหกรรมการเงิน ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่มากสำหรับ Microsoft หลังจากนี้
 
โลกเราทุกวันนี้ ยิ่งบริษัทใหญ่ ยิ่งมีความได้เปรียบ เพราะมีอาวุธครบมือ ทั้งเงินทุน บุคคลากร และ องค์ความรู้ รวมไปถึงการบุกตลาด หรือ ทดลองอะไรใหม่ๆ ยิ่งมีแบรนด์ที่แข็งแรงด้วยแล้วนั้น ยิ่งเป็นการพิสูจน์ว่าตลาดที่มีอยู่ในมือ ถ้ายังพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ ก็ยากที่จะมีคู่แข่งใหม่ๆ เข้ามาโค่นล้ม 
 

การมีลูกค้าในมือกระจายอยู่ทั่วโลกยังทำให้มีโอกาสสร้างยอดขายโดยรวมที่ดีได้ต่อเนื่อง เพราะแม้ยอดขายในบางกลุ่มประเทศอาจชะลอตัว ด้วยโครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป เศรษฐกิจหดตัวหรืออะไรก็ตาม ระหว่างนั้นอาจมีบางประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต ประชากรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้ยอดขายเติบโตขึ้นทดแทนตลาดที่ยอดขายลดได้ แบบนี้บริษัทก็จะยังรักษาระดับการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

 
ดังนั้น ในยุคที่ความเสี่ยงของโลกมากยิ่งขึ้น ทีน่าว่าในฐานะนักลงทุนเราควรต้องมองหาการลงทุนในกิจการที่มีความปลอดภัยแต่ยังเติบโต เพราะถ้าไม่เติบโต ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับเราได้ในระยะยาว ในยุคที่ดอกเบี้ยกลับมาต่ำอีกครั้งแบบนี้ ก็ไม่น่าลงทุนอยู่ดี 
 
จะดีแค่ไหน ถ้าในวันนี้เรามีช่องทางในการร่วมเป็นเจ้าของกับบริษัทชั้นนำผ่านการลงทุนในกองทุนรวม โดยเฉพาะช่วงนี้ที่หลายคนกำลังเลือก RMF เพื่อจะลงทุนลดหย่อนภาษีคู่ไปกับการเตรียมเงินเพื่อเกษียณในอนาคต ถ้าได้ RMF ที่เน้นลงทุนในบริษัทแบรนด์ยักษ์ใหญ่ของโลก ยิ่งจะทำให้มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี เติบโตไม่หวือหวาในระยะยาวด้วย อย่างกองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGBRANRMF)ของ บลจ. กรุงศรี ที่ลงทุนในกองทุนหลักอย่าง Global Brands Fund ของ Morgan Stanley Investment Management (ACD) LTD.  กองทุนนี้มีนโยบายการเลือกลงทุนที่มุ่งเน้นการเติบโตและความแข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ โดยทีมผู้จัดการกองทุนมืออาชีพคอยคัดสรรและจับจังหวะการลงทุนให้ ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก็เป็นอีกหนึ่งการพิสูจน์ฝีมือของทีมผู้จัดการกองทุนนี้ที่เลือกใส่น้ำหนักการลงทุนในหุ้น Microsoft และ Reckitt Benckiser เป็นอันดับหนึ่งในพอร์ต
 


ในช่วงเวลาที่ทั้งหุ้น Reckitt Benckiser กลับมาเติบโตและหุ้น Microsoft กลับมาโดดเด่นอีกครั้ง ทำให้ NAV ภาพรวมของกองทุน เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกเหนือจากตัวเทพอย่างที่กล่าวไปแล้ว กองทุนนี้ก็ยังมีหุ้นในพอร์ตที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ที่ยังมีการเติบโตดีเยอะแยะมากมาย อย่าง VISA Heineken SAP หรือบริษัทให้คำปรึกษาระดับโลกอย่าง Accenture เป็นต้น ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากร่วมเป็นเจ้าของบริษัทระดับโลกแบบนี้แล้วล่ะก็ อย่ารอช้าค่ะลองไปศึกษาและเลือกพิจารณากองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ(KFGBRANRMF)ของ บลจ. กรุงศรี กันนะคะ 

ดูข้อมูลกองทุน KFGBRANRMF


ที่มา: 
 
คำเตือน : 
  • ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนใน RMF ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ลงทุน RMF ไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกบข. และเบี้ยประกันแบบบำนาญแล้วไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
  • ลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ห้ามหยุดลงทุนติดต่อกันเกิน 1 ปี โดยต้องถือหน่วยลงทุนจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุนในกองทุน RMF ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับมาในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีปฎิทิน (นับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฎิบัติผิดเงื่อนไข)  และต้องนำเงินผลประโยชน์ ( Capital Gain) ที่ได้จากการขายคืนไปรวมกับเงินได้ เพื่อชำระภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
  • กองทุน KFGBRANRMF ลงทุนใน Morgan Stanley Investment Funds - Global Brands Fund ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV | ความเสี่ยงระดับ 6 : เสี่ยงสูง
  • กองทุน KFGBRANRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราเลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน  หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • กองทุน KFGBRANRMF อาจมีการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย
  
ขอข้อมูลหนังสือชี้ชวนได้ที่สำนักงานของบริษัทจัดการ กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือเว็บไซต์ www.krungsriasset.com  หรือ ติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
 
RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ | ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน
 

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว