ท่ามกลาง LTF มากมาย เลือกกองทุนไหนดี?
ถ้าเป้าหมายชีวิตของคุณต้องการมีสถานะการเงินที่มั่นคงและมีเงินใช้จ่ายในระยะยาว “การลงทุน” เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเงินของคุณได้ ยิ่งถ้าคุณเป็นพนักงานประจำหรือมีรายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี การซื้อกองทุน LTF (Long Term Equity Fund) เรียกว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและได้ประโยชน์หลายต่อ เพราะนอกจากจะได้ลดหย่อนภาษีเมื่อคุณลงทุนตามเงื่อนไขแล้ว ยังมีโอกาสได้ผลตอบแทนดี และเป็นการสร้างความมั่นคงในอนาคตอีกด้วย
มาถึงคำถามสำคัญที่ทำให้หลายคนสับสนกันมากที่สุด เมื่อหันไปทางไหนก็มีแต่กองทุน LTF เต็มไปหมด แล้วเราควรจะเลือกซื้อ LTF กองทุนไหนดี?
เรื่องที่ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจคือ ไม่มีกองทุนใดดีที่สุด แม้แต่กองทุนที่ เค้าว่ากันว่าดี ก็อาจจะไม่เหมาะสำหรับคุณ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือ “เป้าหมายการลงทุน” และ”ความเสี่ยงที่ยอมรับได้” ของคุณที่จะเป็นตัวตัดสินว่าคุณจะเหมาะกับ “นโยบายกองทุนแบบใด”
บทความนี้เราจะแนะนำ 5 หลักการง่ายๆ ที่จะช่วยคุณตัดสินใจว่ากองทุนใดที่ควรลงทุนเพื่อให้ตอบโจทย์ชีวิตคุณ
หลักการ 5 ข้อเลือกกองทุนอย่างไรให้ตอบโจทย์ชีวิต
1. กำหนดเป้าหมายการลงทุน
ขั้นตอนแรกสำคัญที่สุด คุณมีเป้าหมายในใจแล้วหรือยังว่าต้องการลงทุนเพื่ออะไร? เช่น เพื่อสะสมเงินก้อนไว้เพื่ออนาคต ครบ 7 ปีปฎิทินตามเกณฑ์ค่อยเอาออกมาใช้ หรือเพื่อให้มีผลกำไรออกมาใช้ระหว่างทางสม่ำเสมอ เป้าหมายที่ต่างกันแบบนี้จะนำไปสูการเลือก LTF ที่ต่างกัน ระหว่าง LTF ที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล กับ LTF ที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล
ลองดูตัวอย่าง 2 กองทุนนี้
กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาว SET50” หรือ KFLTF50 มีนโยบายลงทุนในหุ้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 75% ของ NAV โดยเน้นหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่ม SET50 มีการบริหารกองทุนแบบ Passive Fund โดยมุ่งหวังให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี SET50 กองทุนนี้ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล ลงทุนยาวไปจนครบ 7 ปีปฏิทิน ถ้าต้องการใช้เงิน ค่อยขายคืนไม่ผิดเงื่อนไข ได้รับผลตอบแทนเต็มๆ ไม่เสียภาษีจากกำไรที่ได้ด้วย หรือจะถือการลงทุนต่อเนื่องให้เงินเติบโตไปอีกก็ได้
แต่ถ้าใครสนใจลงทุนหุ้นขนาดใหญ่เช่นกัน แต่มุ่งหวังจะรับกำไรออกมาระหว่างทาง น่าจะถูกใจ
“กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวแอ็คทีฟ SET50 ปันผล” หรือ KFLTFA50-D มากกว่า กองทุนนี้มีนโยบายจ่ายเงินปันผลด้วย และเป็นกองทุนแบบ Active Fund คือมีการคัดเลือกหุ้นในกลุ่ม SET50 อีกขั้นตอนหนึ่ง และบริหารการลงทุนเพื่อเพื่อสร้างผลตอบแทนให้เหนือกว่าดัชนี SET50 ที่ผ่านมา KFLTFA50-D มีประวัติการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอเกือบทุกปี รวมแล้ว 12 ครั้ง เป็นเงิน 6.68 บาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุน / ดูประวัติจ่ายปันผล
KFLTF50 และ
KFLTFA50-D
2. พิจารณาความเสี่ยงที่สามารถรับได้
จริงอยู่ว่า LTF ทุกกองทุนจะมีนโยบายลงทุนในหุ้นไทยเป็นหลัก จึงมีระดับความเสี่ยงสูง แต่การเลือกประเภทหุ้นที่ลงทุน กลยุทธ์การคัดเลือกหุ้น สไตล์การบริหารกองทุนก็มีส่วนที่ทำให้แต่ละกองทุนมีการบริหารความเสี่ยงที่ต่างกันออกไป ถ้าหากคุณเป็นพนักงานประจำหรือผู้ที่มีรายได้ในเกณฑ์เสียภาษี แน่นอนว่าเป้าหมายแรกก็คงจะมีเรื่องของการลดหย่อนภาษีอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วถ้าต้องการผลตอบแทนดีในอนาคต และมีระดับความเสี่ยงในเกณฑ์ที่สามารถรับได้ด้วยล่ะ...ควรจะเลือกกองทุนอย่างไรดี?
การลงทุนในกองทุนที่มีความยืดหยุ่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงได้ อย่างเช่น “กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวไทยออลสตาร์ปันผล” หรือ KFLTFSTARD ซึ่งมีจุดเด่นที่มีการลงทุนได้ในทุกประเภทหุ้น โดยการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด มีทั้งหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี/หุ้นเติบโตสูง/หุ้นจ่ายปันผลดี นอกจากนี้ยังมีการบริหารแบบ ACTIVE ปรับเปลี่ยนหุ้นให้รับกับสถานการณ์ เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว ซึ่งอาจจะผ่านช่วงเวลาหุ้นขึ้น-ลง หรือเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ทำให้หุ้นบางกลุ่มมีโอกาสกำไรดีกว่า ผู้จัดการกองทุนก็จะปรับน้ำหนักไปที่หุ้นกลุ่มนั้นได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุน
KFLTFSTARD
แต่ถ้าคุณมองเรื่องการกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องรอง อยากลงทุนเน้นๆ focus ในหุ้นที่ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพคัดแล้วว่าดี มีศักยภาพสูง กองทุนที่น่าจะตรงใจคือ
“กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวไดนามิค-ปันผล" หรือ
KFLTFDNM-D
จุดเด่นของกองทุนนี้คือ มีกลยุทธ์ลงทุนเชิงรุก โดยจะเฟ้นหาหุ้นที่มีศักยภาพสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดประมาณ 20 ตัว ไม่จำกัดประเภทหุ้นไม่ว่าจะเป็นหุ้นปันผล หุ้นเติบโต หุ้นขนาดใหญ่ หรือเล็ก ซึ่งมีกลยุทธ์การลงทุนเดียวกับกองทุน KFDYNAMIC ที่ได้รับรางวัลกองทุนตราสารทุนยอดเยี่ยม (ประเภทกองทุนหุ้นขนาดกลางและเล็ก) จาก Morningstar Thailand Awards 2018
นโยบายของกองทุนคือการลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนใน SET และ/หรือ MAI และ/หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ/หรือหุ้นที่อยู่ระหว่าง IPO โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุน
KFLTFDNM-D
หลักการ 2 ข้อแรกที่ผ่านไปจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวคุณเอง คือมีเป้าหมายในการลงทุนอย่างไร และรับความเสี่ยงได้แค่ไหน มาถึง 3 ข้อที่เหลือจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุนที่ต้องดู เพื่อจะได้ตัดสินว่าจะตอบโจทย์ตรงกับตัวคุณหรือเปล่า
3. ดูนโยบายการลงทุน
นโยบายการลงทุนจะบอกประเภทของสินทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งดูได้จากเอกสารสรุปสาระสำคัญกองทุน หรือถ้าจะให้ได้ข้อมูลโดยละเอียดก็อ่านจากหนังสือชี้ชวนของกองทุนได้ ดูเผินๆ LTF ลงทุนในหุ้นไทย แต่รายละเอียดของแต่ละกองทุนจะต่างกันไป มีทั้ง LTF ที่ลงทุนหุ้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 70% ตราสารหนี้ 30% ของ NAV ซึ่งจะมีความผันผวนน้อยกว่ากองทุนที่ลงทุนหุ้นล้วน (KFLTFD70) หรือ LTF ที่ลงทุนหุ้นไทย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 70% หุ้นต่างประเทศ 30% ของ NAV ก็กระจายความเสี่ยงและโอกาสไปหาผลตอบแทนจากต่างประเทศด้วย (KFLTFAST-D) แล้วยังมีทั้ง Active Fund และ Passive Fund ให้เลือกว่าอยากได้ผลตอบแทนตามดัชนีตลาดหุ้น หรือชนะตลาด เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุน KFLTFD70
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุน KFLTFAST-D
4. นโยบายจ่ายเงินปันผล
สำหรับบางคนแม้ต้องการลงทุนในระยะยาว แต่ก็อาจจะไม่อยากรอผลตอบแทนในอีกหลายปีข้างหน้าเพียงครั้งเดียว ดังนั้นหากต้องการเงินสดเพื่อใช้จ่ายระหว่างเส้นทางแล้วล่ะก็ คุณควรลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ซึ่งมีข้อดีอีกข้อคือสามารถลดความเสี่ยงในช่วงตลาดขาลงในอนาคตได้อีกด้วย เพราะคุณได้รับกำไรบางส่วนออกมาแล้ว
ถ้ามองหา LTF ที่มีประวัติจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ แนะนำ
“กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล” หรือ
KFLTFDIV มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นปันผลดี มีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ กองทุนนี้จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้งมาตลอดทุกปีตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในปี 2547 เหมาะกับผู้ที่ชอบลงทุนหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ มีความมั่นคง ผลการดำเนินงานสม่ำเสมอ ไม่หวือหวา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกองทุน / ดูประวัติจ่ายปันผล
KFLTFDIV
5. ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลังมักจะถูกใช้ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจซื้อกองทุน ส่วนใหญ่นิยมเปรียบเทียบกับดัชนีที่เหมาะสม ซึ่งจะสามารถบอกความน่าจะเป็นของแนวโน้มผลตอบแทนได้ ที่สำคัญคือถ้าเป็นกองทุนที่มีมานานแล้ว ควรจะดูผลตอบแทนย้อนหลังระยะยาวหน่อย เช่น 3-5 ปีขึ้นไป เพื่อให้เห็นผลงานของผู้จัดการกองทุนผ่านช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นเปลี่ยนแปลงทั้งขาขึ้นและลง
อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินการของกองทุนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจว่าผลตอบแทนย้อนหลังไม่สามารถการันตีอนาคตได้
สรุป
ท่ามกลางกองทุน LTF ที่มีมากมาย ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจนก็ไม่ต่างอะไรจากนักเดินทางที่ไร้เข็มทิศ ดังนั้นผู้ลงทุนควรเริ่มต้นจากทำความเข้าใจตัวเองว่าต้องการลงทุนเพื่ออะไร รับการขาดทุนได้มากน้อยแค่ไหน และมีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการเลือกกองทุน ได้แก่ นโยบายการลงทุน การจ่ายปันผล และผลดำเนินการย้อนหลัง เพียงเท่านี้ก็จะลดความงุนงง ความสับสนในการเลือกกองทุนได้
พบกับโปรโมชั่นดีๆ ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่จาก บลจ.กรุงศรี ที่จะช่วยสนับสนุนการลงทุนของคุณ คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | LTF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในหุ้น
สิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงื่อนไข LTF
-
ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และไม่เกิน 500,000 บาทต่อ
-
ต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน
-
กรณีขายคืนก่อน 7 ปีปฎิทิน ผู้ลงทุนต้องชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับของเงินลงทุนที่ขายคืนไปรวมกับเงินได้พึงชำระภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
-
การขายคืนจะดำเนินการโดยใช้หลักเกณฑ์ "เข้าก่อนออกก่อน (FIFO)"
ย้อนกลับ