Flash Update


สรุปมุมมอง Global & Asia Fund Manager Survey ประจำเดือนเมษายน 2567

19/04/2567


สรุปมุมมอง Global Fund Manager Survey 


มุมมองเศรษฐกิจมหภาค และนโยบายการเงิน:
  • Global Fund Manager มีความคาดหวังต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563    ระดับการถือเงินสดลดลงจาก 4.4% เหลือ 4.2%
  • Global Fund Manager ยังคงมีมุมมองว่าเศรษฐกิจโลกแข็งแกร่ง โดย 36% คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเกิด No Landing เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมที่ 7% ขณะที่ความน่าจะเป็นที่จะเกิด Soft Landing ลดลงมาอยู่ที่ 54% จาก 62% ในเดือนมีนาคม
  • ความคาดหวังต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้พุ่งขึ้นเป็น 24% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 12% ในเดือนมีนาคมและ 5% ในเดือนมกราคม ขณะที่ความคาดหวังว่ามีโอกาสเกิด Stagflation หรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อสูงอยู่ที่ 60% แต่ก็ลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อเดือนกันยายน 2565 และมีเพียง 6% เท่านั้นที่คาดว่าจะเกิด Goldilocks หรือภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ร้อนแรงจนเกินไปจนมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ แต่ก็ไม่ชะลอตัวเบาเกินไปจนมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย
  • 46% คาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ ขณะที่ 27% คาดว่าจะเกิดขึ้น 3 ครั้ง และ 13% คาดว่าจะเกิดขึ้น 1 ครั้ง และมี 8% คาดว่าจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเลยในปีนี้
มุมมองด้านความเสี่ยง:
  • 41% กังวลถึงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมที่ 32%
  • 24% กังวลถึงความตึงเครียดด้านความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมที่ 21%
  • 12% กังวลถึงภาวะเศรษฐกิจ Hard Landing และการเลือกตั้งในสหรัฐฯ แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าขณะที่ความกังวลเรื่องความสามารถในการชําระหนี้ของทั้งระบบยังคงลดลงต่อเนื่อง
มุมมองการเก็งกำไรมากที่สุด 3 อันดับแรก (Most crowded trade):
  • Long หุ้น Magnificent Seven 52% แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 58%, short หุ้นจีน 16% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 14% และ long หุ้นญี่ปุ่น 14% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 13%
มุมมอง Asset Allocation:
  • เดือนเมษายนมีการ rotate หุ้นออกจากตราสารหนี้ เงินสด กลุ่ม Staples และ Emerging Market ไปยังกลุ่ม Materials Commodities พลังงาน และอุตสาหกรรม
  • เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย 20 ปี ในเดือนเมษายน มีการ overweight ตราสารหนี้ กลุ่ม Materials ญี่ปุ่น กลุ่ม Industrials และ underweight เงินสด REITs Emerging Market และกลุ่ม Staples

สรุปมุมมอง Asia Fund Manager Survey
มุมมองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังคงดูแข็งแกร่งเหมือนเดือนมีนาคม แต่เศรษฐกิจในภูมิภาค Asia Pacific ex-Japan ดูซบเซาลงจากเดือนก่อนหน้า
  • 83% คาดว่าตลาดหุ้น Asia Pacific ex-Japan จะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ได้แรงหนุนจากการเติบโตของกำไรของบริษัท โดย 38% คาดว่าจะมี upside ราว 5%-10% แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 46%
  • 13% คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในภูมิภาค Asia Pacific ex-Japan จะสูงขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า
  • บรรยากาศการลงทุนของตลาดหุ้น Asia Pacific ex-Japan ยังคงคล้ายกับเดือนก่อนหน้า โดยญี่ปุ่นถูก overweight มากที่สุดและเพิ่มขึ้นจาก 46% เป็น 55% ตามด้วยไต้หวัน 25% เพิ่มขึ้นจาก 13% ในเดือนก่อนหน้า และอินเดียลดลงเหลือ 23% จาก 31% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่จีนยังคงถูก underweight มากที่สุด แต่ถูก underweight ลดลงจาก 18% เหลือ 13% และลดลง 2 เดือนติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีการ underweight ไทยและเกาหลีใต้ ประเทศละ 10%
  • สำหรับ Sector ในตลาดหุ้น Asia Pacific ex-Japan กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์และฮาร์ดแวร์ยังคงถูก overweight มากที่สุด 60% และ 43% ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก็ยังคงถูก underweight มากที่สุด 28% ตามด้วยกลุ่ม Healthcare/Pharma 25%
  • ยังคงมีมุมมองที่ดีต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในเกาหลีและไต้หวัน 85% คาดว่ากลุ่มเซมิคอนดักเตอร์จะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 59%
  • สำหรับญี่ปุ่น ยังคงมีมุมมองเชิงบวกเป็นอย่างมาก โดยมากกว่า 70% คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า และ 86% คาดว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดย 40% คาดว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะมี upside 5%-10% เพิ่มขึ้นจาก 18% ในเดือนก่อนหน้า
  • สำหรับการประกาศสิ้นสุดภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่น มีเพียง 20% ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนมิถุนายน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่คาดไว้ถึง 59%
  • ในส่วนของจีน บรรยากาศโดยรวมดูดีขึ้น 28% คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะแข็งแกร่งขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ 38% ยังคงรอสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีนก่อนจะเพิ่มการลงทุน
ที่มา: BofA Global Research 16 เม.ย. 2567 | อัปเดต ณ 18 เม.ย. 2567

ข้อมูลกองทุนกรุงศรีที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ คลิก

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอดูหนังสือชี้ชวน โปรดติดต่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรีจำกัด โทร 0 2657 5757 หรืออีเมล krungsriasset.clientservice@krungsri.com
เอกสารประกอบเปิดด้วยโปรแกรม Acrobat Reader หากท่านไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกเพื่อ ดาวน์โหลด โปรแกรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ย้อนกลับ

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน