KFCMEGA-A Update: หลบภัยความผันผวนของตลาดโลกสู่ตลาดหุ้นจีน



มุมมองการลงทุน

ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนและมองถึงโอกาสในการเข้าซื้อ เนื่องจากภาพรวมตลาดหุ้นจีนดูดีขึ้น การออกนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลาง สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ Covid 19 ที่ขึ้น และระดับ Valuation ที่ไม่แพง
  • บริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเมกะเทรนด์ในจีน เช่น การเติบโตของภาคการบริโภค (ecommerce และ delivery platform) เทคโนโลยี การใช้จ่ายด้านสุขภาพ พลังงานสะอาด และรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านจุดต่ำสุดของการจัดระเบียบอุตสาหกรรมของรัฐบาลไปแล้ว
  • นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางจีน(PBOC) สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ Covid-19 ที่ปรับตัวดีขึ้น และ Valuation ที่อยู่ในระดับไม่แพง เป็นปัจจัยหนุนการลงทุนในหุ้นเมกะเทรนด์ของจีน ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากตลาดที่มีขนาดใหญ่ การสนับสนุนจากนโยบายของภาครัฐ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และกำลังซื้อที่เร่งตัวขึ้น
  • ตลาดหุ้นจีนเริ่มมีการฟื้นตัวแรงในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาหลังจากจานวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในเซี่ยงไฮ้ปรับตัวลดลง และการที่ภาครัฐออกมาแสดงท่าทีผ่อนปรนมากขึ้นในเรื่องการจัดระเบียบภาคธุรกิจ โดยรัฐบาลจีนยังคงให้การสนับสนุนภาคธุรกิจเหมือนดิม เนื่องจากภาคธุรกิจมีบทบาทสาคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
  • ความเสี่ยงเรื่องการถอดหุ้นจีน ADRs (หุ้นบริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ) ออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะกดดันหุ้นเมกะเทรนด์ของจีนน้อยลง เนื่องจากพัฒนาการด้านความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐจีนและก.ล.ต.สหรัฐฯ รวมไปถึงการที่หุ้นจีน ADRs ดำเนินการหาตลาดรองสำหรับ Dual Listing เช่น ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้น เป็นต้น

ผลการดำเนินงานกองทุน
  • กองทุน KFCMEGA ปรับตัวลดลง 10.5% จากสิ้นปีก่อนหน้า (ณ วันที่ 27 มิ.ย. 2565) โดยกองทุนปรับตัวลดลงไปทำระดับต่ำสุดของปี 2565 ในวันที่ 9 พ.ค. 65 โดยปรับตัวลดลง 34.6% จากสิ้นปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี จากภาพการลงทุนในตลาดหุ้นจีนที่ดูดีขึ้น ส่งผลให้กองทุนมีการฟื้นตัวแรงในเดือน พ.ค. - มิ.ย. โดยปรับตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดราว 36.9% (5 พ.ค. - 27 มิ.ย. 2565) 
  • ในช่วงของการฟื้นตัว กองทุน  KraneShares MSCI China Clean Technology Index ETF (KGRN) และกองทุน Global X MSCI China Consumer Discretionary ETF (CHIQ) ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น ตามมาด้วย Invesco China Technology ETF (CQQQ) และ KraneShares MSCI All China Healthcare Index ETF (KURE)

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานการ
  • ท่าทีของรัฐบาลจีน เป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักมากที่สุดต่อการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มเมกะเทรนด์ของจีนในรอบนี้ โดยรัฐบาลจีนมีแนวโน้มใช้นโยบายที่เป็นมิตรกับภาคธุรกิจมากขึ้นในปีนี้ ล่าสุด ปธน.สี จิ้น ผิง ออกมาให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจีนจะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับรองนายกฯ หลิว เหอ ออกมากล่าวก่อนหน้านี้ว่า ทางการจีนจะสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจดิจิตัลและภาคธุรกิจ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยสัญญาณที่ชัดเจนในช่วงที่ผ่านมาคือทางการจีนได้กลับมาอนุมัติเกมอีกครั้งในเดือนเม.ย. และ มิ.ย. ที่ผ่านมา หลังจากระงับการออกใบอนุญาตมานานกว่า 9 เดือน และ Didi Global มีแนวโน้มได้รับการยกเลิกแบน Application Didi ใน App store และสามารถกลับมารับสมัครสมาชิกใหม่ได้อีกครั้ง  
  • นโยบายของธนาคารกลางจีน มีทิศทางผ่อนคลายในปีนี้เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจ โดย PBOC ปรับลดดอกเบี้เงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท  5 ปี ลงถึง 2 ครั้ง สู่ระดับ 4.45% และ LPR ประเภท 1 ปี ลงจำนวน 1 ครั้ง สู่ระดับ 3.7% ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมปรับตัวลดลงโดยเฉพาะต้นทุนของภาคธุรกิจและอสังหาฯ นอกจากนี้ PBOC ได้ปรับลด RRR สำหรับทุกธนาคารลง 0.25% ในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในกับระบการเงิน นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของจีนส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นจีน ซึ่งสวนทางกับนโยบายการเงินที่เข้มงวดในสหรัฐฯ
  • สถานการณ์ Covid-19 ในจีนปรับตัวดีดีขึ้น โดยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในจีนปรับตัวลงเหลือ 22 รายในวันที่ 27 มิ.ย. 65 จากระดับสูงกว่า 25,000 รายในเดือนเม.ย. โดยในเมืองเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งไม่พบผู้ติดเชื้อใหม่ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน ก.พ. 65 ส่งผลให้จีนปรับลดระยะเวลากักตัวนักท่องเที่ยวเข้าประเทศเหลือ 7 วัน จาก 14 วัน ความคืบหน้าดังกล่าวสะท้อนถึงความสำเร็จของจีนในการจัดการกับการแพร่ระบาดของ Covid-19 หลังจากจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ต้องอยู่ภายใต้ภาวะล็อกดาวน์ยาวนานกว่า 2 เดือน อย่างไรก็ดี ทางการจีน ยังคงดำเนินนโยบาย Zero Covid-19 เพื่อป้องกันระบบสาธารณสุขในประเทศล้มเหลว ส่งผลให้การแพร่ระบาดรอบใหม่จะนำมาสู่มาตรการล็อกดาวน์และการปูพรมตรวจผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาระเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
  • Valuation ของตลาดหุ้นจีน เทรดอยู่ในระดับไม่แพงและเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีนในรอบนี้ โดย Valuation ของดัชนี MSCI China ปรับตัวขึ้นจากระดับต่ำกว่า -1 S.D. เข้าใกล้ค่าเฉลี่ย 5 ปีมากขึ้น ขณะที่คาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ถูกปรับลดมาตลอดมีแนวโน้มได้รับการปรับขึ้น หลังจากรัฐบาลคลายมาตรการล็อกดาวน์
  • การถอดหุ้นจีนออกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ (Delisting) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดัน Sentiment การลงทุนในหุ้นกลุ่มเมกะเทรนด์ของจีน เรามองว่าความเสี่ยงเรื่อง Delisting เป็นความเสี่ยงรายบริษัทไม่ได้กระทบหุ้นจีน ADRs ทั้งหมด อย่างไรก็ดี หุ้นจีน ADRs มีความจำเป็นต้องมองหาตลาดหลักใหม่หรือตลาดรองสำหรับ Dual Listing และนักลงทุนที่ยังถือครองหุ้นจีน ADRs มีแนวโน้มขอเปลี่ยนเป็นหุ้นในตลาดอื่นของจีนแทน ซึ่งมีการดำเนินการเปลี่ยนหุ้นที่ไม่ซับซ้อน สำหรับทิศทางการทำ IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯของบริษัทจีน มีแนวโน้มปรับตัวลดลง

พอร์ตปัจจุบันของกองทุน (ณ วันที่ 3 มิ.ย. 2565)
ที่มา: บลจ.กรุงศรี ณ วันที่ 3 มิ.ย. 65 ผลรวมของน้ำหนักการลงทุนอาจไม่เท่ากับ 100% เนื่องจากไม่รวมสัดส่วนของเงินสด ทรัพย์สินหรือหนี้สินอื่นๆ
 

ดูข้อมูลกองทุน KFCMEGA-A คลิกที่นี่

 
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • KFCMEGA-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศ ที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในประเทศจีน และ/หรือมีธุรกิจหลักหรือมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการประกอบธุรกิจในประเทศจีน โดยเป็นหลักทรัพย์ของบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเมกะเทรนด์ (Mega Trends) เช่น การเติบโตของ E-Commerce ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สังคมผู้สูงอายุ หรือการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนอย่างน้อย 2 กองทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกิน 79% ของ NAV กองทุน ทั้งนี้ สัดส่วนการลงทุนในหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาวะการลงทุนหรือการคาดการณ์สภาวะการลงทุนในแต่ละขณะ
  • กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • เอกสารฉบับนี้เป็นการแปลเป็นภาษาไทยโดย บลจ.กรุงศรี ซึ่งเป็นการแปลจากต้นฉบับของกองทุนหลัก ณ  พ.ค. 65 ในเนื้อหาเพียงบางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ กองทุนหลักและบริษัทฯ ไม่รับรองความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหาทั้งหมด
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว