กองทุนหุ้นจีนกับเส้นทางที่ท้าทาย ควรถือหรือถอย คอยหรือลุย?


เศรษฐกิจจีนกับการเติบโตในยุคเศรษฐกิจใหม่

หลังจากการล็อกดาวน์ Covid-19 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจประเทศจีนเริ่มฟื้นตัวสู่ระดับปกติ สะท้อนถึงความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และมีแนวโน้มเติบโตสวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวในปีหน้า

ที่มา: CEIC, Wind, G7, China Ports Association, UBS estimates, UBS Asset Management ข้อมูลถึงวันที่ 20 ส.ค. 65

ประกอบกับ ศักยภาพการเติบโตจากการลงทุนในจีนนั้นยังถือว่ามีอีกมาก จากแรงหนุนของปัจจัยด้านต่างๆ ดังนี้
  • ปัจจัยเชิงภูมิศาสตร์ที่จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และมีส่วนแบ่งของ GDP และ Market Share อันดันสองรองจากสหรัฐ (ที่มา: KraneShares ณ ก.ย. 65) โดยคาดการณ์ว่าในปี 2023 GDP ของจีนจะมีการเติบโตอยู่ที่ 4.5% และการบริโภคในประเทศจะสูงถึง 6.1% (ที่มา : Goldman Sachs Global Investment Research ณ 17 พ.ย. 65)
  • ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตในระยะยาว จากการที่จีนกำลังเข้าสู่การบริโภคที่เพิ่มขึ้น การเป็นสังคมเมือง ความก้าวหน้าทางนวัตกรรม และการเป็นสังคมผู้สูงอายุ (ที่มา: UBS Asset Management)
  • การที่จีนเป็นหนึ่งในตลาดที่มีบริษัทเข้า IPO มากที่สุด สะท้อนถึงพัฒนาการของตลาดและโอกาสการลงทุนที่ขยายกว้างมากขึ้น (ที่มา: WFE, Bloomberg, Goldman Sachs Research, UBS Asset Management โดยเป็นข้อมูลล่าสุด ณ ก.ค. 65)
  • นโยบายต่างๆ มีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่องมากขึ้นจากการที่นายสี จิ้นผิง  ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สมัยที่ 3  ส่งผลดีต่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การลดอัตราการกันสำรองขั้นต่ำของภาคธนาคารที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. ส่งผลให้มีสภาพคล่องระยะยาวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจราว 5 แสนล้านหยวน (7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)  และมาตรช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์  การลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อตอบสนองต่อยอดขายบ้านที่ชะลอตัว เป็นต้น
  • แม้จีนจะยังคงมาตรการ Zero Covid แต่ทางการจีนเริ่มส่งสัญญาณผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และเตรียมความพร้อมไปสู่การเปิดเมือง โดยเห็นได้จากมาตรการต่างๆที่เกิดขึ้น  เช่น การเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน การลดจำนวนวันกักตัวของนักท่องเที่ยว การยกเลิกบทลงโทษสายการบินที่นำผู้ติดเชื้อเข้าประเทศ การอนุญาตให้มีการใช้วัคซีนไบโอเอ็นเทคสำหรับคนต่างชาติในประเทศจีน  รวมถึงการจัดงานปักกิ่งมาราธอนหลังจากที่ไม่ได้จัดมา 2 ปี  ทั้งนี้ ตลาดคาดการณ์ว่าการเปิดเมืองอาจจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ของปีหน้าหลังการประชุมสภาในเดือนมีนาคม 2023
  • ระดับราคาที่น่าดึงดูด หุ้นจีนยังคงมีระดับราคาที่ต่ำกว่าหลายตลาด และยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีในระยะยาว  และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางนโยบายที่ยังคงผ่อนคลาย

ที่มา: FactSet, MSCI, UBS Asset Management ณ ก.ย. 65

มองไปข้างหน้าสำหรับตลาดหุ้นจีน โดย บลจ.กรุงศรี

  • การใช้กฎระเบียบข้อบังคับของจีนในปี 2565 ยังคงดำเนินต่อไป ถึงแม้ว่าการบังคับใช้ที่มีความเข้มงวดมากที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ภาพรวมยังคงอยู่ในระดับปานกลาง
  • การล็อกดาวน์และการหยุดชะงักที่เกี่ยวข้องกับ Covid-19 ได้บรรเทาลง ทว่ายังคงไม่หายไป จึงยังเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • ผู้จัดการกองทุนยังคงติดตามภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างใกล้ชิดสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจในวงกว้าง
  • ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยง
  • ความมีเสถียรภาพทางสังคมเป็นหนึ่งในสิ่งที่จีนให้ความสำคัญมากที่สุด โดยมีการออกนโยบายสนับสนุนเพิ่มเติมที่มุ่งสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • MSCI China Valuation ถือว่าไม่แพง โดยมีการเทรดกันอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1 S.D (ที่มา: Bloomberg ณ 15 พ.ย. 65)
  • ระดับราคาในตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลงอย่างมากเกินกว่าปัจจัยกดดันที่เกิดขึ้น โดยตลาดหุ้นจีนมีค่า P/E ratio อยู่ที่ระดับ 9 - 10ต้นๆ ในขณะที่ประเทศอื่นในเอเชียมีค่า P/E ratio ที่สูงกว่ามาก เช่น อินเดียมี P/E ratio อยู่ที่ 20.8 (ที่มา : UBS Asset Management ณ 30 ก.ย. 65) 
  • ด้าน Drawdown ของดัชนี MSCI China A Shares มีการปรับลดลงจากระดับสูงสุดถึง 29 % และ Drawdown ของดัชนี MSCI China Consumer Discretionary หรือหุ้นเทคจีนปรับลดลงจากระดับสูงสุดถึง 65 %  สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการ upside ที่สูงมากเช่นกัน (ที่มา : Bloomberg ณ 15 พ.ย. 65)
  • ในส่วนของ EPS MSCI China ตั้งแต่ต้นปี 2021 ถูกปรับลดลงมาโดยเฉพาะกลุ่มหุ้นเทคที่ปรับลดลงมาถึง -48%  อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายมาตรการโควิดและการเปิดเมืองจะช่วยให้รายได้ของบริษัทจดทะเบียนและการเติบโตของกำไรต่อหุ้นปรับตัวสูงขึ้นตามภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเช่นกัน (ที่มา : Bloomberg ณ 15 พ.ย. 65)
  • การเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบได้รับแรงสนับสนุนที่แข็งแกร่ง จากการบริโภคภายในประเทศ นำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจและส่งผลดีต่อตลาดหุ้นจีน
  • แม้ว่าการชะลอตัวลงของเศรษฐโลกในปีหน้าอาจส่งผลกระทบต่อจีนในเรื่องของการส่งออก แต่ไม่น่ากังวลมากนัก  เนื่องจากเศรษฐกิจจีนจะถูกขับเคลื่อนโดยการบริโภคในประเทศเป็นหลัก
  • การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสร้างผู้ชนะและผู้แพ้ในตลาด ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอย่างมากสำหรับการลงทุนเชิงรุก ทั้งในด้านการบริโภคในประเทศ, นวัตกรรม, ระบบอัตโนมัติ และการบริการด้านสุขภาพ

ธีมการลงทุนที่สำคัญ

  • การใช้จ่ายเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นโอกาสสำหรับการลงทุนในกลุ่มการดูแลรักษาสุขภาพ ธุรกิจเภสัชกรรมออนไลน์ ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์จีนมีแนวโน้มก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเทรนด์การลงทุนของโลกเหมือนกับหุ้นเทคจีนก่อนหน้านี้ จากการที่บริษัทยาต่างๆมีการลงทุนเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • ความได้เปรียบด้านประชากรเป็นโอกาสของหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ ประกัน และการจัดการลงทุนมีโอกาสเติบโตอีกมาก
  • เทรนด์การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและการใช้สินค้าระดับพรีเมียมกำลังเติบโตอย่างมากในจีน โดยหลังจากการเปิดเมืองอย่างเต็มรูปแบบจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น  
  • เทรนด์การใช้พลังงานสะอาดเพิ่มโอกาสเติบโตในระยะยาว โดยจีนเป็นผู้นำประเทศมหาอำนาจอื่นๆในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน
  • หุ้นเทคจีนยังคงมีความน่าสนใจเนื่องจากราคาปรับตัวลงมาค่อนข้างเยอะ และภาพรวมยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในระยะยาว แม้ระยะสั้นตลาดจะมีความผันผวนอยู่บ้าง
จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปัจจัยสนับสนุน/เทรนด์ด้านการลงทุนต่างๆที่กล่าวมานั้น บลจ.กรุงศรี มีกองทุนที่เน้นลงทุนในประเทศจีนที่สอดคล้องและครอบคลุมทุกโอกาสและเทรนด์ลงทุนในจีน เพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนให้นักลงทุนที่สนใจ ซึ่งแต่ละกองทุนจะมีความแตกต่างด้านกลยุทธ์การลงทุนกันออกไป ดังนี้
 

 

สรุปข้อมูลสำคัญของกองทุน 

 
ข้อมูล/กองทุน กรุงศรีไชน่าเอแชร์อิควิตี้–สะสมมูลค่า  (KFACHINA-A) กรุงศรีเกรทเทอร์ไชน่าอิควิตี้เฮดจ์ปันผล (KF-HCHINAD)  กรุงศรีไชน่าเมกะเทรนด์-สะสมมูลค่า (KFCMEGA-A)
นโยบายการลงทุน ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ UBS ( Lux ) Investment SICAV China A Opportunity (USD) (Class P acc) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ กองทุน FSSA Greater China Growth Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุน และ/หรือ ETF ต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในจีนและ/หรือมีธุรกิจที่เกี่ยวข้อง/ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเมกะเทรนด์ ซึ่งจะลงทุนอย่างน้อยใน 2 กองทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV กองทุน
ระดับความเสี่ยง/ นโยบายด้าน FX 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน  6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
เงินลงทุนขั้นต่ำ 500 บาททุกกองทุน


อ่านมุมการลงทุนในจีนและกองทุนแนะนำฉบับเต็ม คลิกที่นี่ 
รายละเอียดกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นจีน และธุรกิจเมกะเทรนด์ของจีน คลิก:

คำเตือน

  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • KFCMEGA และ KFACHINA ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนกองทุนได้ที่
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด
โทร. 0 2657 5757 | E-mail:  krungsriasset.mktg@krungsri.com 

พบทุกคำตอบเรื่องเงินที่ Krungsri The Coach คลิกที่นี่ 






 

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว