Login@ccess
LoginEm@ccess
TH
เกี่ยวกับบลจ.กรุงศรี
ข่าว/ประกาศกองทุน
สรุปภาวะตลาด
วางแผนการลงทุน
ติดต่อเรา
การทำรายการซื้อ-ขาย
เมนูหลัก
ค้นหา
Home
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
กองทุนรวม
หน้าหลักกองทุนรวม
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารตลาดเงิน
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
กองทุนผสม
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
กองทุนกรุงศรี 2TM
กองทุนอสังหาริมทรัพย์
กองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Employee’s choice
ตารางวันคำนวณจำนวนหน่วย
แบบประเมินความเสี่ยง
ติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จุดเด่นของ บลจ.กรุงศรี
มูลค่าหน่วยลงทุน
ผลการดำเนินงานกองทุนรวม
Krungsri @ccess Mobile App
ลงทุนกองทุนกรุงศรี
สะดวกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ราคาหน่วยลงทุนย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
ค้นหา
หน้าหลัก
>
วางแผนการลงทุน
>
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
>
มาตรการ LTV ใหม่ ส่งผลเสียต่อการกู้ซื้อบ้านจริงหรือ
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
มาตรการ LTV ใหม่ ส่งผลเสียต่อการกู้ซื้อบ้านจริงหรือ
คุณศิริพร สินาเจริญ, CFA
กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงศรี บลจ. กรุงศรี จำกัด
การคุมเข้มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการกำหนดเพดานในการปล่อยสินเชื่อตามมูลค่าหลักประกันเป็นหนึ่งในมาตรการภาครัฐที่ประชาชนให้ความสนใจโดยเฉพาะผู้ที่กำลังวางแผนซื้ออสังหาริมทรัพย์ และเมื่อกล่าวถึงเรื่องนี้มักจะมีการพูดถึงศัพท์ 2 คำ คือ LTV และ Macroprudential ซึ่งในบทความนี้จะเล่าให้ฟังว่าศัพท์สองคำนี้คืออะไร และหลักเกณฑ์ที่ปรับใหม่นี้มีผลต่อผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นขอเล่าถึงที่มาของการปรับหลักเกณฑ์นี้กันก่อน เนื่องจากปัจจุบันตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีการแข่งขันที่สูงมาก ตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยมีกลุ่มลูกค้าหลายกลุ่ม และมีการซื้ออสังหาริมทรัพย์ด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลายทั้งการซื้อเพื่ออยู่อาศัย การซื้อเพื่อให้เช่า การซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น รวมถึงการซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยจริงๆ จึงนำมาซึ่งความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันด้านการตลาดของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทวีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน อีกทั้งมาตรฐานการพิจารณาอนุมัติ สินเชื่อมีแนวโน้มลดต่ำลงเนื่องจากสถาบันการเงินมีการแข่งขันกันสูงขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตระหนักและกังวลถึงความรุนแรงในการแข่งขันดังกล่าว จึงได้มีการพิจารณาและออกนโยบายพิเศษเพื่อดูแลป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบการเงินที่อาจจะเกิดปัญหาและสร้างความเสียหายในวงกว้าง รวมถึงอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม หรือเรียกว่า Macroprudential ทั้งนี้ กรอบนโยบาย Macroprudential สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยดังกล่าวจะเป็นการควบคุมระดับมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ใน 3 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย
ประเด็นที่ 1
มูลค่าสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันอสังหาริมทรัพย์ หรือที่เรียกกันว่า LTV (Loan-to-Value)
อธิบายง่ายๆคือ กรณีที่ต้องการซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท โดยการขอสินเชื่อจากธนาคารและธนาคารพิจารณาอนุมัติให้กู้ที่ 900,000 บาท นั้นก็เท่ากับว่า ค่า LTV คือ 90% และที่เหลือ 100,000 บาท ผู้กู้จะต้องนำเงินของตนเองมาวางเป็นเงินดาวน์ ทั้งนี้ จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าสถาบันการเงินมีการให้ LTV ที่สูงเกินกว่า 100% ซึ่งหมายถึงการที่ธนาคารอนุมัติมูลค่าสินเชื่อในอัตราที่สูงกว่ามูลค่าบ้านที่กำลังจะซื้อ และมีการขยายตัวมากขึ้นในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั้งประเภทบ้านแนวราบและประเภทคอนโดมิเนียม ทำให้ผู้กู้ไม่จำเป็นต้องเตรียมเงินดาวน์ไว้ก่อน การพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยโดยมีค่า LTV สูงนั้นเป็นปัจจัยสนับสนุนสภาพคล่องแก่ผู้กู้ และเอื้อต่อการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังเห็นได้จากผลลัพธ์ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบของราคาที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแซงหน้าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ผู้กู้นั่นเอง
ประเด็นที่ 2 สถาบันการเงินมีการอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ที่มีมูลค่าสินเชื่อเมื่อเทียบรายได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้นมาโดยตลอดหรือที่เรียกกันว่า LTI (Loan to Income) กล่าวคือ ถึงแม้ว่าธนาคารจะขยายระยะเวลาของสินเชื่อออกไป 30-35 ปี แต่ไม่ได้ทำให้ภาระการผ่อนชำระหนี้(ต่อเดือน)ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับรายได้หรือเงินเดือนของผู้กู้ (Mortgage Debt Service Ratio หรือ M-DSR) ซึ่งหากการกระทำดังกล่าวยังยืดเยื้อต่อไปอาจจะทำให้คุณภาพของสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มปรับตัวแย่ลง ก่อให้เกิดความเปราะบางของภาคครัวเรือน ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นถึงตัวเลขหนี้สินภาคครัวเรือนต่อ GDP ที่ยังคงสูงถึง 78-80% มาอย่างต่อเนื่องในอดีต ในขณะที่การปรับลดลงของหนี้สินปรับลดลงอย่างช้าๆ เนื่องจากระยะสัญญาของเงินกู้ที่ยาวนานถึง 35 ปี
ประเด็นที่ 3 ธนาคารพาณิชย์มีส่วนสนับสนุนการอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยให้แก่กลุ่มผู้ซื้อ
ที่มีวัตถุประสงค์ซื้อเพื่อปล่อยเช่าหรือการซื้อเพื่อเก็งกำไร ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวทำให้ราคาที่อยู่อาศัยเกิดการปรับตัวสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการกู้ของผู้ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัยจริง และอาจจะส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในราคามูลค่าของหลักประกัน เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นสูงอาจจะตกต่ำอย่างรุนแรงหากเกิดความไม่แน่นอนจากปัจจัยเศรษฐกิจอื่น
จากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งให้ความสำคัญต่อความมีเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ได้ออกมาตรการเชิงป้องกันเพื่อยุติความรุนแรงในตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยการบังคับให้สถาบันการเงินกำหนดระดับ LTV ไม่ให้สูงจนเกินไปเหมือนในอดีต ดังนั้นผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท อาจจะวางเงินดาวน์ 0-10% ของราคาบ้าน แต่หากจะซื้อหลังที่ 2 ในขณะที่กำลังผ่อนชำระบ้านหลังที่ 1 อยู่ด้วยจะต้องดาวน์ขั้นต่ำที่ 20% (สำหรับกรณีที่ผ่อนบ้านหลังแรกยังไม่เกิน 3 ปี) หรือวางเงินดาวน์ที่ 10% (กรณีที่ผ่อนบ้านหลังแรกเกิน 3 ปี) สำหรับผู้กู้ที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 3 ในขณะที่กำลังผ่อนบ้านหลังที่1 และหลังที่ 2 อยู่ด้วย ธนาคารได้กำหนดให้ผู้กู้ต้องวางเงินดาวน์ 30% ขึ้นไปทุกกรณี และที่สำคัญที่สุดคือในกรณีที่ผู้กู้ต้องการซื้อบ้านหลังละ 10 ล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังแรกหรือหลังที่ 2 จะต้องวางเงินดาวน์ขั้นต่ำที่ 20%
กระแสตอบรับของสังคมที่มีต่อมาตรการดังกล่าวมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ในส่วนของนักลงทุนที่ซื้อเพื่อการเก็งกำไรจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ยากกว่าในอดีตเพราะต้องมีการเตรียมเงินดาวน์มากขึ้น อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวก็มีข้อดี เช่น ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านเพื่อการอยู่อาศัยจริงสามารถซื้อบ้านในราคาที่เหมาะสมมากขึ้นเนื่องจากความต้องการซื้อจากนักลงทุนเพื่อการเก็งกำไรจะลดน้อยลง แต่จะต้องมีการวางแผนและเตรียมตัวที่ดี โดยทบทวนแผนการเงินของตนเอง พิจารณารายได้และความสามารถในการผ่อน สร้างวินัยในการออมเงินพร้อมนำเงินออมไปลงทุนให้งอกเลย ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายไม่สร้างหนี้เพิ่มและเคลียร์หนี้สินที่คั่งค้าง เพียงเท่านี้การขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหลังปรับเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป
ข้อมูลล่าสุดจากสภาพัฒน์ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 62 พบว่าไตรมาสสี่ปี 2561 หนี้สินครัวเรือนเท่ากับ 12.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 78.6 เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน และเมื่อเทียบกับต่างประเทศพบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในอันดับที่ 10 จาก 89 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 3 จาก 29 ประเทศในเอเชีย สำหรับไตรมาสแรกของปี 2562 หนี้สินครัวเรือนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเร่งก่อหนี้ก่อนการบังคับใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) เมื่อวันที่ 1 เม.ย.62 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยดังกล่าวจะส่งผลให้หนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัว เนื่องจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นสัดส่วนประมาณ 49.9% ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล นอกจากนี้มาตราการดังกล่าวยังช่วยลดความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจในภาพรวมได้อีกด้วย
ย้อนกลับ
วางแผนการลงทุน
เริ่มต้นการลงทุน
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
วางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี
แบบทดสอบระดับความเสี่ยง
คำนวณเงินลงทุนใน SSF
คำนวณเงินลงทุนใน RMF
คำนวณเงินลงทุนใน Thai ESG
@ccess Mobile Application
ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
เลือกกองทุนที่คุณสนใจ
-
คุกกี้
เว็บไซต์ของบริษัทมีการจัดเก็บข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงนำเสนอเนื้อหา และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ การกดปุ่ม
“ตกลงทั้งหมด”
จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์เต็มรูปแบบในการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภทได้ตามที่คุณต้องการโดยกดปุ่ม
“ตั้งค่าคุกกี้”
โดยคุณสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศการใช้งานคุกกี้
ของบริษัท
×
คุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยบริษัทหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง