Login@ccess
LoginEm@ccess
TH
เกี่ยวกับบลจ.กรุงศรี
ข่าว/ประกาศกองทุน
สรุปภาวะตลาด
วางแผนการลงทุน
ติดต่อเรา
การทำรายการซื้อ-ขาย
เมนูหลัก
ค้นหา
Home
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
กองทุนรวม
หน้าหลักกองทุนรวม
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารตลาดเงิน
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
กองทุนผสม
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
กองทุนกรุงศรี 2TM
กองทุนอสังหาริมทรัพย์
กองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Employee’s choice
ตารางวันคำนวณจำนวนหน่วย
แบบประเมินความเสี่ยง
ติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จุดเด่นของ บลจ.กรุงศรี
มูลค่าหน่วยลงทุน
ผลการดำเนินงานกองทุนรวม
Krungsri @ccess Mobile App
ลงทุนกองทุนกรุงศรี
สะดวกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ราคาหน่วยลงทุนย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
ค้นหา
หน้าหลัก
>
วางแผนการลงทุน
>
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
>
เศรษฐกิจโลกน่าห่วงแค่ไหน
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
เศรษฐกิจโลกน่าห่วงแค่ไหน
ดร. ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน บลจ. กรุงศรี จำกัด
ในช่วงนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลักส่วนใหญ่ออกมาไม่ค่อยดีนัก ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะวิกฤตอีกครั้ง โดยนักวิเคราะห์บางส่วนชี้ไปที่การเกิดภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น หรือ “inverted yield curve” ว่าเป็นสัญญาณว่าอาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในอีก 1 – 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาเมื่อเกิด inverted yield curve ก็มักจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตามมา เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจะส่งผลให้ธนาคารกลางต้องปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นักลงทุนจึงเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลง ในขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนมองในมุมของวัฏจักรเศรษฐกิจที่มักจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทุกๆ 10 ปี
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางท่านอธิบายเหตุผลของการเกิด inverted yield curve ในช่วงที่ผ่านมาว่า เกิดจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศเศรษฐกิจหลักหลายประเทศอยู่ในระดับต่ำนานเกินไป เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นและเยอรมนีอายุ 10 ปีอยู่ที่ใกล้ 0% ส่งผลให้นักลงทุนหรือกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรของประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลดลง
ในความเป็นจริงแล้ว มีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นทุกปี แต่หลายๆวิกฤตอาจไม่ได้กระทบมาถึงไทย เช่น วิกฤตการเงินของตุรกีในปี 2544 วิกฤตการเงินของรัสเซียในปี 2551 และปี 2557 วิกฤตเศรษฐกิจของบราซิลในปี 2557 เป็นต้น และหากดูสาเหตุของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินครั้งสำคัญ ก็มักจะเกิดจากปัญหาหนี้สิน ปัญหาฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์หรือสินค้าบางประเภท รวมถึงการล้มละลายของบริษัทที่มีขนาดใหญ่มากพอที่จะกระทบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
ในส่วนของภาวะหนี้สินของประเทศเศรษฐกิจหลัก ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2561 บ่งชี้ว่า หนี้สินของประเทศเศรษฐกิจหลักอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยหนี้ภาครัฐของสหรัฐอยู่ที่ 99% ของจีดีพี และหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ที่ 77% ของจีดีพี หนี้ภาครัฐของยูโรโซนอยู่ที่ 87% ของจีดีพี และหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ที่ 58% ของจีดีพี หนี้ภาครัฐของจีนอยู่ที่ 48% ของจีดีพี หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ที่ 49% ของจีดีพี แต่มีหนี้ของภาคธุรกิจอยู่สูงถึง 164% ของจีดีพี ซึ่งเป็นจุดที่นักวิเคราะห์มักจะแสดงความกังวลว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในจีน แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลจีนได้ทำการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในภาพรวมของปัญหาหนี้สินของประเทศเศรษฐกิจหลัก จึงยังไม่น่าเป็นสาเหตุที่จะส่งผลให้เกิดวิกฤตการเงินได้ สำหรับในส่วนของภาคธนาคาร ก็ถูกคุมเข้มมากขึ้นในหลายๆประเทศ และมีการทดสอบสมมุติฐานภายใต้ภาวะวิกฤต (stress test) อย่างต่อเนื่อง จึงน่าจะพออุ่นใจได้บ้างว่าภาคธนาคารของหลายๆประเทศมีความแข็งแกร่งเพียงพอ
ในแง่ของการเกิดภาวะฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์หรือสินค้า ก็ยังไม่มีสัญญาณว่าจะเกิดขึ้น โดยราคาบ้านในประเทศเศรษฐกิจหลักยังคงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ สวนทางกับการอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา
จากข้อมูลต่างๆเหล่านี้น่าจะช่วยให้พออุ่นใจได้บ้างว่า เศรษฐกิจโลกยังไม่มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะวิกฤต แต่การที่ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลักหลายตัวออกมาอ่อนแอ เช่น การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเพียง 20,000 ตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ ยอดส่งออกของจีนที่ร่วงลงกว่า 20% ในเดือนกุมภาพันธ์ ตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนที่อ่อนแออย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโลกเติบโตในอัตราที่ชะลอลง โดยสาเหตุหลักของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมาจากสงครามการค้าซึ่งส่งผลให้การค้าในตลาดโลกชะลอตัวลง และส่งผลกระทบต่อความเขื่อมั่นของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
แต่อย่างไรก็ดี สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปข้างหน้า นอกจากนี้ เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของสหรัฐในทุกๆปีมักจะเป็นไตรมาสที่อ่อนแอที่สุด เนื่องจากมักจะได้รับผลกระทบจากพายุหิมะ กอปรกับในปีนี้มีปัจจัยลบจากการปิดทำการชั่วคราวของหน่วยงานภาครัฐที่ยาวนานที่สุด จึงอาจส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจผิดเพี้ยนไปจากพื้นฐานที่แท้จริง ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ มักจะได้รับผลกระทบจากวันหยุดยาวช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งทำให้ภาพรวมผิดเพี้ยนไปเช่นกัน
โดยสรุปแล้ว เศรษฐกิจโลกยังไม่มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะวิกฤตในเร็วๆนี้ แต่การเติบโตอาจชะลอลง ทั้งนี้ นักลงทุนควรติดตามข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น เข่น การที่อังกฤษขอออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป สงครามการค้าที่สหรัฐอาจพุ่งเป้าไปที่ประเทศอื่นหลังจากจบการเจรจากับจีน เป็นต้น
ย้อนกลับ
วางแผนการลงทุน
เริ่มต้นการลงทุน
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
วางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี
แบบทดสอบระดับความเสี่ยง
คำนวณเงินลงทุนใน SSF
คำนวณเงินลงทุนใน RMF
คำนวณเงินลงทุนใน Thai ESG
@ccess Mobile Application
ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
เลือกกองทุนที่คุณสนใจ
-
คุกกี้
เว็บไซต์ของบริษัทมีการจัดเก็บข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงนำเสนอเนื้อหา และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ การกดปุ่ม
“ตกลงทั้งหมด”
จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์เต็มรูปแบบในการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภทได้ตามที่คุณต้องการโดยกดปุ่ม
“ตั้งค่าคุกกี้”
โดยคุณสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศการใช้งานคุกกี้
ของบริษัท
×
คุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยบริษัทหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง