สรุปภาวะตลาดรายวัน


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด
25/03/2567

ปัจจัยสำคัญ

  • ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวผสมผสานในวันศุกร์ (22 มี.ค.) โดย Dow Jones และ S&P500 ปิดลบ ในขณะที่ Nasdaq ปิดบวก อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุดในรอบสัปดาห์ของปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้
  • หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างไนกี้ (NKE) และลูลูเลมอน แอธเลทิกา (LULU) ปรับตัวลดลงหลังจากออกมาเตือนเรื่องผลประกอบการที่อาจจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่หุ้นเฟดเอ็กซ์ (FDX) พุ่งขึ้นหลังจากเปิดเผยผลกำไรสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ดีกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • ตลาดหุ้นยุโรป STOXX 600 ปิดปรับตัวลดลงเล็กน้อย ในวันศุกร์ (22 มี.ค.) แต่ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวลดลง ส่วนหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคและอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นเยอรมนีได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้นเกินคาด
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น Nikkei ในวันศุกร์ (22 มี.ค.) ปิดบวกเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน และทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 2 วันติด โดยได้ปัจจัยบวกหลักจากเงินเยนที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้หุ้นกลุ่มผู้ส่งออกปรับตัวขึ้นแรง นำโดยหุ้นผู้ผลิตยานยนต์และชิปบางส่วน โดยระหว่างวันดัชนีได้พุ่งขึ้นเหนือ 41,000 จุด ได้ในเวลาสั้นๆก่อนจะย่อตัวลงมาในช่วงท้าย
  • ตลาดหุ้นจีน Shanghai Composite ปิดลบแรงในวันศุกร์ (22 มี.ค.) จากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ ความกังวลเกี่ยวกับเงินหยวนที่อ่อนค่าลงมาก แม้ธนาคารพาณิชย์ของรัฐบาลจีนจะเข้าแทรกแซงโดยเทขายดอลลาร์สหรัฐเพื่อพยุงค่าเงินหยวนแล้วก็ตาม
  • ตลาดหุ้นไทย SET ปิดลบในวันศุกร์ (22 มี.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียรวมถึงค่าเงินบาทอ่อนค่าลง หลังจากที่ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์และอังกฤษส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับสัปดาห์นี้จับตาการพิจารณาร่างงบประมาณปี 2567 ของวุฒิสภาและตัวเลขการส่งออกเดือน ก.พ. ของไทย

มุมมองการลงทุนจาก บลจ.กรุงศรี

หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว FED ยังคงส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ทำให้โอกาสที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี (10Y US Bond Yield) จะปรับตัวขึ้นมีความไปเป็นได้ยากมากขึ้น เราจึงแนะนำใช้จังหวะที่ Bond Yield ยังเลี้ยงตัวเหนือระดับ 4.20% ในการเข้าลงทุนกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลก

สำหรับสัปดาห์นี้ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญจะเริ่มรายงานช่วงปลายสัปดาห์ เช่น GDP Q4 ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการทบทวนครั้งที่ 3 ซึ่งจะเป็นรอบสุดท้าย (Final) และตัวเลข Core PCE ในวันศุกร์ (29 มี.ค.) โดยเราคาดว่าตลาดน่าจะหันความสนใจไปที่เรื่องภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังตึงเครียดในหลายแห่ง ได้แก่ การร่วมมือกันของรัสเซียและจีนในการสนับสนุนกลุ่มฮูตีให้มีเสียงในเวทีโลกเพื่อและกับการที่เรือพาณิชย์จะเดินทางผ่านทะเลแดงโดยไม่ถูกโจมตี เหตุการณ์ก่อการร้ายที่รัสเซียโดยกลุ่ม ISIS การที่สหรัฐฯ ยังเดินหน้ายื่นกฎหมายในการกดดันจีนอย่างต่อเนื่อง เช่น ห้ามมิให้กองทุนรวมในสหรัฐฯ ลงทุนในดัชนีหุ้นจีน
 

สรุปภาพรวมตลาด

  • ต่างประเทศ
    • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 39,475.90 จุด ลดลง 305.47 จุด หรือ -0.77%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,234.18 จุด ลดลง 7.35 จุด หรือ -0.14% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,428.82 จุด เพิ่มขึ้น 26.98 จุด หรือ +0.16%
    • ดัชนี STOXX 600 ปิดตลาดที่ระดับ 509.64 จุด ลดลง 0.13 จุด หรือ -0.03%
    • ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดที่ระดับ 40,888.43 จุด เพิ่มขึ้น 72.77 จุด หรือ +0.18%
    • ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปิดที่ 3,048.03 จุด ลดลง 29.08 จุด หรือ -0.95%
    • ดัชนี S&P BSE Sensex ปิดตลาดที่ 72,831.94 บวก 190.75 จุด หรือ 0.26%
    • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ค. ลดลง 44 เซนต์ หรือ 0.54% ปิดที่ 80.63 ดอลลาร์/บาร์เรล
    • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 24.70 ดอลลาร์ หรือ 1.13% ปิดที่ 2,160.00 ดอลลาร์/ออนซ์
  • ในประเทศ
    • SET ปิดที่ 1,381.04 ลบ 6.58 จุด (-0.47%) Trading Volume: 43,609.79 ล้านบาท – มูลค่าการซื้อขายน้อย
      โดยตลาดหุ้นไทยมีการซื้อขายมากที่สุดในหุ้นกลุ่มธนาคาร (+67%) ตามด้วยกลุ่มพลังงาน (-0.82%) และกลุ่มพาณิชย์ (-1.23%)  นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 627.25 ล้านบาท
    • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปิดปรับขึ้น 1-2 bps แบ่งตามช่วงอายุดังนี้
      • อายุ 1-5 ปี ปิดปรับขึ้น 1-2 bps
      • อายุ >5-10 ปี ปิดปรับขึ้น 1-2 bps
      • อายุ >10 ปีขึ้นไป ปิดปรับขึ้น 1 bp
      • IRS SWAP ปิดปรับขึ้น 1-2 bps
    • นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 638.96 ล้านบาท
    • นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,208.99 ล้านบาท
ที่มา: Bloomberg, Econaday, KSS, Ryt9
 
กองทุนที่มีนโยบายลงทุนใน
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | สำหรับกองทุน SSF/RMF/LTF/Thai ESG ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน|สำหรับกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศจะมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมของประเทศที่กองทุนไปลงทุนได้ | เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ย้อนกลับ


ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน