โปรโมชัน/กองทุนแนะนำ


KFLTPC-UI คัด Private Equity เด่น...เน้นศักยภาพเติบโตสูง

KFLTPC-UI: กองทุนเปิดกรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย

เสนอขายครั้งแรก: 25 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2565

เมื่อลงทุนทุกๆ 1,000,000 บาทใน KFLTPC-UI ช่วงเสนอขายครั้งแรก รับเพิ่ม หน่วยลงทุนกองทุน KFCASH-A มูลค่า 2,000 บาท (โปรดศึกษารายละเอียดและเงื่อนไข*)

ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน 

จุดเด่นที่แตกต่างจากองทุน Private Equity ทั่วไป

1. โอกาสการเข้าถึงการลงทุนใน Private Equity คุณภาพสูง เปี่ยมด้วยศักยภาพเติบโต
ที่มา: BlackRock LTPC | มูลค่าเงินลงทุนแสดงในรูปสกุลเงินดอลลาร์ | ข้อมูล ณ 1 เม.ย. 65
 
  • เน้นการลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาด (Private Equity) ซึ่งนักลงทุนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ยาก
  • เฟ้นหาบริษัทซึ่งมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งจากหลากหลายอุตสาหกรรม มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนและศักยภาพการเติบโตในระยะยาว

2. กลยุทธ์ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเติบโตของเงินลงทุนที่โดดเด่นและน่าดึงดูด

  • กลยุทธ์การเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ (Active ownership) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างมูลค่าของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น
  • โครงสร้างส่วนแบ่งกำไรที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงาน เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ลงทุนและบริษัทที่ลงทุน
ที่มา: BlackRock LTPC ข้อมูล ณ 1 เม.ย. 65

3. ลงทุนในกองทุนหลัก Blackrock Long Term Private Capital

ที่มีทีมงานและพันธมิตรมากด้วยประสบการณ์การลงทุน ตลอดจนความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับบริษัทต่างๆ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยค้นหาโอกาส วิเคราะห์ความน่าสนใจ และวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุนหลัก

ที่มา: BlackRock LTPC | กลยุทธ์การลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

เจาะลึกพอร์ตการลงทุนในปัจจุบันของกองทุนหลัก

5 บริษัทคุณภาพสูง เปี่ยมด้วยศักยภาพการเติบโต
 ที่มา: BlackRock LTPC | มูลค่าเงินลงทุนแสดงในรูปสกุลเงินดอลลาร์ | ข้อมูลพอร์ตการลงทุนทั้งหมดในกองทุน ณ 31 มี.ค. 65 |  การอ้างอิงถึงชื่อบริษัทในเอกสารฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกลยุทธ์การลงทุน ซึ่งไม่ควรนำไปใช้เป็นคำแนะนำสำหรับการลงทุนรายบริษัท

ตัวอย่างบริษัทที่เข้าไปลงทุน: Creed ผู้ผลิตน้ำหอมที่มีประวัติยาวนานหลายศตวรรษ
 ที่มา: BlackRock LTPC | มูลค่าเงินลงทุนแสดงในรูปสกุลเงินดอลลาร์  |1 - ข้อมูล ณ 31 มี.ค. 65 | การอ้างอิงถึงชื่อบริษัทในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกลยุทธ์การลงทุน ซึ่งไม่ควรนำไปใช้เป็นคำแนะนำสำหรับการลงทุนรายบริษัท

ประวัติการสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นของกองทุนหลัก

พอร์ตการลงทุนคุณภาพสูงและยืดหยุ่นต่อภาวะตลาด มีเป้าหมายเพื่อการสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนตลอดวัฏจักรการลงทุน 
ที่มา: BlackRock LTPC | มูลค่าเงินลงทุนแสดงในรูปสกุลเงินดอลลาร์ | ข้อมูล ณ 31 มี.ค. 65 | ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในเดือนมี.ค. 62 | IRR - ตัวเลขมีการปัดเศษ

รายละเอียดกองทุน KFLTPC-UI

นโยบายการลงทุน
  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ BlackRock Long Term Private Capital, SCSp (กองทุนหลัก) ซึ่งบริหารจัดการโดยบริษัท BlackRock, Inc. โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
    กองทุนหลักจะลงทุนใน Private Equity และมีกลยุทธ์การลงทุนโดยตรงในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่มีมูลค่าระหว่าง 500 ล้านถึง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการเข้าไปมีอำนาจควบคุมหรือร่วมควบคุมในโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทเหล่านี้เป็นหลัก
  • กองทุนไทยจะไม่ทำการขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมมาเพื่อการส่งมอบ (Short Sale) ธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (Repurchase Agreement) และการกู้ยืม เว้นแต่เป็นการกู้ยืมเพื่อการบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมตามที่กำหนดไว้ในโครงการจัดการเท่านั้น
  • กองทุนไทยอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน และ/หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (EPM) โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ทั้งนี้ จะมีอัตราส่วนการลงทุนเพื่อ EPM สูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 ของ NAV กองทุน
  • กองทุนนี้มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักมุ่งหวังให้เงินลงทุนเติบโตในระยะยาวโดยเน้นการร่วมลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ทั่วโลก
ระดับความเสี่ยงกองทุน ระดับ 8+ เสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญ | ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 80% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ
วันทำการซื้อ  IPO: ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2565
หลัง IPO: ผู้ลงทุนสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้เป็นรายไตรมาส โดยอ้างอิงตามประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่บริษัทจัดการกำหนด
วันทำการขายคืน ปีละ 1 ครั้งทุกวันที่ 30 มิถุนายน (โปรดอ้างอิงตามประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่บริษัทจัดการกำหนด)
เงินลงทุนขั้นต่ำ ซื้อครั้งแรก 1 ล้านบาท, ครั้งถัดไป 500 บาท
นโยบายการจ่ายเงินปันผล  ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล
นักลงทุนเป้าหมาย
 
  • ผู้ลงทุนที่มีความเข้าใจในลักษณะที่สำคัญ ความเสี่ยง และผลตอบแทนของ private equity เป็นอย่างดี และสามารถรับความผันผวนของราคาของหน่วย private equity ที่กองทุนไปลงทุน ซึ่งอาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หรือลดลงต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนและทำให้ขาดทุนได้
  • ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์เท่านั้น
 
โปรโมชั่นกองทุน
 
เมื่อลงทุนทุกๆ 1,000,000 บาท ในกองทุนเปิด
กรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFLTPC-UI)

 ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2565
รับเพิ่ม หน่วยลงทุนกองทุน KFCASH-A มูลค่า 2,000 บาท

*รายละเอียดและเงื่อนไข
  • รายการส่งเสริมการขายนี้ให้เฉพาะยอดเงินลงทุนในกองทุนเปิดกรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFLTPC-UI) ในช่วงการเสนอขายครั้งแรกเท่านั้น โดยยอดเงินลงทุนสุทธิหมายถึง ยอดซื้อและ/หรือสับเปลี่ยนเข้า หักออกด้วย ยอดขายคืนและ/หรือสับเปลี่ยนออก
  • บริษัทฯจะพิจารณายอดเงินลงทุนจากแต่ละบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นหลัก ในกรณีที่ผู้ลงทุนมีบัญชีหน่วยลงทุนกับบริษัทฯมากกว่า 1 บัญชี บริษัทฯจะไม่นำหน่วยลงทุนของแต่ละบัญชีไปคำนวณรวมเพื่อรับสิทธิส่งเสริมการขายนี้
  • ยอดรวมการลงทุนที่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท จะไม่ถูกนำมาคำนวณเพื่อรับหน่วยลงทุนกองทุนตามรายการส่งเสริมการขายนี้
  • บริษัทฯจะจัดสรรและโอนหน่วยลงทุนกองทุน KFCASH-A ให้แก่ผู้ลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายนี้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยจำนวนหน่วยลงทุนของกองทุน KFCASH-A จะถูกคำนวณจากราคาหน่วยลงทุนในวันที่ทำการโอนหน่วยให้แก่ผู้ลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุน KFCASH-A หรือกองทุนอื่นที่มีมูลค่าเทียบเท่า มีการใช้ครื่องมือบริหารความเสี่ยงสภาพคล่อง (LMTs) ในช่วงเวลาข้างต้น บริษัทฯขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงการจัดสรรหน่วยให้ภายหลังจากการเลิกใช้เครื่องมือฯดังกล่าวแล้ว
  • การซื้อหน่วยลงทุนผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิตควบหน่วยลงทุน, ผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และผ่านตัวแทนขายแบบไม่เปิดเผยรายชื่อ (omnibus account) จะไม่ถูกนำมารวมในรายการส่งเสริมการขายนี้
  • บริษัทฯขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงการรับหน่วยลงทุน กองทุน KFCASH-A เป็นอย่างอื่นที่มีมูลค่าเทียบเท่า รวมถึงเงื่อนไขข้อกำหนดของรายการส่งเสริมการขายนี้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯ
  • ค่าใช้จ่ายในรายการส่งเสริมการขายนี้ บริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น โดยไม่เกี่ยวข้องหรือเรียกเก็บเป็นค่าใช้จ่ายกองทุนแต่อย่างใด

ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญของกองทุนหลัก
 
1. ความเสี่ยงจากการสูญเสียเงินลงทุน (Capital at risk)
  • มูลค่าของเงินลงทุนและรายได้ที่ได้รับจากการลงทุนดังกล่าวอาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นก็ได้ ซึ่งไม่มีการรับประกันใด ๆ ทั้งนี้ ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนเริ่มแรกคืน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถบ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานในปัจจุบันหรืออนาคตได้อย่างถูกต้อง และไม่ควรเป็นปัจจัยเพียงประการเดียวที่นำมาใช้ใน การพิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์หรือกลยุทธ์การลงทุน
  • การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศอาจส่งผลให้มูลค่าของการลงทุนลดลงหรือเพิ่มขึ้น ความผันแปรของมูลค่าเงินลงทุนอาจมีมากเป็นพิเศษในกรณีที่เป็นการลงทุนในกองทุนที่มีความผันผวนสูง และมูลค่าของทรัพย์สินที่ลงทุนอาจลดลงอย่างกระทันหันและในอัตราที่สูงมาก นอกจากนี้ ระดับและฐานในการคำนวณภาษีอาจเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
  • การลงทุนในกองทุนมีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงในระดับสูง รวมถึงความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินลงุทนทั้งหมด การตัดสินใจเพื่อการลงทุนใดๆ ของกองทุนจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนฯ หรือ Private Offering Memorandum ของกองทุนฉบับล่าสุด เอกสารที่กำหนดขอบเขตและควบคุมการดำเนินงาน (Governing Documents) ของกองทุนและข้อตกลงในการลงทุนของ Limited Partner แต่ละราย ไม่มีการรับประกันว่ากองทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนใดๆ หรือการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
2. ความเสี่ยงจากการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง (Valuation risk)
  • กองทุนมีการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งไม่มีมูลค่าตลาดที่สามารถประเมินได้ในทันที ในกรณีเช่นนี้ AIFM จะกำหนดมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ของหลักทรัพย์และทรัพย์สินเหล่านี้โดยวิธีการพิจารณาอย่างสมเหตุผล ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ และอาจมีการใช้โมเดลในการคำนวณราคา (Pricing Model) ที่พัฒนาขึ้นเป็นการภายใน
  • การประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ไม่มีสภาพคล่อง โดยเนื้อแท้แล้วจึงขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนบุคคล และมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการที่ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหรือที่ใช้ในการสร้างโมเด็ลสำหรับการคำนวณราคาอาจไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอื่น ๆ การที่ปัจจัยด้านตลาดที่เกี่ยวข้องมีมากมายหลายชนิด ประกอบกับลักษณะของหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่กองทุนจะทำการลงทุน ทำให้ไม่สามารถรับประกันได้ว่ามูลค่าใด ๆ ที่มีการกำหนดขึ้นจะเป็นมูลค่าที่แท้จริงที่กองทุนจะได้รับ เมื่อมีการจำหน่ายหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ลงทุนไว้เมื่อถึงเวลา หรือเมื่อมีการจำหน่ายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเหล่านี้อย่างปัจจุบันทันด่วน
3. กองทุนไม่มีกำหนดอายุที่แน่นอน และโดยทั่วไปไม่อนุญาตให้มีการถอนเงินลงทุน (The Partnership Does Not Have a Fixed Term and Withdrawals Generally Will Not Be Permitted)
  • กองทุนมีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในระยะยาว และผลตอบแทนจากการลงทุนมีความไม่แน่นอน การลงทุนในกองทุนจึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนระยะยาวที่สามารถรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่ไม่มีสภาพคล่องได้
  • กองทุนไม่มีการกำหนดอายุที่แน่นอน และโดยทั่วไปจะเก็บรายได้ที่เกิดจากการลงทุนไว้ หรือนำไปลงทุนต่อ นอกจากนี้ แม้จะเกิดเหตุการณ์ LP Termination Event หรือ Dissolution Event (ตามคำจำกัดความที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนฯ หรือ Private Offering Memorandum) ผู้แทนผู้ลงทุน (Representative) อาจกำหนดให้กองทุนยังคงถือทรัพย์สินที่ลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมดต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี หรือ 5 ปี หลังจากวันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว รวมถึงหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (General Partner) จะขยายวันครบกำหนดการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวออกไป ซึ่งการขยายระยะเวลาดังกล่าวทำได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากล่วงหน้าจากผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) ทุกราย
4. Limited Partners ไม่สามารถไถ่ถอนส่วนได้เสียของเงินลงทุนของตนได้ตามความต้องการ (Limited Partners will not be allowed to voluntarily withdraw their Interests)
  • ด้วยเหตุนี้ วิธีเดียวที่ Limited Partners จะสามารถรับรู้ผลตอบแทนจากการลงทุนใน Partnership หรือได้รับผลตอบแทนจากกเงินลงทุนคือการโอนส่วนได้เสียของตน อย่างไรก็ตาม ส่วนได้เสียของผู้ลงทุนมีข้อจำกัดในการโอน และยังไม่มีการรับประกันว่าจะมีตลาดที่รองรับการซื้อหรือขายส่วนได้เสียดังกล่าวเกิดขึ้นในอนาคต
5.  ไม่มีการรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุน (No Assurance of Investment Return)
  • ไม่สามารถรับประกันได้ว่ากองทุนจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับ Limited Partner ได้ แม้ว่าการลงทุนเหล่านี้จะประสบความสำเร็จ แต่คาดว่าผลตอบแทนที่กองทุนได้รับจะถูกนำไปลงทุนต่อ ดังนั้น กองทุนจึงไม่สร้างผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงให้กับ Limited Partner เว้นเสียแต่ว่า Limited Partner ดังกล่าวจะโอนส่วนได้เสียของตนออกไป อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีตลาดที่รองรับการซื้อหรือขายส่วนได้เสียดังกล่าว ดังนั้น Limited Partners อาจไม่สามารถได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนของตนในกองทุน นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีผลตอบแทนเกิดขึ้น ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่า ผลตอบแทนเหล่านี้จะได้สัดส่วนกับความเสี่ยงในการลงทุนในบริษัทและการทำธุรกรรมต่าง ๆ ตามเป้าหมายที่กองทุนวางไว้
6. ความยากลำบากในการกำหนดบริษัทที่เหมาะสมต่อการลงทุน (Difficulty of Locating Suitable Investment)
  • ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีจำนวนบริษัทที่เหมาะสมต่อการลงทุนมากเพียงพอสำหรับให้กองทุนนำเงินร่วมลงทุนทั้งหมดไปลงทุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุนที่ตั้งไว้ หรือรับประกันว่ากองทุนจะประสบผลสำเร็จจากการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ โดยทั่วไปจำนวนบริษัทที่เหมาะสมต่อการลงทุนจะขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด และในบางกรณีก็ขึ้นอยู่กับภาวการณ์ด้านกฎระเบียบหรือการเมืองในขณะนั้น
7. การลงทุนในบริษัทที่มีหนี้อยู่ในโครงสร้างเงินทุน (Leveraged Portfolio Companies)
  • กองทุนอาจลงทุนในบริษัท (Portfolio Company) ที่มีโครงสร้างเงินทุนประกอบด้วยหนี้สินในระดับสูง หรือที่มีการก่อหนี้ การก่อหนี้อาจมีผลกระทบสำคัญที่ไม่พึงประสงค์ต่อ Portfolio Companies เหล่านี้ รวมถึงกองทุนในฐานะผู้ลงทุนโดยตรงหรือโดยอ้อมในบริษัทเหล่านี้ จำนวนเงินกู้ยืมของ Leveraged Companies และอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมซึ่งอาจมีความผันผวนเป็นระยะ ๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมและต้นทุนในการกู้ยืมอื่น ๆ อาจมีผลกระทบอย่างมากต่อผลการดำเนินงานของ Leveraged Companies ดังกล่าว และบริษัทเหล่านี้อาจต้องปฏิบัติตามข้อตกลงทางการเงินและการดำเนินงานที่มีข้อจำกัด และการกู้ยืมยังทำให้ความสามารถในการระดมเงินทุนเพื่อการดำเนินงานและการลงทุนในอนาคตของบริษัทเหล่านี้ลดลง นอกจากนี้ แม้ว่าบริษัทเหล่านี้อาจสามารถก่อหนี้ได้ รวมถึงการกู้ยืมจากกองทุน เงินที่ได้รับจากการก่อหนี้ดังกล่าวอาจถูกนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นและไม่ถูกนำไปลงทุนในทรัพย์สินเพื่อการดำเนินงานหรือทรัพย์สินทางการเงิน หรือมิฉะนั้นก็ถูกเก็บเอาไว้ ดังนั้น ความสามารถของบริษัทเหล่านี้ในการปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงหรือโอกาสทางธุรกิจอาจมีจำกัด รายได้และทรัพย์สินสุทธิของ Leveraged Company มักจะมีความผันผวนในอัตราที่สูงกว่ากรณีที่มิได้นำเงินที่กู้ยืมมาไปใช้ นอกจากนี้ Portfolio Company ที่มีลักษณะโครงสร้างเงินทุนที่อาศัยหนี้สิน จะมีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจที่ไม่พึงปรารถนา อาทิ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอย่างมีนัยสำคัญ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง หรือการเสื่อมถอยของกิจการของ Portfolio Company หรืออุตสาหกรรมที่บริษัทนั้น ๆ ดำเนินธุรกิจอยู่ ในกรณีที่ Portfolio Company ใด ๆ ไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดเพื่อชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยได้อย่างพอเพียง มูลค่าการลงทุนในหุ้นของ Portfolio Company ดังกล่าวจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรืออาจสูญหายไปเลยก็เป็นได้
 
หมายเหตุ:
(1) ข้อความในส่วนของกองทุน BlackRock Long Term Private Capital, SCSp ได้ถูกคัดเลือกมาเฉพาะส่วนที่สำคัญและจัดแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ดังนั้น ในกรณีที่มีความแตกต่างหรือไม่สอดคล้องกับต้นฉบับภาษาอังกฤษ ให้ถือตามต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์
(2) ในกรณีที่กองทุนหลักมีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการซึ่งบริษัทจัดการเห็นว่าไม่มีนัยสำคัญ บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิที่จะแก้ไขเพิ่มเติมโครงการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกองทุนหลัก โดยถือว่าได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว

คำเตือนสำคัญ
 
  1. กองทุนเปิดกรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (“กองทุนไทย”) เน้นลงทุนในกองทุนหลักชื่อ BlackRock Long Term Private Capital, SCSp ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ทั่วโลก โดยเน้นลงทุนในกลุ่มประเทศในแถบทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก โดยไม่จำกัดอัตราส่วน ซึ่งมีความแตกต่างและมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป อีกทั้งมีสภาพคล่องต่ำ ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินต้นหรือไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง กองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีความเข้าใจในหลักทรัพย์ประเภทนี้เป็นอย่างดี และสามารถรับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น
  2. กองทุนหลักจัดตั้งในลักษณะหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดแบบพิเศษ (Special Limited Partnership) และถูกจัดเป็นกองทุนประเภททรัพย์สินทางเลือกภายใต้เกณฑ์ Alternative Investment Fund Managers Directive (AIFMD) ของประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งไม่มีการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย กองทุนนี้จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนรายใหญ่ นักลงทุนสถาบันเท่านั้น
  3. กองทุนหลักเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ จึงไม่มีประวัติผลการดำเนินงานในอดีตเพื่อให้ผู้สนใจลงทุนนำมาใช้ประเมินผลดำเนินงานในอนาคตได้ แม้ว่าผู้จัดการการลงทุนจะเคยมีประสบการณ์ในการบริหารกองทุนต่าง ๆ มาก่อน แต่กองทุนหลักมีพอร์ตการลงทุนที่ไม่เหมือนกัน และมีกลยุทธ์การลงทุนที่แตกต่างจากกองทุนอื่นๆ ที่เคยลงทุนเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักจึงไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของกองทุนอื่น ๆ ที่ผู้จัดการการลงทุนเคยบริหารจัดการกองทุนหลักลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพสูงในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยจะพิจารณาเลือกบริษัทที่เข้าลงทุนจากแหล่งต่างๆ ซึ่งรวมถึงธุรกิจแบบครอบครัวที่ต้องการผู้ร่วมลงทุนในระยะยาวมากกว่าเจ้าของเงินทุนที่เน้นการเร่งสร้างความเติบโตให้กับธุรกิจ กองทุนที่ลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity Funds) ที่กำลังจะยกเลิกการลงทุนใน Portfolio Companies ที่มีรายได้จากการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ บริษัทที่ต้องการขายหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วนในบริษัทย่อยที่มีผลกำไรดี และเข้าลงทุนส่วนน้อยในบริษัทที่ต้องการเงินทุนระยะยาวจากผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์และเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนเข้าถือหุ้นส่วนน้อยด้วยการเสนอเงื่อนไขที่ดีกว่ากรณีปกติ กลยุทธ์การลงทุนนี้มีความยากลำบากในการกำหนดบริษัทที่เหมาะสมต่อการลงทุน (Difficulty of Locating Suitable Investment) กองทุนหลักจึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีจำนวนบริษัทที่เหมาะสมต่อการลงทุนมากเพียงพอสำหรับให้กองทุนหลักนำเงินร่วมลงทุนทั้งหมดไปลงทุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุนที่ตั้งไว้ หรือรับประกันว่ากองทุนหลักจะประสบผลสำเร็จจากการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ โดยทั่วไปจำนวนบริษัทที่เหมาะสมต่อการลงทุนจะขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด และในบางกรณีก็ขึ้นอยู่กับภาวการณ์ด้านกฎระเบียบหรือการเมืองในขณะนั้น
  4. กองทุนหลักอาจไม่สามารถกำหนดหรือได้มาซึ่งบริษัทที่จะลงทุนในจำนวนที่เหมาะสม สืบเนื่องจากเป้าหมายของขนาดบริษัทที่ต้องการลงทุนที่กำหนดไว้ที่ระหว่าง 500 ถึง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนของกองทุนหลักมีการกระจายประเภทของทรัพย์สินและมีสภาพคล่องน้อยกว่าการลงทุนทั่วไป อีกทั้ง กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรป และอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ดังนั้น ผลการดำเนินงานจึงอาจผันผวนมากกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาความเสี่ยงและการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเอง
  5. กองทุนหลักอาจซื้อหลักทรัพย์ที่ถูกกำหนดด้วยข้อกฎหมายหรือข้อจำกัดใดๆ ในการโอน หรือหลักทรัพย์ที่ไม่มีตลาดที่มีสภาพคล่องรองรับ ดังนั้น กองทุนหลักอาจไม่สามารถขายหลักทรัพย์เหล่านี้เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้ ราคาตลาด (ถ้ามี) ของหลักทรัพย์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะ       ผันผวนมากกว่า และกองทุนหลักอาจไม่สามารถขายหลักทรัพย์เหล่านี้ในราคาที่เชื่อว่าเป็นราคายุติธรรมได้ในเวลาที่ต้องการขาย แม้ว่าผู้จัดการกองทุนหลักจะคาดหวังว่าหุ้นของบริษัทที่ลงทุนจะสามารถสร้างรายได้ประจำให้กับกองทุนหลักได้ แต่ผลตอบแทนจากเงินลงทุนและการรับรู้กำไร (ถ้ามี) จากการลงทุน จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการขายหรือ Refinance หุ้นของบริษัทเหล่านั้น แม้ว่ากองทุนหลักจะขายหุ้นของบริษัทที่ลงทุนเมื่อใดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการขายหุ้นจะใช้เวลาหลายปีหลังจากที่เริ่มลงทุน การลงทุนในกองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนที่ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนมีสภาพคล่อง นอกจากนั้น กองทุนหลักยังอาจจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือที่มีการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ ทำให้หลักทรัพย์เหล่านี้มีสภาพคล่องต่ำกว่าหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่ไม่มีการซื้อขายเป็นการทั่วไปไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลและการคุ้มครองผู้ลงทุนเช่นเดียวกับกรณีของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
  6. กองทุนหลักมีการลงทุนในหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งไม่มีมูลค่าตลาดที่สามารถประเมินได้ในทันที ในกรณีเช่นนี้ ผู้จัดการกองทุนหลักจะกำหนดมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ของหลักทรัพย์และทรัพย์สินเหล่านี้ด้วยวิธีการพิจารณาอย่างสมเหตุผล ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ และอาจมีการใช้โมเดลในการคำนวณราคา (Pricing Model) ที่พัฒนาขึ้นเป็นการภายใน ดังนั้น การประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์และทรัพย์สินใดๆที่ไม่มีสภาพคล่อง โดยเนื้อแท้แล้วจึงขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนบุคคล และมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการที่ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหรือที่ใช้ในการสร้างโมเดลสำหรับการคำนวณราคาอาจไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และไม่สามารถรับประกันได้ว่ามูลค่าที่กำหนดขึ้นจะเป็นมูลค่าที่แท้จริงที่กองทุนหลักจะได้รับเมื่อมีการจำหน่ายหลักทรัพย์และทรัพย์สินที่ลงทุนไว้
  7. กองทุน KFLTPC-UI มีสภาพคล่องจำกัด เนื่องจากเป็นกองทุนที่ไม่เปิดให้ซื้อขายได้ทุกวันแบบกองทุนเปิดทั่วไป โดยกองทุนมีการเสนอขายปีละ 4 ครั้งและอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละปีขึ้นกับสภาพแวดล้อมการลงทุนในแต่ละขณะของกองทุนหลัก และการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทำได้ปีละครั้ง หรืออาจรับซื้อคืนในจำนวนที่น้อยกว่าที่ผู้ถือหน่วยประสงค์หรืออาจไม่รับซื้อคืนเลยในบางปี โดยขึ้นกับดุลยพินิจของกองทุนหลัก ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนการลงทุนว่าสิทธิในการขายคืนหน่วยลงทุนมีข้อจำกัดอย่างมีนัยสำคัญ และไม่มีการรับประกันว่ากองทุนหลักจะสามารถดำเนินการตามคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนได้
  8. กองทุน KFLTPC-UI และกองทุนหลักไม่มีกำหนดอายุโครงการ แต่กองทุน KFLTPC-UI อาจเลิกโครงการกองทุนหากกองทุนหลักเลิกโครงการเมื่อมีเหตุการณ์ LP Termination Event หรือ Dissolution Event เกิดขึ้น แม้จะมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (General Partner) หรือผู้แทนผู้ลงทุนที่ได้รับการแต่งตั้ง อาจกำหนดให้กองทุนหลักยังคงถือทรัพย์สินที่ลงทุนบางส่วนหรือทั้งหมดต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อยครบรอบ 5 ปีของการจัดตั้งกองทุนหลักหรือ 2 ปีหลังจากวันที่เกิดเหตุ LP Termination Event รวมถึงหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด(General partner) จะขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่จะไม่เกินสองครั้งครั้งละหนึ่งปี โดยต้องได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) ทุกราย นอกจากนี้ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ LP Termination Event แล้ว หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (General Partner) อาจใช้ดุลยพินิจโดยสมเหตุสมผลกำหนดให้กองทุนหลักยังคงเก็บเงินที่ได้รับจากการจำหน่ายบริษัทที่ลงทุนออกไปไว้เป็นเงินสำรองเพื่อชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนหลัก และชำระหนี้สินคงค้างใด ๆ ดังนั้น ผู้ถือหน่วยลงทุนจึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อไหร่กองทุนหลักจะชำระบัญชีและแจกจ่ายทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่กองทุนหลักลงทุนในช่วงระยะเวลาที่ขยายออกไปหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ LP Termination Event
    • LP Termination Event อาจเกิดขึ้นได้จากผู้ถือหน่วยลงทุนหลักตั้งแต่ 67% ขึ้นไปที่ไม่ใช่กลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่งหนังสือให้หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (General Partner) หยุดลงทุนเพิ่ม หรือมีการประกาศจ่าย Liquidity Dividend ติดต่อกัน 3 ปี หรือมีการกระทำอันมิชอบด้วยกฏหมาย การฉ้อฉล โดยกองทุนหลัก ผู้จัดการกองทุนหลัก กรรมการผู้จัดการที่เป็นสมาชิกในทีมการลงทุน หรือกองทุนหลักมีการทำผิดสัญญาก่อตั้งหุ้นส่วน (Partnership) อย่างมีนัยยะสำคัญ
    • Dissolution Event อาจเกิดขึ้นได้เมื่อหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (General Partner) ใช้ดุลยพินิจขอเลิกโดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยเสียงส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่จากกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน หรือกองทุนหลักถูกกำหนดให้เลิกตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  9. ในกรณีที่กองทุนหลักเข้าสู่ขั้นตอนการชำระบัญชี กำหนดระยะเวลาในการจ่ายคืนเงินที่ได้รับจากการชำระบัญชี (Liquidating Distributions) จะขึ้นอยู่กับความสามารถของกองทุนหลักในการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นหลัก เนื่องจากทรัพย์สินที่ลงทุนบางประเภทจำหน่ายออกได้อย่างยากลำบาก หรือผู้ถือหน่วยอาจไม่ได้รับ Liquidating Distributions จำนวนสุดท้ายเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจใช้เวลานานหลายปีก็เป็นได้ ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ถือหน่วยลงทุนจะยังคงมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับส่วนได้เสียที่มีอยู่ และมูลค่าของส่วนได้เสียที่ยังคงเหลืออยู่จะยังคงผันผวนตามมูลค่าของทรัพย์สินที่ลงทุน นอกจากนี้ กองทุนหลักอาจจำเป็นต้องขาย แจกจ่าย หรือจำหน่าย ทรัพย์สินที่ลงทุนในช่วงเวลาที่กองทุนหลักตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบอันเป็นผลจากการชำระบัญชีก็เป็นได้
  10. แม้ว่าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ยกเลิกกองทุนหลัก หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (General Partner) ได้ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุผล เพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนในรูปของเงินสด แต่ก็อาจจ่ายประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องด้วยทรัพย์สินอื่น ๆ แทนเงินสดด้วย ผลประโยชน์จากการลงทุนที่จ่ายให้ในรูปของทรัพย์สินอื่นแทนเงินสดนั้นอาจมีข้อจำกัดในการโอนหรือการขายต่อ โดยเฉพาะหลักทรัพย์ที่ขาดสภาพคล่องของบริษัทต่าง ๆ อาจก่อให้เกิดภาระในการดำเนินงานอย่างมาก นอกจากนี้ การถือครองทรัพย์สินบางประเภทโดยตรงอาจทำให้ผู้ถือต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีหรือกฎหมายภาษีอากรของรัฐที่ทรัพย์สินเหล่านั้นตั้งอยู่ ในกรณีที่เป็นการจ่ายประโยชน์ตอบแทนด้วยหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น จะถือว่าได้มีการขายหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเหล่านี้ ณ ราคายุติธรรมแล้ว และถือว่าได้มีการนำเงินที่ได้รับจากการขายดังกล่าวมาจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงินสดดังกล่าวแล้ว
  11. กองทุนมีข้อกำหนดในการรับคำสั่งซื้อและคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนล่วงหน้าเป็นเวลานานก่อนถึงวันทำรายการจริง โดยวันทำรายการ (Trade date) สำหรับการขายคืนจะเป็นวันสุดท้ายของสิ้นไตรมาสที่สอง ไตรมาสที่สาม และไตรมาสสุดท้ายของแต่ละปี ส่วนวันทำรายการของการซื้อนั้น จะเป็นวันสุดท้ายของแต่ละ  ไตรมาส ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามดุลยพินิจของกองทุนหลัก อีกทั้งกองทุนมีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นไตรมาส โดยจะคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใน 64 วันถัดจากวันสิ้นไตรมาสหรืออาจเกินกว่านั้น ข้อกำหนดเหล่านี้ถูกกำหนดให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของกองทุนหลัก ซึ่งแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป ผู้ลงทุนควรศึกษาประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนตามที่บริษัทจัดการกำหนดโดยละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน
  12. ในการส่งคำสั่งซื้อหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้องส่งคำสั่งรายการซื้อหน่วยลงทุน พร้อมทั้งชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้าก่อนวันทำรายการในแต่ละรอบโดยให้เป็นไปตามประกาศวันทำการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกำหนด และผู้ลงทุนจะไม่สามารถยกเลิกการทำรายการดังกล่าวได้ โดยคำสั่งซื้อจะถูกนำมาดำเนินการในวันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส (Trade date) และจะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเมื่อกองทุนได้มีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยของรอบนั้น ซึ่งจะคำนวณและประกาศภายใน 64 วันถัดจากวันสิ้นไตรมาสหรืออาจเกินกว่านั้นนับจากวัน trade date ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่ผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อพร้อมชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้าจนถึงก่อนการคำนวณมูลทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย ผู้ลงทุนจะยังไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้นจนกว่าจะมีการคำนวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยเสร็จสิ้นแล้ว
  13. กองทุนหลักจะมีการแจ้งยอดการเปิดรับรายการซื้อ รวมถึงวิธีการ เงื่อนไขต่างๆ เป็นรายปี ขึ้นกับดุลยพินิจของกองทุนหลัก ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถลงทุนเพิ่มหรือไม่สามารถลงทุนในจำนวนที่ต้องการหรืออาจไม่สามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง
  14. รายการคำสั่งซื้อ และ/หรือคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนอาจระบุวันที่ทำรายการเป็นวันใดๆ ที่ไม่เกินกว่าวันสิ้นสุดในการส่งคำสั่งทำรายการในแต่ละรอบ หรืออาจระบุวันที่เป็นวันทำรายการ (Trade date) และบริษัทจัดการได้รับคำสั่งทำรายการดังกล่าวมาล่วงหน้าหรือภายใน 15.30 น. ของวันสิ้นสุดในการรับคำสั่งล่วงหน้าในรอบนั้นๆ จะถือว่าเป็นคำสั่งทำรายการเพื่อนำมาดำเนินการในวันทำรายการ (Trade date) ในรอบการทำรายการซื้อและ/หรือรายการขายคืนหน่วยลงทุนนั้น
  15. ผู้ถือหน่วยสามารถส่งคำสั่งขายคืนได้เพียงปีละหนึ่งครั้ง โดยต้องส่งคำสั่งล่วงหน้ามากกว่า 50 วันโดยประมาณก่อนวันทำรายการ ณ 30 มิ.ย. ของทุกปี และจะได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายใน 77 วันโดยประมาณนับแต่วันถัดจากวันทำรายการ โดยให้เป็นไปตามกำหนดการทำรายการกองทุน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้หากติดวันหยุดต่างประเทศที่เกี่ยวข้องหรือด้วยเหตุอื่นใด รวมถึงกองทุนหลักอาจไม่ได้นำคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดไปดำเนินการหากกองทุนหลักมีสภาพคล่องไม่เพียงพอหรือรายการคำสั่งขายคืนมีปริมาณมากกว่าที่กองทุนหลักกำหนดไว้ ซึ่งโดยปกติจะไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลักในสิ้นปีก่อนหน้า โดยคำสั่งขายคืนที่เหลือจะถูกนำไปดำเนินการในวันทำการสิ้นไตรมาสถัด ๆ ไป แต่ไม่เกินรอบปีปฏิทินนั้น ๆ เมื่อครบปีปฏิทินแล้ว หากยังมีคำสั่งขายคืนที่ไม่ถูกนำไปดำเนินการเหลืออยู่ คำสั่งขายคืนที่เหลือเหล่านั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า คำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนที่บริษัทได้รับภายหลังเวลาที่กำหนดของวันที่สิ้นสุดการส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนล่วงหน้าของรอบปีใด จะถูกยกเลิกในปีนั้น และไม่มีการนำคำสั่งดังกล่าวไปดำเนินการในปีถัดไป ผู้ถือหน่วยต้องส่งคำสั่งขายคืนเข้ามาใหม่ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในปีถัดไป
  16. กองทุนนี้มีระยะเวลาตั้งแต่การส่งคำสั่งขายคืนล่วงหน้าจนถึงวันรับเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนประมาณ 4 เดือน หรืออาจนานกว่านั้นมากหากรายการขายคืน   ถูกเลื่อนไปทำรายการในไตรมาสถัดไป ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดการทำรายการและเข้าใจสภาพคล่องของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
  17. การส่งคำสั่งทำรายการล่วงหน้าเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุนไม่สามารถทราบถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ณ วันที่ส่งคำสั่งทำรายการได้ ผู้ลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุนต้องรับความเสี่ยงที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนอาจผันผวนอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงระหว่างวันที่ยื่นคำสั่งทำรายการและวันที่ดำเนินการซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนตามคำสั่งนั้นๆ
  18. กองทุนหลักอาจมีการจำกัดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลักในสิ้นปีก่อนหน้า ซึ่งในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนหลักมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนรวมกันในวันทำขายคืนหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ดังกล่าว กองทุนหลักอาจจัดสรรยอดไถ่ถอนเพียงเท่าที่อัตราที่กำหนดไว้แก่ผู้ถือหน่วยทุกรายที่ส่งรายการไถ่ถอนในสัดส่วนที่เท่ากัน (Prorate basis) สำหรับยอดไถ่ถอนส่วนที่เกินอัตราที่กำหนดไว้ จะถูกนำไปดำเนินการในวันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในไตรมาสถัดไป
  19. กองทุนหลักอาจจำกัดหรือชะลอการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยหากมีเหตุการณ์ผิดปกติที่อาจส่งผลต่อราคา NAV ของกองทุนหลักและผู้ถือหน่วยรายอื่นในกองทุนหลักอย่างมีนัยยะสำคัญ หรือเป็นการไถ่ถอนที่อาจขัดต่อกฏเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การป้องกันการฟอกเงิน
  20. กองทุน KFLTPC-UI อาจชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนในอัตราร้อยละ 95 ของมูลค่าเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่ผู้ถือหน่วยจะได้รับ ภายใน 77 วันนับแต่วันถัดจากวันทำรายการ โดยไม่นับรวมวันหยุดทำการของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะในทำนองเดียวกับธุรกิจการจัดการกองทุนรวม และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ และส่วนที่เหลือในอัตราร้อยละ 5 หรืออาจน้อยกว่าก็ได้ กองทุน KFLTPC-UI จะชำระให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อได้รับจากกองทุนหลักภายในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไปหรืออาจนานกว่านั้น โดยทั้งหมดนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของกองทุนหลัก
  21. ภายใต้หลักเกณฑ์ของ AIFMD ผู้จัดการกองทุนทรัพย์สินทางเลือก หรือ AIFM จะต้องปฏิบัติกับหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (Limited Partners) ทุกรายอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม หลักการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม (Fair Treatment) ไม่จำเป็นต้องเทียบเท่ากับหลักการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม (Equal or Identical Treatment) ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการลงทุนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (Limited Partners) รายหนึ่งอาจแตกต่างไปจากอีกรายหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Partnership, General Partner, AIFM และ/หรือ ผู้จัดการการลงทุนสามารถเข้าทำข้อตกลง Letter Agreements กับ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (Limited Partners) บางราย ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อกำหนดต่าง ๆ ใน Partnership Agreement หรือ Subscription Agreement ใด ๆ (รวมถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับส่วนได้เสียจากการลงทุน)
  22. สัญญาก่อตั้งหุ้นส่วน (Partnership agreement) ของกองทุนหลักอาจมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งหุ้นส่วน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อกองทุนและผู้ถือหน่วยลงทุนได้
  23. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด อาจลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด เช่นเดียวกันกับที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด ลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนรวม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประโยชน์ของกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถตรวจสอบรายละเอียดและสอบถามข้อมูลอื่นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูล | ผู้ลงทุนควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ขาย หรือศึกษารายละเอียดจากเอกสารประกอบการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุน | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้     ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ |  กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น | กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
 

ข้อมูล KFLTPC-UI



ย้อนกลับ

ข่าว/ประกาศกองทุน

สมัครรับข่าวสารการลงทุนกับบลจ.กรุงศรี