Login@ccess
LoginEm@ccess
TH
เกี่ยวกับบลจ.กรุงศรี
ข่าว/ประกาศกองทุน
สรุปภาวะตลาด
วางแผนการลงทุน
ติดต่อเรา
การทำรายการซื้อ-ขาย
เมนูหลัก
ค้นหา
Home
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Seminar Booking
กองทุนรวม
หน้าหลักกองทุนรวม
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารตลาดเงิน
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้
กองทุนผสม
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
กองทุนกรุงศรี 2TM
กองทุนอสังหาริมทรัพย์
กองทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
Employee’s choice
ตารางวันคำนวณจำนวนหน่วย
แบบประเมินความเสี่ยง
ติดต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จุดเด่นของ บลจ.กรุงศรี
มูลค่าหน่วยลงทุน
ผลการดำเนินงานกองทุนรวม
Krungsri @ccess Mobile App
ลงทุนกองทุนกรุงศรี
สะดวกกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
ดูเพิ่มเติม
ราคาหน่วยลงทุนย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
ค้นหา
หน้าหลัก
>
วางแผนการลงทุน
>
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
>
Hawkish กับ Dovish คืออะไร เกี่ยวข้องกับแนวโน้มผลตอบแทนของตราสารหนี้อย่างไร
Quicklink
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สมัครบริการ @ccess online
กองทุนรวม
เปิดบัญชีและทำรายการ
ทดสอบระดับความเสี่ยง
หนังสือรับรองฯ SSF/ RMF/ Thai ESG/ LTF/ หักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิฯ)
แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิภาษี SSF/ RMF/ Thai ESG
เข้าสู่ระบบ
@ccess online
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
Hawkish กับ Dovish คืออะไร เกี่ยวข้องกับแนวโน้มผลตอบแทนของตราสารหนี้อย่างไร
โดยศิริพร สินาเจริญ, CFA กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงศรี
สำหรับนักลงทุนที่ชื่นชอบการลงทุนที่ค่อนข้างมีความมั่นคงปลอดภัย ส่วนใหญ่จะพิจารณาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ หลายท่านอาจมีคำถามว่าจะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มผลตอบแทนของตราสารหนี้ได้อย่างไร ในบทความนี้จะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์แนวโน้มผลตอบแทนของตราสารหนี้ นั่นก็คือ “แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางในแต่ละประเทศ” โดยเฉพาะของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกา
เมื่อเราพูดถึง นโยบายการเงินของธนาคารกลางจะพบว่ามี 3 ประเด็นที่ธนาคารกลางจะเป็นผู้คอยกำกับดูแล ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย และปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางจะใช้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ หรือเพื่อกำหนดเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมถึงการรักษาระดับของเงินเฟ้อในประเทศ
ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางมองว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวในอนาคต ก็จะทำการออกมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือขายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว (Contractionary Monetary Policy) ผ่านแนวคิดแบบ Hawkish มาจากคำว่า Hawk หรือ เหยี่ยว ซึ่งแสดงถึงความดุดัน ก้าวร้าว และไม่ประนีประนอม
ในทางตรงกันข้าม หากคณะกรรมการนโยบายการเงินมองว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เร่งตัวหรือจะหดตัวลงในอนาคตก็จะทำการลงมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary Monetary Policy) ผ่านแนวคิดแบบ Dovish มาจากคำว่า Dove นกพิราบ สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ซึ่งแสดงถึงความประนีประนอม ยืดหยุ่น อะลุ่มอล่วย ซึ่งเป็นแนวคิดที่สวนทางกันกับ Hawkish นั่นเอง
เมื่อเราเข้าใจความหมายของคำว่า Hawkish และ Dovish แล้ว ก็มาวิเคราะห์กันต่อว่าถ้าธนาคารกลางมีแนวคิด แบบ Hawkish หรือ Dovish จะมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของตลาดตราสารหนี้อย่างไร หากเราวิเคราะห์ว่าธนาคารกลางน่าจะมีแนวคิด Hawkish นั่นหมายถึง ธนาคารกลางคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวในอนาคต จึงทำการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเพราะธุรกิจจะกู้เงินน้อยลงเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น และธนาคารกลางยังทำการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเพื่อดูดเงินในระบบเศรษฐกิจ ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะไม่ดีต่อการถือครองตราสารหนี้ในพอร์ตการลงทุน เพราะเวลาคำนวณราคาตลาด หรือที่เรียกว่า Mark to Market แล้วราคาก็จะลดลง
