Flash Update


เช็กแนวโน้มการลงทุนหลังสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า

04/04/2568


เช็กแนวโน้มการลงทุนหลังสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า 
สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
  1. ภาษีนำเข้าพื้นฐาน (Base Tariff) เก็บ 10% ครอบคลุมสินค้านำเข้าทุกรายการ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2568
  2. ภาษีนำเข้าเฉพาะประเทศ เรียกเก็บเพิ่มเติมจากประเทศที่สหรัฐฯ เห็นว่า “ได้เปรียบทางการค้า” ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 โดยอัตราที่ประกาศคือ:
  • จีน: 34%
  • สหภาพยุโรป: 24%
  • ญี่ปุ่น: 34%
  • ไทย: 37%
  • เวียดนาม: 46%
การตอบสนองของตลาด
  • การประกาศอัตราภาษีครั้งนี้ถือว่าแรงเกินกว่าที่ตลาดคาด โดยมีการนำมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures) มาคำนวณสูงมาก ทำให้ผลกระทบมากกว่าที่คาดไว้ในตอนแรก
  • JP Morgan คาดว่าอัตราภาษีนำเข้าที่แท้จริงของสหรัฐฯ (Effective Tariff) จะปรับขึ้นมากกว่า 23% จากที่ตลาดเคยคาดไว้เพียง 10-15%
แนวโน้มภาษีนำเข้าในระยะต่อไป
  • แม้ว่าทำเนียบขาวกำลังพิจารณาการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในกลุ่มสินค้าพิเศษ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ (ชิป), ยารักษาโรค และแร่ธาตุสำคัญแต่การประกาศในครั้งนี้น่าจะเป็นก้อนใหญ่ที่สุดและมีผลกระทบมาที่สุดแล้ว
  • สกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวว่า อัตราภาษีที่ประกาศเมื่อคืนคือระดับสูงสุดแล้ว ถ้าไม่มีการตอบโต้จากประเทศคู่ค้า
สรุป: ตัวเลข Tariff ที่ประกาศถือว่าสูงมาก และทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจโดยเฉพาะของสหรัฐฯ เองได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ประเด็นบวก คือ Tariff เกือบจะสูงสุดแล้ว แล้วน่าจะมีการเจรจาปรับลดลงมา โดยอัตราที่สูงจะทำให้มีช่องในการปรับลดได้ (ซึ่งถือว่าดีกว่ากรณีที่ทยอยประกาศขึ้น Tariff ขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งตลาดหุ้นจะไม่ชอบกรณีนี้มากที่สุด)

แนวโน้มตลาดหุ้น
คาดว่าตลาดหุ้นจะเข้าสู่ภาวะลดความเสี่ยง (Risk-off) ชั่วคราวหลังจากเกิดแรงขายหนัก และอาจจะยังซึมต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อรอติดตามความคืบหน้าด้านการเจรจาทางการค้า

กลยุทธ์การลงทุน
  • หากยังไม่มีการเจรจาเกิดขึ้น: ควร ถือเงินสด รอจังหวะที่เหมาะสม หรือ เน้นลงทุนในกลุ่มที่มีรายได้หลักจากในแต่ละประเทศเอง เช่น ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน โดยแนะนำกองทุน KFINFRA
  • หากเริ่มมีการเจรจา: ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการกลับเข้าลงทุน เพราะตลาดมีโอกาสฟื้นตัวโดยรวมในหลายตลาด โดยเฉพาะ
    • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่จะได้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าที่ดีขึ้น
    • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ที่ปรับตัวลงแรงก่อนหน้า
    • กลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่ได้รับผลกระทบจากภาษี
    • หุ้นเทคโนโลยีของจีน ที่ยังมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว
    • หากมีการตอบโต้ทางภาษีจากประเทศอื่น: ตลาดหุ้นอาจปรับตัวลงต่อ กลยุทธ์ที่แนะนำคือ ถือเงินสด และลงทุนในทองคำเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต
ที่มา: บลจ. กรุงศรี ณ 4 เม.ย. 68

นโยบายกองทุน/คำเตือน
  • KFINFRA / KFINFRARMF ลงทุนในกองทุนหลัก UBS (Lux) Infrastructure Equity Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV | ความเสี่ยงระดับ 6: เสี่ยงสูง
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน

ข้อมูลกองทุน KFINFRA-A คลิก

ข้อมูลกองทุน KFINFRARMF คลิก

หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอดูหนังสือชี้ชวน โปรดติดต่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรีจำกัด โทร 0 2657 5757 หรืออีเมล krungsriasset.clientservice@krungsri.com
เอกสารประกอบเปิดด้วยโปรแกรม Acrobat Reader หากท่านไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกเพื่อ ดาวน์โหลด โปรแกรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ย้อนกลับ

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน