Flash Update


Flash Update 28 มกราคม 2565

28/01/2565

 มุมมองต่อตลาดและหุ้นกลุ่ม Tech หลังผลการประชุม Fed

  • ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0 - 0.25% โดยส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม และปรับลดขนาดงบดุลจะเกิดขึ้นหลังการขึ้นดอกเบี้ย
  • ตลาดหุ้นสหรัฐค่อนข้างผันผวน เนื่องจากตลาดผิดหวังที่นายเจอโรม พาวเวลล์ ยังไม่ได้ให้ความชัดเจนเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย และการลดขนาดงบดุล ซึ่งต้องติดตามในการประชุมเดือนมีนาคมนี้
  • ความไม่ชัดเจนดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับลดลง และ Bond Yield US 10Y ปรับเพิ่มขึ้น 1.85% เข้าใกล้ระดับ 2% เป็นปัจจัยที่ทำให้แรงกดดันต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเบาบางลง
  • หุ้น Tech ยังคงเติบโตได้ แต่ความผันผวนจะยังคงมีอยู่ จึงแนะนำให้ลงทุนในระดับที่รับความเสี่ยงได้ และกระจายการลงทุนหลายประเทศหรือหลายกลุ่มธุรกิจ

ผลการประชุม Fed
  • ธนาคารกลางสหรัฐมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0 - 0.25% โดยการทำ QE จะจบลงในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ Fed ได้ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และเงินเฟ้อที่อยู่เหนือระดับเป้าหมายของ Fed ที่ 2% โดยการปรับลดขนาดงบดุลจะเกิดขึ้นหลังการขึ้นดอกเบี้ย

การตอบสนองของตลาด
  • เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2022 ตลาดหุ้นสหรัฐค่อนข้างผันผวน โดยก่อนรู้ผลการประชุม Fed ตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะมีแรงขายกดดันตลาดลงมา ถึงแม้ว่าผลการประชุมจะเป็นไปตามที่คาดไว้ก็ตาม เนื่องจากตลาดมีความคาดหวังว่านายเจอโรม พาวเวลล์ อาจจะมีการพูดให้ตลาดคลายความกังวลลง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย แต่นายเจอโรม พาวเวลล์ ก็ไม่ได้ทำอย่างที่ตลาดหวังไว้
  • นอกจากนี้ ตลาดยังผิดหวัง หลังนายเจอโรม พาวเวลล์ เลี่ยงการตอบคำถามเกี่ยวกับจำนวนครั้งในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ รวมไปถึงไม่ได้บอกรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลา (Timing) และปริมาณการลดขนาดงบดุล (Pace) โดยนายเจอโรม พาวเวลล์ บอกเพียงแต่ว่าจะมีการสื่อสารในการประชุมครั้งหน้า
  • ความไม่ชัดเจนดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับลดลงและ Bond Yield US 10Y ปรับเพิ่มขึ้นและค่าเงิน Dollar แข็งค่าขึ้น

     มุมมองการลงทุนจาก บลจ.กรุงศรี

 
  • สำหรับภาพตลาดโดยรวมมองว่าในช่วงนี้ตลาดมีแนวโน้มผันผวนไปจนถึงการประชุม Fed ในครั้งถัดไปที่จะมีขึ้นในเดือน มี.ค. เพื่อที่จะรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ย รวมไปถึงรายละเอียดในการปรับลดขนาดงบดุล โดยตลาดมองว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน มี.ค. และจะปรับขึ้นดอกเบี้ยประมาณ 4 ครั้งในปีนี้ ขณะที่การลดขนาดงบดุลจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2022
  • ด้วยความที่ตลาดปรับลดลงค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การลงทุนจาก Goldman Sachs และ Citi มองว่าตลาดที่ปรับลดลงแรงในช่วงที่ผ่านมาเป็นโอกาสในการเข้าซื้อหุ้น
  • สำหรับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ผู้จัดการกองทุนยังคงมุมมองเหมือนเดิมว่าพื้นฐานของหุ้นกลุ่ม Tech ไม่ได้เปลี่ยน การเติบโตของ sector ยังคงดำเนินต่อเนื่อง พื้นฐานยังดี มี Upside สูง
  • ในระยะสั้น ความผันผวนน่าจะยังคงมีอยู่ ดังนั้นหุ้นกลุ่ม Tech อาจจะยังคงถูกกดดันไปสักพัก จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ รวมถึงแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed
  • ตัวเลขเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยหลักที่ตลาดให้ความสำคัญ เนื่องจาก Fed มีโอกาสเปลี่ยนท่าทีได้ตลอด ดังนั้นจากเงินเฟ้อที่ใกล้ถึงระดับสูงสุดและจะเริ่มปรับลดลงในไตรมาส 2/2022 จากสถานการณ์ Supply Chain Disruption ที่ดีขึ้น จะทำให้ Fed ไม่ต้องดำเนินนโยบายที่เข้มงวด (Aggressive) มากจนเกินไป ซึ่งก็จะส่งผลให้ทิศทางของ Bond Yield ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อหุ้นกลุ่ม Tech
  • US Bond Yield 10Y ที่เริ่มนิ่ง ใกล้ระดับ 2% ซึ่งมี Upside ไม่มากจากระดับปัจจุบันที่ 1.85% ก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้แรงกดดันต่อหุ้นกลุ่ม Tech เบาบางลง หลัง Bond Yield ปรับเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา

คำแนะนำในการลงทุนกองทุนหุ้น Tech​
  • หุ้น Tech ยังคงเติบโตได้ แต่ความผันผวนจะยังคงมีอยู่ แนะนำให้ลงทุนในระดับที่รับความเสี่ยงได้ กระจายการลงทุนไปในหลายประเทศ หรือหลาย Sector
  • สำหรับผู้จะลดน้ำหนักการลงทุนหุ้น Tech ยังไม่แนะนำในช่วงนี้ เนื่องจากราคาที่ลงมามาก โดยปกติหุ้น Tech จะดีดกลับได้แรง การขายให้รอจังหวะที่กลุ่ม Tech กลับมาฟื้นตัวก่อน
  • ผู้ที่รับความผันผวนได้ปานกลางถึงมากให้ลงทุนต่อไป เพื่อรับ Upside ที่อยู่ในระดับสูง
  • ผู้จัดการกองทุนคัดเลือกและให้น้ำหนักกองทุนตามความเสี่ยงที่รับได้ เรียงจากเสี่ยงมากไปถึงความเสี่ยงน้อยดังนี้
  1. KFINNO-A 
  2. KFUS-A / KFGTECH-A / KFGG-A
  3. KFHTECH-A

 


นโยบายการลงทุนและคำเตือน

  • KFINNO-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Nikko AM ARK Disruptive Innovation Fund, Class A (USD) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
  • KFUS-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Baillie Gifford Worldwide US Equity Growth Fund, Class B Acc (USD) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • KFGTECH-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ T. Rowe Price Funds SICAV - Global Technology Equity Fund (Class Q) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 7 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก l ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
  • KFGG-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund, Class B USD Acc (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (โดยปกติกองทุนจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ≥ 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)
  • KFHTECH-A ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ BGF World Technology Fund (Class D2 USD) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 7 - เสี่ยงสูง | ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และ ความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ข้อมูลกองทุน คลิก:  KFINNO-A  | KFUS-A | KFGTECH-A | KFGG-A  | KFHTECH-A
หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอดูหนังสือชี้ชวน โปรดติดต่อ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรีจำกัด โทร 0 2657 5757 หรืออีเมล krungsriasset.clientservice@krungsri.com
เอกสารประกอบเปิดด้วยโปรแกรม Acrobat Reader หากท่านไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกเพื่อ ดาวน์โหลด โปรแกรม (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ย้อนกลับ

ลงทุนในกองทุนรวมบลจ.กรุงศรี

บลจ.กรุงศรีมีกองทุนรวมหลายประเภทให้เลือกลงทุนสำหรับทุกเป้าหมายการลงทุน