ในทางกลับกันหากเรามีมุมมองว่าธนาคารกลางน่าจะมีแนวคิดแบบ Dovish นั่นก็คือธนาคารกลางคิดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวหรือหดตัวในอนาคตและเพื่อไม่ให้เกิดสภาวะเงินฝืด ธนาคารกลางก็จะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งก็จะเป็นแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจและประชาชนกู้เงินมาทำธุรกิจหรือกู้เงินมาใช้จ่ายอุปโภคบริโภคมากขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากนักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เพื่อเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกครั้ง ทำให้ตลาดมีสภาพคล่องพร้อมแก่การเติบโตในอนาคต ในเมื่อต้นทุนทางการเงินในระบบเศรษฐกิจต่ำลง ผลตอบแทนตราสารหนี้ก็จะต่ำลง ทำให้ราคาตลาด Mark to Market ของตราสารหนี้ที่นักลงทุนถืออยู่มีราคาที่สูงขึ้นนั่นเอง
สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการที่คณะกรรมการนโยบายการเงินจะเลือกใช้แนวคิด Hawkish หรือ Dovish ประกอบด้วย ปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายๆอย่าง เช่น แนวโน้มตัวเลข GDP อัตราเงินเฟ้อ แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยน และตัวเลขการจ้างงาน เป็นต้น นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังมีผลต่อเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากเมื่อธนาคารกลางปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก็จะทำให้อัตราผลตอบแทนภายในประเทศโดยรวมดูดีขึ้น ก็จะสามารถดึงเงินหรือป้องกันการไหลออกของเงินนักลงทุนต่างชาติได้ดีขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆมีแนวโน้มแข็งค่า ในทางตรงกันข้ามหากธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนักลงทุนต่างชาติก็มองว่าอาจจะมีประเทศอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าก็จะทำการเอาเงินออกจากประเทศนั้นๆ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่า ซึ่งประเด็นตรงนี้อาจจะเป็นผลดีต่อกลุ่มธุรกิจที่มีการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ
ย้อนกลับ
วางแผนการลงทุน
เริ่มต้นการลงทุน
เรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุน
วางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี
แบบทดสอบระดับความเสี่ยง
คำนวณเงินลงทุนใน SSF
คำนวณเงินลงทุนใน RMF
@ccess Mobile Application
ทำรายการกองทุนสะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
เลือกกองทุนที่คุณสนใจ
-
คุกกี้
เว็บไซต์ของบริษัทมีการจัดเก็บข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงนำเสนอเนื้อหา และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการ การกดปุ่ม
“ตกลงทั้งหมด”
จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์เต็มรูปแบบในการใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภทได้ตามที่คุณต้องการโดยกดปุ่ม
“ตั้งค่าคุกกี้”
โดยคุณสามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ประกาศการใช้งานคุกกี้
ของบริษัท
×
คุกกี้
คุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์
Always Active
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำหน้าเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งานล่าสุด การสำรวจหน้าเว็บไซต์ การจดจำรหัสของผู้เข้าใช้งาน หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ การจัดเก็บคุกกี้ประเภทนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องขอความยินยอมจากคุณเพราะคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของคุณได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การจดจำการตั้งค่าภาษา ภูมิภาค ขนาดตัวอักษรของคุณในการใช้งานเว็บไซต์ นับจำนวนและแหล่งที่มาของผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์ เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์มีการปฏิสัมพันธ์กับหน้าเว็บไซต์อย่างไร และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด โดยการเก็บรวบรวมและการรายงานข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนของคุณอย่างไม่เฉพาะเจาะจงจะช่วยให้สามารถพัฒนาและมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ อาจทำให้ไม่ทราบได้ว่าคุณเคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เมื่อใดและไม่สามารถติดตามประสิทธิภาพการประมวลผลของหน้าเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
คุกกี้ประเภทนี้จะทำให้เว็บไซต์สามารถตอบสนองตามความพึงพอใจของคุณ โดยทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น สามารถจดจำการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้สำหรับคุณในครั้งถัดไป ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของผู้ใช้ และวัดประสิทธิผลของโฆษณาของเรา คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งไว้โดยบริษัทหรือผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม หากคุณไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ การให้บริการบางอย่างของเว็บไซต์อาจไม่สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้อง
คุกกี้สำหรับสื่อสังคมออนไลน์
คุกกี้ประเภทนี้สำหรับฟังก์ชั่นการกดไลค์ แชร์ หรือสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
คุณยืนยันลบข้อมูลการเก็บคุกกี้ของเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งไม่รวมถึงการจัดเก็บของบุคคลที่สาม เช่น Chrome, Firefox, Internet Explorer, Safari ฯลฯ ที่คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเอง