ทางเลือกเมื่อ LTF ครบกำหนด




ปีนี้ ใครที่ลงทุนใน LTF ไว้ จะครบกำหนดให้สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขการรับสิทธิลดหย่อนภาษี ทุกคนจึงมาถึงจุดที่เลือกได้ว่าจะทำอย่างไรกับเงินก้อนนี้ดี ถ้ายังไม่จำเป็นต้องใช้เงิน การขายคืนกองทุนออกมาเป็นเงินฝากธนาคารไว้ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่จะให้เงินเติบโตได้คุ้มค่า เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับไม่ชนะเงินเฟ้อ เท่ากับเสียโอกาสในการลงทุน ถ้าอย่างนั้นมีทางเลือกอะไรอีกที่น่าสนใจ


1. สับเปลี่ยนไปกองทุนอื่น ให้ลงทุนได้กว้างขึ้น เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 
  • เนื่องจาก LTF เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยเป็นหลัก (65% ขึ้นไปของ NAV) ทางเลือกจึงไม่มากนัก ถ้าต้องการเปลี่ยนไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นนอกจากหุ้นไทยมากขึ้น อาจเลือกย้ายเงินออกจาก LTF ไปยังกองทุนรวมประเภทอื่น  เช่น ถ้ามองว่าหุ้นต่างประเทศมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าหุ้นไทยในช่วงนี้ ก็เลือกกองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ เช่น กองทุนหุ้นทั่วโลก กองทุนหุ้นสหรัฐ กองทุนหุ้นเทคโนโลยี
  • ใครที่อยู่ในช่วงอายุที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงสูงแล้ว LTF อาจไม่ตอบโจทย์การลงทุน ก็ควรสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจาก LTF มาลงทุนในกองทุนผสม หรือกองทุนตราสารหนี้ ที่มีระดับความเสี่ยงน้อยกว่า LTF
2. ย้ายไปลงทุนในกองทุน Thai ESG หรือ RMF ได้ประโยชน์ 2 ต่อ
  • ทางเลือกนี้เราจะได้ทั้งสิทธิลดหย่อนภาษีและโอกาสรับผลตอบแทนดีๆ และเงินก้อนนี้ก็ยังตอบโจทย์การลงทุนระยะยาวสำหรับอนาคตได้ต่อไป ล็อกไว้ไม่ให้เผลอใช้ไปเสียหมด ถ้าเลือก Thai ESG เงินก็จะอยู่กับเรามีโอกาสงอกเงยไปอีก 5 ปี แต่ถ้าเลือก RMF ก็จะช่วยเสริมแผนเกษียณให้เข้มแข็งขึ้น
3. ถือต่อรอรับปันผล/ผลตอบแทน
  • ถ้ายังถูกใจหุ้นไทย รับความเสี่ยงได้สูง หรือพอร์ตลงทุนโดยรวมมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยไม่มากนัก การลงทุนใน LTF ยังถือว่าตอบโจทย์ ยังลงทุนใน LTF ต่อไปได้

LTF ทุกกองทุน ยังคงมีการบริหารโดยผู้จัดการกองทุนตามนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ดังนั้น แม้ว่าผู้ลงทุนจะถือครองมาครบกำหนดตามเงื่อนไขภาษีแล้ว แต่กองทุนก็ยังมีการบริหารต่อไปด้วยนโยบายการลงทุนเดิม ถ้าเป็นกองทุน Active Fund ผู้จัดการกองทุนก็ยังคงวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัว ตัดสินใจซื้อ-ขายหุ้น ปรับพอร์ตไปตามสภาวะเศรษฐกิจ เพื่อให้กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดี ขณะที่กองทุนสไตล์ Passive Fund เช่น กองทุนที่ลงทุนในหุ้นดัชนี SET 50 หรือ SET 100 จะมีการลงทุนตามดัชนีอ้างอิงต่อไปเช่นกัน เราอาจสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF ที่ถืออยู่ไปยัง LTF กองทุนอื่นที่คิดว่านโยบายการลงทุนน่าสนใจกว่า มีแนวโน้มสดใสกว่าได้ด้วยเช่นกัน
  • สำหรับ LTF ที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล พอครบรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน ก็จะมีการพิจารณาว่ากองทุนมีผลกำไรหรือไม่ และควรจะจ่ายเงินปันผลเท่าไหร่
  • ส่วนกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ผลตอบแทนจะสะสมไว้ในกองทุน เมื่อผู้ลงทุนต้องการรับผลตอบแทนก็ขายหน่วยลงทุนออกไปได้ สามารถขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนทั้งหมด หรือขายคืนบางส่วนก็ได้
หลายคนอาจมองผลกำไร-ขาดทุนในปัจจุบันประกอบการตัดสินใจด้วย ว่าถ้าขายตอนนี้จะได้ผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน หรือยังขาดทุนอยู่ อย่าลืมว่าถ้าลงทุนใน LTF ที่มีการจ่ายเงินปันผล เราอาจได้รับเงินปันผลมาแล้วทุกปี ซึ่งต้องนำมาบวกรวมด้วยถึงจะได้ผลตอบแทนรวมที่แท้จริง

กองทุนที่มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีที่ดีอยู่ใน Quartile 1 ของกลุ่ม LTF มีทั้งกองทุนที่เป็น Active Fund เช่น KFLTFDNM-D และกองทุนที่เป็น Passive Fund เช่น  KFLTF50 (ที่มา: Morningstar Thailand ณ 30 ธ.ค. 2567 | การจัดอันดับดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนแต่อย่างใด | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)

ในการตัดสินใจตามทางเลือกข้างต้น สิ่งที่ต้องมองมากกว่าผลตอบแทนที่ผ่านมาคือ นโยบายการลงทุนของ LTF ที่ถืออยู่ตอบโจทย์การลงทุนในปัจจุบันหรือไม่ แนวโน้มหุ้นไทยเป็นอย่างไร หรือเราต้องการต่อยอดเงินก้อนนี้ไปด้วยการลงทุนแบบอื่น เมื่อหลายปีก่อนที่เราเลือก LTF กองทุนนี้ เป้าหมายหรือความเสี่ยงที่รับได้ของเราอาจจะต่างจากตอนนี้ก็ได้ มาถึงวันนี้เรามีทางเลือกอีกครั้ง ถามตัวเองให้ดีว่าอยากให้เงินก้อนนี้เติบโตต่อไปทางไหน แล้วลองพิจารณามุมมองเศรษฐกิจการลงทุนต่างๆ ประกอบการเลือกอีกครั้ง 

อ่านบทความ “ธีมการลงทุนเด่นปี 2568 เทคนิคจัดพอร์ต และกองทุนแนะนำ” คลิกที่นี่
กองทุนแนะนำและโปรโมชัน
 
พบทุกคำตอบเรื่องเงินที่ Krungsri The Coach คลิกที่นี่







สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี
โทร. 02-657-5757 หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ | Thai ESG เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาว และสนับสนุนการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย | ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน | กองทุนรวมนี้มีลักษณะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

ย้อนกลับ

@ccess Mobile Application

ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว